บทความในวารสารมนุษย์กับสังคม ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 กรกฎาคม-ธันวาคม 2561 นำ เสนอเนื้อหาการวิจัยทางด้านภาษาศาสตร์ การใช้ภาษา แรงงานข้ามชาติ วิจัยชุมชน และ เรื่องเล่าในพิธีกรรม รวมทั้งบทวิจารณ์หนังสือที่น่าสนใจ

               บทความทางด้านภาษาศาสตร์และการใช้ภาษา บทแรก “เสียงย่อยของพยัญชนะ กักในภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน”แสดงให้เห็นว่าพยัญชนะกักในภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน สามารถออกเสียงย่อยได้หลายเสียงตามแต่จะปรากฏในบริบทใด โดยบางบริบทสามารถ ใช้เสียงย่อยของพยัญชนะกักแบบภาษาไทยแทน แต่ในหลายบริบทภาษาไทยไม่มีเสียง ย่อยนั้น กฎการออกเสียงนี้นักเรียนไทยอาจนำไปใช้กับการฝึกออกเสียงสำเนียงอเมริกัน ได้ ส่วนบทความ “คำซ้อนในภาษาถิ่นเหนือ” ศึกษาโครงสร้างและความหมายของคำซ้อน ในภาษาถิ่นเหนือ พบว่าโครงสร้างคำซ้อนมี 2 พยางค์ 4 และมากกว่า 4 พยางค์ เป็นการ ซ้อนเพื่อเสียงและเน้นความหมาย ส่วนบทความ “กลวิธีการแสดงอารมณ์ขันในรายการซู เปอร์หม่ำ”พบกลวิธีเสียดสีประชดประชัน การสร้างเรื่องให้เกินจริง การตั้งสมญานามให้ บุคคล การทำให้เป็นเรื่องสัปดน กลวิธีการใช้ภาษาและกลวิธีการใช้โวหารภาพพจน์ ที่ช่วย เสริมให้รายการมีอารมณ์ขันและความสนุกสนาน

               การวิจัยที่เกี่ยวข้องกับแรงงานข้ามชาติในบทความเรื่อง “การให้บริการสุขภาพแก่ แรงงานข้ามชาติกัมพูชาของสถานีอนามัยบ้านคลองมะขาม หมู่ 1 ตำบลหาดเล็ก อำเภอ คลองใหญ่ จังหวัดตราด” พบว่าการให้บริการสุขภาพแก่แรงงานเน้นการให้บริการขั้นพื้นฐาน ทั่วไป และมีข้อจำกัดในการดำเนินงาน แรงงานบางกลุ่มยังไม่ทราบการให้บริการของสถานี อนามัย รวมถึงยังมีปัญหาด้านการสื่อสารเมื่อเข้าไปใช้บริการในสถานีอนามัย บทความอีก เรื่องหนึ่งคือ “การเข้าสู่การเป็นแรงงานเด็กข้ามชาติสัญชาติกัมพูชาในเขตพื้นที่ชุมชนปากน้ำ ตำบลปากน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดระยอง” พบว่ากระบวนการเข้าสู่การเป็นแรงงานเด็กชาว กัมพูชานั้น เกิดจากการติดตามผู้ปกครองเข้ามา จำเป็นต้องหารายได้ช่วยเหลือครอบครัว บางส่วนมีปัญหาการปรับตัวในชั้นเรียนเมื่อเข้าเรียนในระบบการศึกษาของไทย จึงเข้าเป็น แรงงานทั้งในสถานประกอบการประมงและรับจ้างทั่วไป มีรายได้แตกต่างกันไปตามลักษณะ งานที่ทำ

               งานการศึกษาชุมชน “การฟื้นฟูกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลพระครู อำเภอ เมือง จังหวัดบุรีรัมย์” เพื่อทำความเข้าใจกระบวนการและเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นฟู กองทุน พบว่ามีปัจจัยหลายประการ จากปัญหาด้านความรู้ความเข้าใจในเรื่องแนวคิด และหลักการจัดสวัสดิการชุมชน ไม่มีทักษะการบริหารกองทุน การจัดระบบเอกสาร การ ประชาสัมพันธ์และการให้ความร่วมมือของผู้นำชุมชน ซึ่งจะนำไปสู่การฟื้นฟูกองทุนในลำดับ ต่อไป บทความจากงานวิจัยเรื่อง “การจัดการพิพิธภัณฑ์บ้านขุนอำไพพาณิชย์” เป็นการ ศึกษาเพื่อนำเสนอรูปแบบและวิธีการที่เหมาะสมในการจัดการพิพิธภัณฑ์ ผลการศึกษา พบว่า มีการบริหารงานพิพิธภัณฑ์โดยทายาทขุนอำไพพาณิชย์และกรมศิลปากร ปัญหา ที่พบคือ จำนวนผู้เข้าชมยังมีไม่มากนัก ยังไม่มีบุคลากรประจำให้บริการ การเข้าไปศึกษา ต้องนัดหมายล่วงหน้า ผู้วิจัยจึงนำเสนอแนวทางและรูปแบบการจัดการพิพิธภัณฑ์ เพื่อให้ บรรลุวัตถุประสงค์ของการเป็นแหล่งเรียนรู้ต่อไป ส่วนบทความเรื่อง “เรื่องเล่าและพิธีกรรม บวงสรวงองค์ปู่พญานาค ของชาวตำบลบางทรายใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร” กล่าวถึงพิธีกรรมที่มีการนำเอาความเชื่อดั้งเดิมในอดีต ความเชื่อทั้งผี พราหมณ์ พุทธ เข้า มาใช้ในพิธีกรรมบวงสรวงองค์ปู่พญานาคที่จัดขึ้นทุกปี ประกอบด้วยพิธีกรรม 7 พิธี พิธีที่ สำคัญคือ พิธีบวงสรวงองค์ปู่พญานาคและองค์ย่าพญานาค พิธีลอยดอกบัวพุทธบูชาและ พิธีอัญเชิญพระพิฆเนศ แต่ละพิธีกรรมชาวบ้านเชื่อว่าจะทำให้เกิดสิริมงคลต่อชุมชนอยู่กับ อย่างร่มเย็นเป็นสุขสืบไป

               สำหรับบทความวิจารณ์หนังสือ “ลืมตา อ้าปาก จากชาวนา สู่ผู้ประกอบการ” ผู้ เขียนคือ อรรถจักร สัตยานุรักษ์ ผู้วิจารณ์ได้กล่าวถึงความน่าสนใจและจุดเด่นของหนังสือ ที่สรุปมาจากโครงการวิจัยเรื่อง “ความเปลี่ยนแปลงชนบทในสังคมไทย : ประชาธิปไตยบน ความเคลื่อนไหว” แสดงให้เห็นการปรับเปลี่ยนสังคมในชนบทที่ไม่หยุดนิ่งได้อย่างน่าสนใจ

               หวังเป็นอย่างยิ่งว่าวารสารมนุษย์กับสังคม จะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยสร้างสรรค์ จุด ประกายจินตนาการอันนำไปสู่ความรู้ เปิดพื้นที่ให้นิสิต นักศึกษา นักวิชาการและนักวิจัยได้ นำเสนอองค์ความรู้ที่ได้มาจากประสบการณ์ การศึกษาค้นคว้า การวิจัย เพื่อเป็นประโยชน์ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในวงวิชาการและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อการพัฒนาชีวิต ชุมชน สังคม ประเทศชาติและสังคมโลกสืบไป

 

                                                                                                        โสภี อุ่นทะยา

                                                                                      บรรณาธิการวารสารมนุษย์กับสังคม

Published: 2019-12-27