“ผู้หญิงข้ามเพศที่สมบูรณ์แบบ”: ความสัมพันธ์ระหว่างกลวิธีทางภาษากับอัตลักษณ์ของแอน จักรพงษ์ จักราจุฑาธิบดิ์

Main Article Content

พรหมมินทร์ ประไพพงษ์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอัตลักษณ์ รวมทั้งวิเคราะห์วิธีการและผลจากการนำเสนอ อัตลักษณ์ของจักรพงษ์ จักราจุฑาธิบดิ์ ผู้วิจัยเก็บข้อมูลจาก แฟนเพจเฟซบุ๊ก Anne jakrajutatip วันที่ 1 มีนาคม - 30 เมษายน 2564 ผลการศึกษาพบการนำเสนออัตลักษณ์ 3 ประการ ได้แก่ ผู้หญิงข้ามเพศที่เป็นแม่ที่รักลูก เป็นภรรยาที่เหนือชั้น และเป็นนักธุรกิจวิสัยทัศน์กว้างไกล โดยสัมพันธ์กับการใช้กลวิธีทางภาษา 7 กลวิธี ได้แก่ การเลือกใช้คำศัพท์ คำถามเชิงวาทศิลป์ สหบท การเล่าเรื่อง มูลบท การอ้างถึง และอุปลักษณ์ ข้อค้นพบที่น่าสนใจ คือ วิธีการนำเสนออัตลักษณ์ใหม่ โดยใช้การนิยามเพศสภาพให้สอดคล้องกับตัวตน การสร้างความโดดเด่นจากเพศสภาพและการเลือกช่องทางการสื่อสาร ขณะเดียวกันอัตลักษณ์ที่สร้างขึ้นก็มีผลต่อการสร้างตัวตนใหม่ การเพิ่มประเด็นและพื้นที่ในสื่อ รวมทั้งการเพิ่มคุณค่าและความน่าเชื่อถือให้แก่บุคคล อย่างไรก็ดีการนำเสนออัตลักษณ์นี้มีลักษณะเป็นอัตลักษณ์ที่ลื่นไหลเปลี่ยนแปลงไปตามบริบทซึ่งมีส่วนช่วยส่งเสริมให้เกิดภาพลักษณ์ “ผู้หญิงข้ามเพศที่สมบูรณ์แบบ”

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ญาณิศา บุญประสิทธิ์. (2562). ยุคทองของการสร้างตัวตน ของคนที่จำเป็นต้องไม่ธรรมดา. วารสารศาสตร์, 12, 180-204.

ณัฐพร พานโพธิ์ทอง. (2550). จาก “เจ้าพ่ออ่างทองคำ” สู่ “คนชนชั้นธรรมดาที่กล้าแฉ”: กลวิธีทางภาษากับการนำเสนออัตลักษณ์ของชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ในวาทกรรม การหาเสียงเลือกตั้ง. วารสารภาษาและวรรณคดีไทย, 24, 27-296.

ธีระ บุษบกแก้ว. (2553). กลวิธีทางภาษากับการนำเสนออัตลักษณ์ของตนเองโดยกลุ่ม “เกย์ออนไลน์” [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เปิดเรื่องราวพลิกชีวิตจากเด็กปั๊มสู่สตรีข้ามเพศพันล้าน. (5 พฤษภาคม 2564). เฮลโลไทยแลนด์. https://th.hellomagazine.com

พจมาน มูลทรัพย์. (2551). เรื่องเล่าของเกย์ในชุมชนวรรณกรรมออนไลน์: กรณีศึกษากลุ่ม “บลูสกาย โซไซตี้” ใน www.pantip.com [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศรัญญา กิตติวัฒนโชติ. (2557). ภาพสะท้อนอัตลักษณ์ส่วนบุคคลผ่านงานเขียน กรณีศึกษาคุณวิกรม กรมดิษฐ์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ศิริพร ภักดีผาสุข. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอัตลักษณ์และแนวทาง การนํามาศึกษาภาษาไทย. โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

แอน จักรพงษ์ พลิกชีวิตจากคำบูลลี่ สู่สตรีข้ามเพศพันล้าน. (28 กันยายน 2563). เดอะบางกอกอินไซต์. https://www.thebangkokinsight.com

แอน จักรพงษ์ สตรีข้ามเพศรวยอันดับ 3 ของโลก. (25 ธันวาคม 2563). ข่าวสดออนไลน์. https://www.khaosod.co.th/entertainment

Acevedo-Callejas, L. (2016). Queens and jesters of YouTube: Communicating gay/lesbian identities through humor in YouTube channel Spanish Queens. Sexuality & Culture, 20(1), 140-152.

Cloud, D. (2019). The rise of the gay warrior: Rhetorical archetypes and the transformation of identity categories. Discourse & Communication, 13(1), 26- 47.

LaBelle, S. (2011). Language and identity. In A. Mooney, J. Peccei, S. LaBelle, E. Eppler, P. Pichler, A. Irwin, S. Preece, & S. Soden (Eds.), Language, society and power: An Introduction (3rd ed., pp. 173-187). Routledge.

Levon, E. (2012). The voice of others: Identity, alterity and gender normativity among gay men in Israel. Language in Society, 41(2), 187-211.

Webster, L. (2019). “I am I”: Self-constructed transgender identities in internet-mediated forum communication. International Journal of the Sociology of Language, 2019(256), 129-146.

Woodward, K. (1997). Identity and difference. Sage Publications.