กลยุทธ์การบริหารงานบุคคลตามหลักไตรสิกขาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดหนองคาย

ผู้แต่ง

  • เอลวิส โคตรชมภู มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น ขอนแก่น ประเทศไทย
  • ยิ่งสรรค์ หาพา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น ขอนแก่น ประเทศไทย
  • พระมหาพิสิฐ วิสิฏฺฐปญฺโญ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น ขอนแก่น ประเทศไทย
  • กณสิทธิ์ จตุเทน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น ขอนแก่น ประเทศไทย

คำสำคัญ:

กลยุทธ์, การบริหารสถานศึกษา, หลักไตรสิกขา

บทคัดย่อ

กลยุทธ์การบริหารงานบุคคลตามหลักไตรสิกขาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดหนองคาย มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดหนองคาย . เพื่อสร้างกลยุทธ์การบริหารงานบุคคลตามหลักไตรสิกขาของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดหนองคาย 3. เพื่อประเมินกลยุทธ์การบริหารงานบุคคลตามหลักไตรสิกขาของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดหนองคาย โดยการวิจัยแบบผสานวิธี   (Mixed Methods Research) แบ่งออกเป็น 3 ระยะ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดหนองคาย จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์ ผลการวิจัย พบว่า 1.สภาพปัจจุบันโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน และค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือด้านการวางแผนอัตรากำลังและการกำหนดตำแหน่ง สภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยที่มากที่สุดคือ ด้านการวางแผนอัตรากำลังและการกำหนดตำแหน่ง และค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน ส่วนผลการประเมินความต้องการจำเป็น พบว่า เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง มีดัชนีความต้องการจำเป็นมากที่สุด และด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน มีดัชนีความต้องการจำเป็นน้อยที่สุด 2.ผลการสร้างกลยุทธ์ ประกอบด้วย 1 วิสัยทัศน์ 5 พันธกิจ 5 เป้าประสงค์ 5 ประเด็นกลยุทธ์ แบ่งออกเป็น 15 กลยุทธ์ 3. ผลการประเมินของกลยุทธ์ใน ด้านความเหมาะสม ความเป็นไปได้  และความเป็นประโยชน์  พบว่า ชื่อ วิสัยทัศน์ พันธกิจ คุณภาพขององค์ประกอบกลยุทธ์ มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมาก

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). คู่มือการบริหารสนานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กิติศักดิ์ เพ็งสกุล. (2556). การพัฒนากลยุทธ์การจัดการองค์การแห่งการเรียนรู้เพื่อการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสู่ประชาคมอาเซียน [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์].

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2547). ยุทธศาสตร์การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตไทย. วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.

จรุณี เก้าเอี้ยน. (2557). คุณลักษณะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในบริบทของสังคมพหุวัฒนธรรม [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา].

จารุวรรณ เป็งมล. (2558). กลยุทธ์การบริหารจัดการด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาในอนาคต. วารสารวิชาการมนุษย์ศาสตร์และสังคม, 23(41), 1-15.

จุฑารัตน์ แสงสุข. (2557). การบริหารงานบุคคลที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ฉะเชิงเทรา เขต 2 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์].

ฌาน คณาสารสมบัติ. (2556). ยุทธศาสตร์การบริหารโรงเรียนเพื่อพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนตามแนวคิดซีอาร์พี [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].

ฐาปนา ฉิ่นไพศาล. (2559). องค์การและการจัดการ (พิมพ์ครั้งที่ 1). ธนชัยการพิมพ์.

ณัฐนิช ศรีลาคำ. (2558). การบริหารงานบุคคลในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี].

เตือนใจ คล้ายแก้ว. (2560). แนวทางการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนในจังหวัดพิจิตร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์].

เทพรัตน์ ดาวเรือง. (2560). การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอยะลา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 2 [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา].

ธงชัย สันติวงษ์. (n.d.). องค์การและการบริหารทรัพยากรมนุษย์. โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.

นภัสภรณ์ มูลสิน. (2561). การบริหารเชิงกลยุทธ์กับการบริหารงานบุคคลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร].

โนรีย์ ทรัพย์โสภณ. (2559). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานบุคลากรของสถานศึกษาอาชีวศึกษา จังหวัดสระแก้ว สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา [งานนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-01

How to Cite

โคตรชมภู เ. ., หาพา ย., วิสิฏฺฐปญฺโญ พ. ., & จตุเทน ก. . (2025). กลยุทธ์การบริหารงานบุคคลตามหลักไตรสิกขาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดหนองคาย. Journal of Buddhist Education and Research (Online), 11(2), 1–11. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jber/article/view/280347