การวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงในการใช้งานสมาร์ทโฟน ของเจ้าหน้าที่กรมศุลกากร เฉพาะส่วนกลาง

Main Article Content

อรุณี สรรสิริทรัพย์
วุฒิพงษ์ ชินศรี

บทคัดย่อ

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. วิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงในการใช้งานสมาร์ทโฟน  2. เปรียบเทียบความเสี่ยงในการใช้งานสมาร์ทโฟนด้านต่างๆ โดยจำแนกตามลักษณะส่วนบุคคล และ 3. นำเสนอแนวทางในการลดความเสี่ยงจากการใช้งานสมาร์ทโฟน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นผู้เชี่ยวชาญ 5 คน คัดเลือกแบบเจาะจง และกลุ่มที่สองจำนวน 302 คน โดยเลือกแบบแบ่งชั้นภูมิตามสัดส่วน งานวิจัยนี้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล การประเมินความเสี่ยงใช้ตาราง Risk Assessment Matrix สถิติสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ ANOVA    

             ผลการวิจัยพบว่า เพศ และหน่วยงานที่สังกัด ที่แตกต่างกัน มีความเสี่ยงในการใช้งานสมาร์ทโฟน  ในภาพรวมไม่ต่างกัน แต่ด้านอายุและประสบการณ์การใช้งานที่แตกต่างกัน มีความเสี่ยงในภาพรวมแตกต่างกัน โดยอายุของผู้ใช้งานกลุ่ม 18-30 ปี เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงสุดได้ค่า เท่ากับ 10.7 สำหรับความเสี่ยงในการใช้สมาร์ทโฟน ที่อยู่ในระดับสูงมีทั้งหมด 5 ด้าน โดยด้านข้อมูลเป็นด้านที่มีความเสี่ยงสูงที่สุด รองลงมาเป็นด้านสุขภาพ ด้านอุปกรณ์ ด้านแอปพลิเคชัน และด้านการเชื่อมต่อ ทั้งนี้ด้านความปลอดภัยในที่สาธารณะ และด้านกฎหมาย ทั้ง 2 ด้านมีความเสี่ยงระดับปานกลาง           

               The objective of this research was 1. to analyze and assess the risk from using smartphone, 2. to compare the risk from using smartphone divided by personal’s characteristic and 3. to propose the way for reducing the risk from using smartphone. The sample was divided by 2 groups, the first group was 5 computer specialists by selection and the other was 302 users by proportionate stratified random sampling. We used the questionnaires to collect all data and used Risk Assessment Matrix table to assess. Statistics for data analysis was percentage, average, standard deviation, t-test and ANOVA.

               The research findings were gender and bureau which 2 variables had the risk in using smartphone in the same.  But age and using experience had the risk in the difference with other groups.  By the age, 18-30 years group was the highest risk group   equal 10.7.  For the high risk level in using smartphone, there were 5 aspects.  The highest risk aspect was data and the other risk aspect; health, connection, hardware and software were the high risk level respectively.  Both safety in public and law risk were the risk in a medium level.  

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

อรุณี สรรสิริทรัพย์

นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาลัยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมหาวิทยาลัยรังสิต

วุฒิพงษ์ ชินศรี

ผู้อำนวยการหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยรังสิต

References

ชัชวาล ศิริถาวร. (2554). พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดหนองคาย. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

ฐาปนวงศ์ ตั้งอุไรวรรณ. (2557). สธ.ห่วงติดคอมฯ-ติดแชต ทำเด็กไทยสายตาสั้นขึ้น 3 เท่า, 15 กรกฎาคม 2558. https://www.thairath.co.th/content/455666.

บทความ IT Security. (2556). 6 วิธีป้องกันมือถือ Andriod จากไวรัสและมัลแวร์ , 15 กรกฎาคม 2558.

http://www.catcyfence.com/it-security/article/

ณัฐกฤตา ศรีนุต. (2555). พฤติกรรมของผู้ใช้ในเขตอำเภอเมืองเชียงใหม่ ในการใช้งานโทรศัพท์สมาร์ทโฟน. การศึกษาค้นคว้าแบบอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการตลาด, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ธิติมา ลิ่มผดุง. (2551). พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของบุคลากร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.

บริษัท ซิสโก้ ซิสเต็ม. (2556). Gen Y ไทยสารภาพ “ลงแดง” ถ้าขาดสมาร์ทโฟน, 12 กรกฎาคม 2558. http://www.brandbuffet.in.th/2013/04/thai-geny-smartphone-addict

ปริญญา หอมอเนก. (2557). สิบภัยด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ประจำปี พ.ศ. 2557 ที่ทุกคนควรรู้, 15 กรกฎาคม 2558. https://www.acisonline.net/?p=4002

เมธา สุวรรณสาร. (2552). แนวทางการบริหารความเสี่ยง, 10 มีนาคม 2558. http://www2.ftpi.or. Th/th/knwinf_slfass_2.htm

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพหรือ สสส. (2558). เล่นมือถือนานทำจอประสาทตาเสื่อมเร็ว, 15 กรกฎาคม 2558. http://www.thaihealth.or.th/tag/สมาร์ทโฟน

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สพธอ.). (2557). บทนำเกี่ยวกับเทคโนโลยีความปลอดภัยของข้อมูล, 15 กรกฎาคม 2558. http://www.nrca.go.th/02_1.html

เสฏฐวุฒิ แสนนาม. (2555). พฤติกรรมเสี่ยงอันตราย เรื่องง่ายๆ ที่ไม่ควรมองข้าม, 23 ตุลาคม 2558 https://www.thaicert.or.th/papers/general/2012/pa2012ge004. Html

Mirum(Thailand) Co., Ltd. (2558). ผลสำรวจพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟน, 15 ตุลาคม 2558. http:// www.mirum.co.th/paper