กลวิธีทางภาษาที่ใช้ในพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๔๑๗-๒๔๕๓): การศึกษาจากมุมมองวัจนปฏิบัติศาสตร์

Main Article Content

สิทธิธรรม อ่องวุฒิวัฒน์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการศึกษากลวิธีทางภาษาที่ใช้ในพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ.๒๔๑๗-๒๔๕๓)จากมุมมองวัจนปฏิบัติศาสตร์ โดยมีคำถามการวิจัยว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเลือกใช้กลวิธีทางภาษาใดบ้างในพระราชดำรัสและกลวิธีทางภาษาเหล่านั้นมีวัตถุประสงค์อย่างไรในการสื่อสาร ผลการวิจัยพบว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเลือกใช้กลวิธีทางภาษาในพระราชดำรัสทั้งสิ้น ๙ กลวิธี ได้แก่ ๑.การอ้างถึง ๒.การให้รายละเอียด ๓.การใช้คำกริยาแสดงเจตนาในการสื่อสาร ๔.การใช้อุปลักษณ์ ๕.การใช้ทัศนภาวะ ๖.การให้เหตุผล ๗.การใช้คำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ ๘.การใช้คำถามเชิงวาทศิลป์ และ ๙.การใช้ถ้อยคำเรียกตนเองและผู้รับสาร กลวิธีทางภาษาทั้ง ๙ กลวิธีสามารถจำแนกวัตถุประสงค์ในการสื่อสารได้ ๔ ประการ คือ  ๑.เพื่อแจ้งสารไปยังผู้รับสาร  ๒.เพื่อโน้มน้าวและจูงใจผู้รับสาร ๓.เพื่อทำให้ผู้รับสารเห็นภาพอย่างเป็นรูปธรรม และ ๔.เพื่อสื่ออารมณ์หรือความรู้สึกนึกคิดไปยังผู้รับสาร ผลการวิจัยดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงพระราชอัจฉริยภาพทางด้านภาษาและปฏิภาณโวหารในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

Article Details

How to Cite
อ่องวุฒิวัฒน์ ส. (2016). กลวิธีทางภาษาที่ใช้ในพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๔๑๗-๒๔๕๓): การศึกษาจากมุมมองวัจนปฏิบัติศาสตร์. วรรณวิทัศน์, 16, 101–134. https://doi.org/10.14456/vannavidas.2016.5
บท
บทความประจำฉบับ

References

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว,พระบาทสมเด็จพระ. (2510). รวมพระราชดํารัสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ตั้งแต่ พ.ศ. 2417-2453) (พิมพ์ครั้งที่ 2). เนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพ ม.ร.ว.ทองเถา ทองแถม. กรุงเทพมหานคร: ธนาคารแห่งประเทศไทย.

ชนะศักดิ์ ศรีพฤฒา. (2546). วาทวิเคราะห์พระราชดํารัสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. (วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะนิเทศศาสตร์, ภาควิชาวาทวิทยา.

ชนกพร อังศุวิริยะ. (2550). “ความเป็นผู้หญิง” ในนิตยสารสตรีสาร: การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกลวิธีทางภาษากับอุดมการณ์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะอักษรศาสตร์, ภาควิชาภาษาไทย.

ณัฐพร พานโพธิ์ทอง. (2542). หน้าที่ของอุปลักษณ์จากมุมมองของผู้พูดภาษาไทย. ภาษาและวรรณคดีไทย. 16: 259-268.

ณัฐพร พานโพธิ์ทอง. (2549). มองคัทลียาจ๊ะจ๋าจากมุมนักภาษา: เนื้อหาและกลวิธี” กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฐพร พานโพธิ์ทอง, ศิริพร ภักดีผาสุข, สุภัควดี อมาตยกุล, และสุรเดช โชติอุดมพันธ์. (2549). พระบรมธรรมิกราชกับอักษรศาสตร์: ใต้ร่มพระบารมีพระบรมธรรมิกมหาราชา. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฐพร พานโพธิ์ทอง. (2555). เอกสารคําาสอนรายวิชา 2201783 การวิเคราะห์ภาษาไทยตามแนววัจนปฏิบัติศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง). ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดวงดาว ยังสามารถ. (2534). พระราชดําริในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเรื่องบทบาทของพระมหากษัตริย์ในสังคมสยาม: ศึกษาจากพระราชหัตถเลขาส่วนพระองค์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทวีศักดิ์ ญาณประทีป. (2547). วรรณกรรมสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ 5). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคําาแหง.

ทัศนวลัย เนียมบุปผา. (2540). การใช้ประโยคเงื่อนไขแสดงเจตนาต่างๆ ในภาษาไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะอักษรศาสตร์, ภาควิชาภาษาไทย.

เทพี จรัสจรุงเกียรติ. (2546). การศึกษาความเปลี่ยนแปลงของคําากริยาในพระราชนิพนธ์ร้อยแก้ว. ปิยะราชกวินทร์. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธิดา โมสิกรัตน์. (2556). “หน่วยที่ 12 การพูดโน้มน้าวใจ” ประมวลสาระชุดวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร (11601) หน่วยที่ 9-15 คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

นววรรณ พันธุเมธา. (2549). ไวยากรณ์ไทย. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิตยา นิราศรพ. (2533). คําายืมภาษาอังกฤษในภาษาไทย พ.ศ. 2417-2453. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, คณะศิลปศาสตร์, ภาควิชาภาษาศาสตร์.

ปาณิสรา เบี้ยมุกดา. (2550). การเชื่อมโยงความในพระราชนิพนธ์เสด็จประพาสต่างประเทศในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์, ภาควิชาภาษาไทย.

ยางวอน ฮยอน. (2557). “มโนอุปลักษณ์ในพระราชดําารัสที่เกี่ยวกับการปฏิรูปการปกครองของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว”.

พุทธชาด โปธิบาล, ดํารง ฐานดี, สิทธินี ธรรมชัย (บรรณาธิการ). หนังสือรวบรวมบทความข้ามขอบฟ้าและพรหมแดนแห่งองค์ความรู้การประชุมนานาชาติร่วมเกาหลี-ไทยศึกษาครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 339-352.

วรรณพร พงษ์เพ็ง. (2547). ภาษาจินตภาพในเรื่องไกลบ้าน พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะอักษรศาสตร์, ภาควิชาภาษาไทย.

วีระ ภวภูตานนท์. (2541). คําาทับศัพท์ภาษาอังกฤษจากบทพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร, คณะมนุษยศาสตร์, ภาควิชาภาษาไทย.

สังวาลย์ คงจันทร์. (2533). คํากริยาบอกเจตนาในการสื่อสาร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะอักษรศาสตร์, ภาควิชาภาษาไทย.

สรตี ใจสอาด. (2542). “จดหมายเหตุรายวัน พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว: ต้นเค้าการเขียนสารคดีท่องเที่ยวยุคแรกของไทย.(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะอักษรศาสตร์, ภาควิชาภาษาไทย.

สุกัญญา สุจฉายา. (2546). พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในฐานะนักคติชน. ปิยะราชกวินทร์. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อาทิมา พงศ์ไพบูลย์. (2547). คุณค่าของพระราชนิพนธ์ร้อยแก้วบันทึกประจําาวันการเสด็จประพาสในประเทศของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะอักษรศาสตร์, ภาควิชาภาษาไทย.

อรวรรณ ปิลันธ์โอวาท. (2542). การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Aristotle. (1947). Aristotle, with an English translation: the “Art” of rhetoric. Cambridge: Harvard University Press.

Bettinghaus, E. P. (1968). Persuasive communication. New York: Holt Renehautand Winston.

Black, E. (1992). Rhetorical questions: studies of public discourse. Chicago: University of Chicago Press.

Brown, G, and George, Y. (1986). Discourse Analysis. New York: Cambridge university Press.

Hovland, C. (1965). Experiments on mass communication. New York: Wiley.

Josia, U. E. (2015). Pragmatic Analyses of Martin Luther King (Jr)’s Speech: “I Have a Dream”--An Introspective Prognosis. Journal of Education and Practice, Vol.6, No.7.

Lakoff, G., and Mark, J. (2003). Metaphor we live by. Chicago: University of Chicago press.

Monroe, A. H. (1967). Principles and types of speech. Illinois: Scott, Foresman and Company.

Larson, C. U. (1986). Wadsworth Persuasion: reception and responsibility. Cambridge: Pub.Co.

Searle, J. R. (1969). Speech Acts: an essay in the philosophy of language. Cambridge: The Cambridge University Press.

Tannen, D. (1989). Talking Voices: repetition, dialogue, and imagery in conversational discourse. Cambridge: Camridge Unversity Press.