คำนิยมในนวนิยายเรื่องเพชรพระอุมา: การศึกษาโครงสร้างและลักษณะทางสังคมวัฒนธรรม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างของคำนิยมในนวนิยายเรื่องเพชรพระอุมาโดยใช้แนวคิดอัตถภาควิเคราะห์ ตลอดจนศึกษาลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรมที่สะท้อนจากคำนิยม ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ คำนิยมที่ปรากฏในนวนิยายเรื่องเพชรพระอุมา จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม ปี 2544 จำนวน 47 ฉบับ จากนวนิยาย 48 เล่ม ผลการศึกษาพบว่าคำนิยมในนวนิยายเรื่องเพชรพระอุมาประกอบด้วย 5 อัตถภาค คือ อัตถภาคการแถลงสาร อัตถภาคการชื่นชม อัตถภาคการขอบคุณ อัตถภาคการอวยพร และอัตถภาคการเชิญชวน โดยอัตถภาคการแถลงสารและอัตถภาคการชื่นชมมีลักษณะเป็นอัตถภาคหลัก ในขณะที่อัตถภาคการขอบคุณ อัตถภาคการอวยพร และอัตถภาคการเชิญชวนเป็นอัตถภาคเสริม สำหรับลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรมของไทยที่สะท้อนผ่านคำนิยมในนวนิยายเรื่องเพชรพระอุมา ได้แก่ วัฒนธรรมการแสดงความชื่นชมยินดีและการอวยพรในสังคมไทย และการขอบคุณในสังคมไทย
Article Details
References
ธีระ รุ่งธีระ. (2553). กิตติกรรมประกาศในวิทยานิพนธ์ภาษาฝรั่งเศสของบัณฑิตไทย: การศึกษาโครงสร้างตามแนวอัตถภาควิเคราะห์และลักษณะทางสังคมวัฒนธรรม. วารสารเกษตรศาสตร์ (สังคม), 31(2), 153-165.
บุษบา กนกศิลปธรรม. (2549). รายงานการวิจัยเรื่องการวิเคราะห์เปรียบเทียบโครงสร้างบทความวิจัยวิทยาศาสตร์ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ. ทุนอุดหนุนการวิจัยจากสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
บุษบา กนกศิลปธรรม. (2550). การเขียนบทความวิจัยภาษาอังกฤษ: สาขาวิชาจุลชีววิทยา. วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 29(พิเศษ), 174-208.
พนมเทียน. (2544). เพชรพระอุมา ภาคแรก (เล่ม 1-24). กรุงเทพฯ: ณ บ้านวรรณกรรม กรุ๊ป.
พนมเทียน. (2544). เพชรพระอุมา ภาคสมบูรณ์ (เล่ม 25-48). กรุงเทพฯ: ณ บ้านวรรณกรรม กรุ๊ป.
พรนภา ไทยสิทธิ. (2550). ลีลาการใช้ภาษาในนวนิยายเรื่องเพชรพระอุมา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, คณะมนุษยศาสตร์, สาขาวิชาภาษาไทย.
วศวรรณ สบายวัน. (2557) กิตติกรรมประกาศ: บทประณามพจน์ในวิทยานิพนธ์ไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 9-10(16-17), 64-84.
Swales, J. M. (1990). Genre Analysis. Cambridge: Cambridge University Press.
Swales, J. M. (2004). Researcg Genres. Cambridge: Cambridge University Press.