“กรุณา” “หน่อย”: ที่มาของคำแสดงการขอร้องในภาษาไทย

Main Article Content

นพวรรณ เมืองแก้ว
วิภาส โพธิแพทย์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคำแสดงการขอร้อง “กรุณา” และ “หน่อย” ในภาษาไทยปัจจุบัน ในประเด็นดังนี้ (๑) เกณฑ์ในการจำแนกคำว่า “กรุณา” และ “หน่อย” ที่เป็นคำแสดงการขอร้องออกจากคำหมวดอื่นที่มีรูปเดียวกัน และ (๒) ปัจจัยและกระบวนการที่ทำให้คำทั้งสองนี้กลายมาเป็นคำแสดงการขอร้อง ผู้วิจัยศึกษาประเด็นดังกล่าวในกรอบทฤษฎีการกลายเป็นคำไวยากรณ์โดยใช้ข้อมูลจากคลังข้อมูลภาษาไทยแห่งชาติ


ผลการศึกษาพบว่า ในภาษาไทยปัจจุบันคำว่า “กรุณา” และ “หน่อย” ปรากฏใช้ ๒ หน้าที่ กล่าวคือ คำว่า “กรุณา” เป็นได้ทั้งคำกริยาและคำแสดงการขอร้องและคำว่า “หน่อย” เป็นได้ทั้งคำบอกจำนวนและคำแสดงการขอร้อง เกณฑ์ที่ใช้จำแนก ได้แก่ (๑) เกณฑ์ทางวากยสัมพันธ์ เช่น “กรุณา” ที่เป็นคำแสดงการขอร้องมักจะไม่ปรากฏร่วมกับประธานในประโยค ในขณะที่ “กรุณา” ที่เป็นคำกริยามักจะปรากฏร่วมกับประธานในประโยค และ (๒) เกณฑ์ทางอรรถศาสตร์ เช่น “หน่อย” ที่เป็นคำแสดงการขอร้องจะต้องปรากฏในปริบทของการขอร้องเท่านั้น ในขณะที่ “หน่อย” ที่เป็นคำบอกจำนวนไม่ปรากฏในปริบทเช่นนั้น เป็นต้น


ปัจจัยที่ทำให้คำว่า “กรุณา” และ “หน่อย” กลายเป็นคำแสดงการขอร้อง ได้แก่ (๑) ปัจจัยทางวากยสัมพันธ์ กล่าวคือ คำกริยาในภาษาไทยเกิดเรียงกันได้หรือที่เรียกว่าหน่วยสร้างกริยาเรียงและคำกริยา “กรุณา” ปรากฏหน้าคำกริยาอื่นในหน่วยสร้างกริยาเรียง และ (๒) ปัจจัยทางอรรถศาสตร์ ได้แก่ ความหมายประจำคำของคำว่า “กรุณา” และ “หน่อย” คำกริยา “กรุณา” มีความหมายแสดงความสงสาร ส่วนคำบอกจำนวน“หน่อย” มีความหมายแสดงจำนวนหรือปริมาณน้อย การกลายเป็นคำไวยากรณ์ครั้งนี้มีกระบวนการที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ (๑) กระบวนการสูญคุณสมบัติของหมวดคำเดิม (๒) กระบวนการจางลงทางความหมาย (๓) กระบวนการคงเค้าความหมายเดิมและ (๔) กระบวนการขยายความหมายเชิงอุปลักษณ์

Article Details

How to Cite
เมืองแก้ว น., & โพธิแพทย์ ว. (2016). “กรุณา” “หน่อย”: ที่มาของคำแสดงการขอร้องในภาษาไทย. วรรณวิทัศน์, 13, 95–114. https://doi.org/10.14456/vannavidas.2013.5
บท
บทความประจำฉบับ

References

นววรรณ พันธุเมธา. (๒๕๕๓). ไวยากรณ์ไทย (พิมพ์ครั้งที่ ๕). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (๒๕๔๑-๒๕๕๐). TNC: Thai National Corpus ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. สืบค้นเมื่อวันที่ ๑๕-๒๕ มกราคม ๒๕๕๕, จาก http://ling.arts.chula.ac.th/tnc2/

ราชบัณฑิตยสถาน. (๒๕๔๖). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒. กรุงเทพมหานคร: นานมีบุ๊คส์ พับลิเคชั่น.

วิจินตน์ ภาณุพงศ์. (๒๕๓๘). โครงสร้างภาษาไทย: ระบบไวยากรณ์ (พิมพ์ครั้งที่ ๑๓). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุจริตลักษณ์ ดีผดุง. (๒๕๔๘). ขอ . . . หน่อย, ขอ . . . ด้วย, ช่วย . . . ที. ใน รวมบทความวิชาการภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์บริษัทสหธรรมิก.

อุปกิตศิลปสาร, พระยา. (๒๕๔๖). หลักภาษาไทย (พิมพ์ครั้งที่ ๑๒). กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนา- พานิช.

Bybee J., Perkins R., and Pagliuca W. (1994).The evolution of grammar: tense,aspect, and modality in the languages of the world. Chicago: University of Chicago Press.

Hopper, P.J. (1991). On some principles of grammaticalization, In E.C. Traugott and B. Heine (eds.), Approach to grammaticalization, (Vol.1). Amsterdam: JohnBenjamins. pp.17-35.

Hopper, P.J., and Traugott, E.C. (2003). Grammaticalization. Cambridge: Cambridge University Press.

Lehmann, C. (1985). Grammaticalization: Synchronic variation and diachronic change. In Lingua E stile, 20, pp.303-318.

Peterson, Elizabeth. (2008). Pressure to please: the case of English and politeness in Finland. In Vergaro, C. (Eds.), Dynamics of language contact in the twentyfirst century. 2.1 ed. Perugia, Italy: Guerra Edizioni, pp.161-177.