ประโยครวมและประโยคซ้อนในทำเนียบ ภาษาวิชาการ ภาษาการเมือง ภาษากฎหมาย และภาษาสื่อ

Main Article Content

สุธาสินี ปิยพสุนทรา

บทคัดย่อ

บทความนี้ศึกษาประโยครวมและประโยคซ้อนในทำเนียบภาษาวิชาการซึ่งรวบรวมจากบทความวิชาการทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข ทำเนียบภาษาการเมืองรวบรวมจากบางส่วนของถ้อยแถลงของนักการเมืองทั้งฝ่ายค้านและรัฐบาล ทำเนียบภาษากฎหมายรวบรวมจากบางส่วนของกฎหมายเกี่ยวกับการเช่าที่ดินในประมวลกฎหมายที่ดินและพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน และทำเนียบภาษาสื่อรวบรวมจากภาษาโฆษณาที่ปรากฏในสื่ออินเทอร์เน็ตและนิตยสาร ผู้หญิง ความยาวทำเนียบภาษาละ ๒,๐๐๐ คำ พบลักษณะประโยครวมและประโยคซ้อนมีตัวบ่งชี้และคำเชื่อมปรากฏอยู่ดังนี้ ประโยครวมพบสันธานทั้ง และ แต่ หรือส่วนอนุประโยคเติมเต็ม พบตัวบ่งชี้คือ ที่ ว่า ที่ว่า คุณานุประโยคพบมีตัวบ่งชี้ทั้งที่ ซึ่ง และ อัน วิเศษณานุประโยคบ่งบอกกาล นำหน้าด้วยบุพบทบ่งบอกเวลา เมื่อ พอ ก่อน หลัง วิเศษณานุประโยคบ่งบอกเหตุ นำหน้าด้วยบุพบทบ่งบอกเหตุ เพราะเนื่องจาก วิเศษณานุประโยคบ่งบอกเป้าหมาย นำหน้าด้วยบุพบทบ่งบอกเป้าหมายเพื่อ วิเศษณานุประโยคบ่งบอกผล นำหน้าด้วยบุพบทบ่งบอกผล จนกระทั่งวิเศษณานุประโยคบ่งบอกเงื่อนไข นำหน้าด้วยบุพบทระบุเงื่อนไข ถ้าหาก วิเศษณานุประโยคบ่งบอกความขัดแย้ง นำหน้าด้วยบุพบทระบุความขัดแย้ง แม้ว่าในเชิงปริมาณพบลักษณะที่แตกต่างกันในแต่ละทำเนียบภาษา กล่าวคือ ส่วนใหญ่มีสัดส่วนของประโยครวมและประโยคซ้อนมากถึงร้อยละ ๘๖-๙๑ แต่ภาษาโฆษณามีความแตกต่างไป คือ มีประโยครวมและประโยคซ้อนน้อยเพียงร้อยละ ๖๗ นอกจากนี้พบว่าแต่ละทำเนียบภาษามีสัดส่วนของวิเศษณานุประโยคสูงสุด แต่ภาษาวิชาการกลับต่างออกไปพบจำนวนอนุพากย์ที่เกิดในประโยครวม วิเศษณานุประโยค และคุณานุประโยคในสัดส่วนที่พอๆ กัน อย่างไรก็ดีทุกทำเนียบภาษาพบการใช้คำเชื่อมในจำนวนมากกว่าแบบไม่มีคำเชื่อม ลักษณะทางภาษาดังกล่าวสะท้อนว่าทำเนียบภาษาทั้งสี่มีความแจ่มชัดในการเชื่อมโยงทางวากยสัมพันธ์

Article Details

How to Cite
ปิยพสุนทรา ส. (2016). ประโยครวมและประโยคซ้อนในทำเนียบ ภาษาวิชาการ ภาษาการเมือง ภาษากฎหมาย และภาษาสื่อ. วรรณวิทัศน์, 13, 115–139. https://doi.org/10.14456/vannavidas.2013.6
บท
บทความประจำฉบับ

References

ปราณี กุลละวณิชย์. (๒๕๔๙). หน่วยสร้างคุณานุประโยค. ใน อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ (บรรณาธิการ), หน่วยสร้างที่มีข้อขัดแย้งในไวยากรณ์ไทย: หน่วยสร้างคุณานุประโยค หน่วยสร้างประโยคเติมเต็ม หน่วยสร้างกริยาเรียง และหน่วยสร้างกรรมวาจา (น.๗-๖๓). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิจินตน์ ภาณุพงศ์. (๒๕๓๒). โครงสร้างของภาษาไทย: ระบบไวยากรณ์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (๒๕๕๓). ชนิดของคำในภาษาไทย: การวิเคราะห์ทางวากยสัมพันธ์. กรุงเทพมหานคร: เอ แอ๊ส พี.

อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ และคณะ. (๒๕๕๔). ไวยากรณ์ภาษาไทยมาตรฐาน. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการ ไวยากรณ์ไทยฉบับครอบคลุมภาษาย่อย เล่มที่ ๑. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

Crystal, David. (2003). A dictionary of linguistics & phonetics. New York: MA Blackwell.

Diessel, Holger. (2004). The Acquisition of complex sentences. Cambridge: Cambridge University Press.

Givon, Talmy. (1990). Syntax: a functional typological introduction. Philadelphia: J. Benjamins.

Tomasello, Michael. (2003). Constructing a language: a usage-based theory of language acquisition. Cambridge, Mass.: Harvard University Press.