บทพรรณนาคร่ำครวญถึงความสูญเสีย ในวรรณกรรมนิทานสมัยอยุธยาตอนต้น
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้ศึกษาบทพรรณนาคร่ำครวญถึงความสูญเสียในวรรณกรรมนิทานสมัยอยุธยาตอนต้น ผลการวิจัยพบว่า เหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความสูญเสีย ได้แก่ ความสูญเสียชั่วคราวอันเกิดจากการพลัดพรากจากเป็น ความสูญเสียที่ไม่มีวันกลับมาอันเกิดจากการพลัดพรากจากตาย ความสูญเสียทางกายอันเกิดจากการพลัดพรากจากที่อยู่อาศัย และความสูญเสียขวัญกำลังใจอันเกิดจากความคับข้องหมองใจต่อตนเองและผู้อื่น ส่วนการศึกษาแนวคิดจากบทพรรณนาคร่ำครวญพบแนวคิดสำคัญ ได้แก่ ความรักคือบ่อเกิดของความทุกข์ การพลัดพรากจากสิ่งที่รักทำให้เกิดความทุกข์ ชีวิตมนุษย์มีกรรมเป็นเครื่องกำหนด และ ชีวิตเป็นไปตามกฎของไตรลักษณ์
Article Details
References
กรมศิลปากร. (2540). วรรณกรรมสมัยอยุธยาเล่ม 1. กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์.
กรมศิลปากร. (2545). วรรณกรรมสมัยอยุธยาเล่ม 2 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์.
ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต. (2562). สมุทรโฆษคำฉันท์ คำฉันท์ซึ่งควรอุโฆษ. ธนาเพลส.
นพวรรณ งามรุ่งโรจน์. (2559). บทคร่ำครวญในกวีนิพนธ์สมัยใหม่: การสืบสรรค์กับแนวคิดของกวี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นิตยา แก้วคัลณา. (2551). การสืบสรรค์จินตภาพในกวีนิพนธ์ไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.9). (2553). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ (พิมพ์ครั้งที่ 4). ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม.
พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต). 2545. พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 11). สหธรรมิก.
พัชรินทร์ บูรณะกร. (2551). ความโศกในปัญญาสชาดก: อารมณ์สะเทือนใจกับการสอนคติธรรมทางพุทธศาสนา (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
แม่ชีจิณธกาญจน์ ธัมมะรักขิตา. (2560). ความรัก: ทรรศนะอารยธรรมแนวพุทธ. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 6(1), 143-157.
รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. (2558). “100 ปีวรรณคดีสโมสรและวรรณศิลป์ในวรรณคดีที่ได้รับยกย่องจากวรรณคดีสโมสร”. ใน 100 ปีวรรณคดีสโมสร. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์.
สุปาณี พัดทอง. (2544). ศิลปะการประพันธ์ภาษาไทย: ร้อยกรอง. ม.ป.พ.
สุนทร ณ รังสี. (2541). พุทธปรัชญาจากพระไตรปิฎก. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.