"พระทรงเป็นยิ่งกว่ามหากษัตริย์": การศึกษามโนอุปลักษณ์และมุมมองของพสกนิกรไทยที่มีต่อในหลวงรัชกาลที่ 9
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้จัดทำขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติและเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์มโนอุปลักษณ์เพื่อน้อมถวายเป็นพระราชกุศล โดยนำแนวคิดทฤษฎีมโนอุปลักษณ์มาศึกษาอุปลักษณ์ในภาษาที่พสกนิกรชาวไทยใช้เมื่อกล่าวถึงพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ตามสื่ออินเทอร์เน็ต สิ่งพิมพ์ และป้ายประกาศต่าง ๆ ผลการวิจัยพบรูปภาษาแบบอุปลักษณ์ที่หลากหลายซึ่งเป็นคำและวลีจาก 9 มโนทัศน์ที่แตกต่างกัน อุปลักษณ์เหล่านี้มีปรากฏใช้กันอย่างเป็นระบบและแพร่หลายโดยพสกนิกรหลายหมู่เหล่า และสะท้อน 9 มโนอุปลักษณ์ ได้แก่ 1) “ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงเป็นเทพ” 2) “ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงเป็นพ่อ” 3)“ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงเป็นสิ่งที่ให้ร่มเงา” 4) “ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงเป็นฝน” 5) “ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงเป็นสิ่งที่ให้แสงสว่าง” 6) “ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงเป็นครู” 7) “ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงเป็นพลัง” 8) “ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงเป็นเสาหลัก” และ 9) “ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงเป็นช่าง” มโนอุปลักษณ์เหล่านี้ช่วยให้เราเข้าใจความหมายของวลีที่ว่า “พระองค์ทรงเป็นยิ่งกว่ามหากษัตริย์” ได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
Article Details
References
เดล ควาลไฮม. (2543). อุปลักษณ์เกี่ยวกับมโนทัศน์เรื่องเวลาในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะอักษรศาสตร์.
นิตยา แก้วคัลณา. (มกราคม-เมษายน 2542). ภาพสะท้อนเกี่ยวกับสถานภาพของกษัตริย์ในวรรณกรรมไทย. ธรรมศาสตร์. 25(1), 127-135.
ปราโมทย์ สกุลรักความสุข. (2554). ความเปรียบเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ในวรรณคดียอพระเกียรติ สมัยกรุงศรีอยุธยาถึงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พนิดา สังข์เอี่ยม. (กรกฎาคม 2549). คำเรียกพระมหากษัตริย์ไทย. จุลสารลายไทยฉบับพิเศษ วันภาษาไทยแห่งชาติ, 3-9.
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน. (29 มกราคม 2556). ในหลวง ทรงเป็นยิ่งกว่าพระมหากษัตริย์ (สนิทสุดา เอกชัย, King of Thailand: More than a Monarch) สืบค้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2560, จาก http://www.doeb.go.th
อัครวิทย์ เรืองรอง. (2542). การใช้คำเรียกและความเปรียบเกี่ยวกับกษัตริย์ในยวนพ่ายโคลงดั้น. วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช, 12(3), 21-29.
Brettler, Marc. (1989). God is King: Understanding an Israelite Metaphor. Sheffeld: JSOT.
Kittay, Eva. (1987). Metaphor: its cognitive force and linguistic structure. New York: Oxford University Press.
Kovecses, Zoltan. (2002). Metaphor. A practical introduction. New York: Oxford University Press.
Lakoff, George and Johnson, Mark. (1980). Metaphors We Live By. Chigaco: The university of Chicago Press.
Muis, Jan. (2008). God Our King. HTS Teologiese Studies Theological Studies, 64(1), 269–288.
Soskice, J M (1985). Metaphor and religious language. Oxford: Clarendon.