การใช้วัสดุเหลือใช้จากตาลโตนดเป็นเชื้อเพลิงในระบบแก็สซิไฟเออร์เบดนิ่งแบบไหลลง
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้นำเสนอผลการศึกษาการนำวัสดุเหลือใช้จากตาลโตนด ที่มีจำนวนมากในพื้นที่ของจังหวัดเพชรบุรี เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงของเตาแก๊สชีวมวลแบบเบดนิ่งไหลลง โดยทำการเปรียบเทียบกับเชื้อเพลิงจากแกลบและขี้เลื่อย ในการวิจัยได้ทำการเลือกวัสดุเหลือใช้จากตาลโตนดจำนวน 4 ชนิด ได้แก่ ทางตาล ใบตาล ผลตาลแก่ และเปลือกจากผลตาล โดยกำหนดการทดลอง 3 หัวข้อหลักๆ ประกอบไปด้วย การทดลองการวิเคราะห์แบบประมาณ การทดลองการวิเคราะห์แบบแยกธาตุ และการทดลองหาองค์ประกอบของแก๊สเชื้อเพลิงสังเคราะห์และการผลิตกระแสไฟฟ้า
ในการทดลองการวิเคราะห์แบบประมาณและการทดลองการวิเคราะห์แบบแยกธาตุนั้น เมื่อนำผลทดลองของวัสดุเหลือใช้จากตาลโตนด มาเปรียบเทียบกับแกลบและขี้เลื่อยพบว่า วัสดุเหลือใช้จากตาลโตนดส่วนใหญ่ให้ผลทดลองที่ดีกว่าแกลบ แต่ให้ผลด้อยกว่าขี้เลื่อยในบางหัวข้อของการทดลองเล็กน้อย จากนั้นได้ประเมินหาความเหมาะสมของวัสดุเหลือใช้จากตาลโตนดที่จะมาใช้ทดสอบกับตัวเครื่องแก็สซิไฟเออร์เบดนิ่งแบบไหลลง จากการประเมินผลพบว่าทางตาลโตนดมามีความเหมาะสมที่สุด เมื่อนำทางตาลโตนดทำการทดลองหาองค์ประกอบของแก๊สเชื้อเพลิงสังเคราะห์และการผลิตกระแสไฟฟ้า และนำผลมาเทียบกับเชื้อเพลิงแกลบและขี้เลื่อย ผลที่ได้คือ ในด้านอุณหภูมิมีค่าที่ต่ำกว่า แต่ระยะเวลาการเกิดแก๊สเชื้อเพลิงที่ดียาวนานกว่า ทำให้สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ยาวนานขึ้น และมีปริมาณสารมลทินใกล้เคียงกัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าทางตาลโตนดสามารถนำมาเป็นเชื้อเพลิงให้กับเตาแก๊สซิไฟเออร์แบบเบดนิ่งไหลลงได้เป็นอย่างดี
This research presents the results of the study of materials from Palmyra palm that is a lot of space in the Phetchaburi. The materials were used by a fixed bed downdraft gasifier for its fuel. There are also the comparisons to fuel from Rice husk and Sawdust. The selected materials of Palmyra palms are their Petioles, Leaves, Ripe fruits and Mesocarps. There are three important experiments which consist of the Proximate Analysis, Ultimate Analysis and Production of synthesis gas and Electricity production.
From the Proximate Analysis and Ultimate Analysis Comparisons showed that the results of the materials are better than the husk but slightly worse than the sawdust. When only consider the result of each material from Palmyra palms, the Petioles palmyra palms are mostly suitable to be used to experiment with the fixed bed downdraft gasifier for Production of synthesis gas and Electricity production. The Petioles palmyra palms’s result of temperature test is lower than the husk and the sawdust but longer than them in the test timing of the fuel gases so it can generate electricity for longer and the amount of impurities are similar. Therefor the Petioles palmyra palms can be used for good fuel of a fixed bed downdraft gasifier.
Downloads
Article Details
ลิขสิทธิ์บทความวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยเป็นลายลักษณ์อักษร
ความรับผิดชอบ เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์บทความหรือผู้เขียนเอง ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
ประเสริฐ ชุมรุม และคณะฯ. 2557. เทคโนโลยีการทำเหมืองถ่านหิน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://maemohmine.egat.co.th/mining_technology/general.html.
ศูนย์ส่งเสริมพลังงานชีวมวล มูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม. 2557. มาตรการพลังงานทดแทนการผลิตพลังงานจากชีวมวล.[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก : http://www.em-group.co.th/ Technology _Biomass.html.
ศิรินุช จินดารักษ์. 2548. เทคโนโลยีพลังงาน. เอกสารประกอบการสอน. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สุนันทศักดิ์ ระวังวงศ์และคณะฯ. 2557. งานวิจัยการผลิตไฟฟ้าด้วยเครื่องยนต์ชีวมวลสำหรับใช้ในกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมขนาดเล็กในจังหวัดเพชรบุรี. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
สำเริง จักรใจ. 2547. การเผาไหม้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์.