การ์ตูนแอนิเมชัน เรื่อง เทพ 3 ฤดู กับการลดโลกร้อน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อพัฒนาการ์ตูนแอนิมชัน เรื่องเทพ 3 ฤดู กับการลดโลกร้อน 2. เพื่อหาคุณภาพของการ์ตูนแอนิมชัน เรื่องเทพ 3 ฤดู กับการลดโลกร้อน 3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้สนใจที่มีต่อการ์ตูนแอนิมชัน เรื่องเทพ 3 ฤดู กับการลดโลกร้อน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย โดยใช้วิธีจับสลาก ซึ่งจับสลากได้กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาภาคปกติ หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ กลุ่มวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย ชั้นปีที่ 2 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จำนวน 25 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1. การ์ตูนแอนิมชัน เรื่องเทพ 3 ฤดู กับการลดโลกร้อน ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น 2. แบบประเมินคุณภาพของการ์ตูนแอนิมชัน เรื่องเทพ 3 ฤดู กับการลดโลกร้อน 3. แบบประเมินความความพึงพอใจของผู้สนใจที่มีต่อการ์ตูนแอนิมชัน เรื่องเทพ 3 ฤดู กับการลดโลกร้อน
ผลการวิจัย พบว่าผลการประเมินคุณภาพการ์ตูนแอนิมชัน เรื่องเทพ 3 ฤดู กับการลดโลกร้อน ที่ประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ รวมคุณภาพทั้ง 3 ด้านมีค่าเฉลี่ยรวมเป็น 4.54 ซึ่งระดับคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้สนใจที่มีต่อการ์ตูนแอนิมชัน เรื่องเทพ 3 ฤดู กับการลดโลกร้อน ที่ประเมินโดยกลุ่มตัวอย่าง รวมคุณภาพทั้ง 3 ด้านมีค่าเฉลี่ยรวมเป็น 4.10 ซึ่งระดับคุณภาพอยู่ในระดับดี
This research have three proposes which 1. to develop a layer of Gods Cartoon third season with the reduction of global warming , 2. To find the quality of Cartoon's third season with the Class of global warming and 3. to the satisfaction of the interest on Cartoon's third season with the Class of global warming. The sample in this research. The researchers used a simple random. Use Lottery The sample of regular 25 students Course Technology Multimedia Technology Year 2 Faculty of Science and Technology Faculty Valaya Alongkorn Rajabhat University under the Royal Patronage.
The tools used in this research include 1. Cartoon's third season with the Class of global warming. The researchers created 2. Assessment of the steep Cartoon third season with the archetypal story of global warming. 3. Assessment of satisfaction of the interest on Cartoon's third season with the Class of global warming.
The results showed that the quality of Cartoon's third season with the Class of global warming are evaluated by experts. As well as three top quality, with an average total of 4.54, which the quality is very good. The satisfaction rate of interest on Cartoon's third season with the Class of global warming. The sample rate As well as three top quality, with an average total of 4.10 which was good quality.
Downloads
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
ณัฐวุฒิ โพธ์ิศรี (2552). ความหมายของการ์ตูน. การค้นคว้าแบบอิสระ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: http://archive.lib.cmu.ac.th/full/T/2555/teng30555pc_ch2.pdf
ทวีศักดิ์ กาญจนสุวรรณ (2552). เทคโนโลยีมัลติมีเดีย. กรุงเทพฯ: เคพีที คอมพ์ แอนด์ คอนซัลท์
ประคอง กรรณสูต. (2539). สถิติเพื่อการวิจัยคำนวณด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปรมาภรณ์ มาเทพ (2551) .การพัฒนาสื่อการ์ตูนมัลติมีเดียสำหรับสอนวิชาพระพุทธศาสนา เรื่อง หลัก กรรม. การค้นคว้าแบบอิสระ หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ,บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศิริลักษณ์ คลองข่อย (2555). การพัฒนานิทานการ์ตูนแอนิเมชัน เรื่องอยู่อย่างพอเพียงสำหรับเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาเทคโนโลยีและการสื่อสารการศึกษา,คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ศรีสุภัค เสมอวงษ์และ ธนกฤต โพธิ์ขี (2557). การออกแบบและสร้างสื่อแอนิเมชัน 2 มิติ เพื่ออนุรักษ์และถ่ายทอดประเพณีมอญในจังหวัดปทุมธานี. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปีที่ 9 ฉบับที่ 2, [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: https://www.tci-thaijo.org/index.php/vrurdistjournal/article/view/27786(2558,30 ตุลาคม).
สุดารัตน์ วงศ์คำพา (2554). การพัฒนาสื่อการ์ตูนแอนิเมชั่น 2 มิติ เพื่อรณรงค์แก้ปัญหาเด็กอ้วน. วิทยานิพนธ์ วิทยาสาสตรมหาบัณฑิต, สาขาสื่อนฤมิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน (2558). ลดโลกร้อนด้วยตัวเราเอง. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก: http://www.eppo.go.th/encon/ebook/Global_warming.pdf (2558, 30 ตุลาคม)
ศรีพาวรรณ อินทวงค์ (2551). การพัฒนาสื่อแอนิเมชันเพื่อการรณรงค์การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ. การค้นคว้าแบบอิสระ หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ,บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พรปภัสสร ปริญชาญกล โสพัฒน์ โสภาภิมุข และ เสกสรรค์ แย้มพินิจ (2558). การสร้างบทเรียนมัลติมีเดียแอนิเมชั่น เรื่อง ศีล ๕. การประชุมวิชาการระดับชาติโสต ฯ -เทคโนฯ สัมพันธ์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 29 วันที่ 22-23 มกราคม 2558 เข้าถึงได้จาก: http://www.e-trainingvec.com/ncet2015/proceeding/ncet2015_12.pdf (2558, 30 ตุลาคม).