การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนบนเว็บแบบผสมผสานด้วยการเรียนการสอนแบบร่วมมือ

Main Article Content

ปิยนันท์ ปานนิ่ม

บทคัดย่อ

               ในยุคของการปฏิรูปการศึกษา ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้  และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด ดังนั้นลักษณะการเรียนการสอนในยุคใหม่ จึงควรเน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน ซึ่งการเรียนแบบร่วมมือสามารถนำมาใช้ในการแก้ปัญหาได้ผนวกกับการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานโดยเป็นการผสมผสานการเรียนในห้องเรียนแบบดั้งเดิม และการเรียนการสอนบนเว็บมาพัฒนาให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาและนำเสนอรูปแบบการเรียนการสอนบนเว็บแบบผสมผสานด้วยการเรียนการสอนแบบร่วมมือ 2. เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนในการเรียนการสอนบนเว็บแบบผสมผสานด้วยการเรียนการสอนแบบร่วมมือ  และ 3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนในการเรียนการสอนบนเว็บแบบผสมผสานที่พัฒนาขึ้น
               ผลการวิจัย พบว่า 1. รูปแบบการเรียนการสอนบนเว็บแบบผสมผสานด้วยการเรียนการสอนแบบร่วมมือในรายวิชาการออกแบบคอมพิวเตอร์กราฟิกเพื่อการศึกษาที่พัฒนาขึ้น มีขั้นตอนการจัดการเรียนการสอนประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ  ขั้นตอนก่อนการจัดการเรียนการสอน ขั้นตอนระหว่างการจัดการเรียนการสอน และขั้นตอนหลังการเรียนการสอน  2. ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนบนเว็บแบบผสมผสานด้วยการเรียนการสอนแบบร่วมมือในรายวิชาการออกแบบคอมพิวเตอร์กราฟิกเพื่อการศึกษา ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่ได้พัฒนาขึ้น พบว่า หลังการเรียนการสอนด้วยรูปแบบที่พัฒนาขึ้น ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนการเรียนการสอนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 3. ความพึงพอใจเกี่ยวกับรูปแบบการเรียนการสอนที่ได้พัฒนาขึ้น   พบว่า  กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจระดับมาก

 

               In an era of paradigm shift in education, most recent researches have been focusing on providing students with the ability to learn and develop their skills. This new approach must emphasize on how to motivate students to participate and involve in learning activities. The cooperative learning plays an important role. Based on the blended learning approach the idea is to combine traditional classroom activities with web-based instruction which will make learning more effective. The purposes of this research were to : 1. develop web-based instruction blended with cooperative learning model  2. compare students pre and post learning achievement after learning from web-based instruction blended with cooperative learning in computer graphics design for education model 3. study students’ opinion on the web-based instruction blended with cooperative learning model.

                The results of the research were:  1. Web-based instruction (WBI) blended learning with cooperative learning in computer graphics design for education model, steps of the model comprised of: Pre WBI blended learning with cooperative learning model, during WBI blended learning with cooperative learning model, and post WBI blended learning with cooperative learning model.  2. It was found that the subjects learned from WBI blended learning with cooperative learning model had statistically significant at .05 level learning achievement post-test scores higher than pre-test scores.  3. Students showed a high level of satisfaction on the learning model developed.

 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

ปิยนันท์ ปานนิ่ม

อาจารย์สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศการศึกษา ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี  จังหวัดปทุมธานี

References

กรมวิชาการ. 2544. หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2544, เอกสารสื่อการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: ศูนย์พัฒนา

หนังสือ กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.

กระทรวงศึกษาธิการ. 2542. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: บริษัทพริกหวาน

กราฟฟิก.

กระทรวงศึกษาธิการ. 2553. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: บริษัท

พริกหวานกราฟฟิก.

ชนิชดา ชนะกิจจานุกิจ. (2550). ผลของการเรียนแบบสืบสอบบนเว็บด้วยวิธีการเรียนแบบร่วมมือที่แตกต่าง

กันที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้

สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร

มหาบัณฑิต คณะครุศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. 2548. รูปแบบการเรียนการสอน : ทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่ง

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุปผชาติ ทัฬหิกรณ์. (2547). สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในบริบทของการเรียนรู้ร่วมกัน, 12 พฤษภาคม 2558.

http://www.ku.ac.th/emagazine/may47/it/ecollaborative.html

Carman, T. M. (2002). Blended Learning. United Kingdom: EPIC Group.

Driscoll, M. (2002). Blended Learning: let’s get beyond the hype. E-learning, March 2015.

http://elearningmag.com/ltimagazine

Sharan, D.W., & Sharan, R. T. (1989). Learning Together and Alone : Cooperative, Competitive,

and Individualistic Learning (4th ed.). University of Minnesota: Prantice-Hall.

Slavin, R.E. (1995). Cooperative Learning. (2nd ed.). Boston : Allyn and Bacon.

Slavin, R.E. (1990). Cooperative learning theory, research, and practice. Boston: Allyn and

Bacon.

The Training Place. (2004). The blended learning book: Best practices, proven methodologies,

and lessons learned. London: Allyn and Bacon.