หลักพุทธธรรมที่มีความสัมพันธ์กับภาวะผู้นำทางการเมืองของผู้บริหารส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
หลักพุทธธรรม, ภาวะผู้นำ, ผู้บริหารส่วนท้องถิ่นบทคัดย่อ
การศึกษานี้วิเคราะห์ระดับภาวะผู้นำทางการเมืองของผู้บริหารส่วนท้องถิ่นของผู้บริหารส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักพรหมวิหาร 4 กับภาวะผู้นำทางการเมืองของผู้บริหารส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองจังหวัดขอนแก่น โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสานวิธี ผลการศึกษา พบว่า 1) หลักพรหมวิหาร 4 มีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญกับภาวะผู้นำทางการเมือง และสามารถใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมภาวะผู้นำที่มีคุณธรรมและจริยธรรมในการบริหารงานท้องถิ่นในอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านบุคลิกภาพ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดเท่ากับ 3.85 รองลงมาได้แก่ ด้านคุณธรรมจริยธรรม ด้านอารมณ์ด้านสังคม และ ด้านความรู้ความสามารถ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.83 3.80 และ 3.68 ตามลำดับ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างหลักพรหมวิหาร 4 กับภาวะผู้นำทางการเมืองของผู้บริหารส่วนท้องถิ่นในอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น พบว่า หลักพรหมวิหาร 4 มีความสัมพันธ์กับภาวะผู้นำทางการเมืองของผู้บริหารส่วนท้องถิ่นในอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีความสัมพันธ์เชิงบวก ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ เท่ากับ 0.71 3) ภาวะผู้นำทางการเมืองของผู้บริหารส่วนท้องถิ่นในอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ตามหลักพรหมวิหาร 4 ผู้บริหารท้องถิ่นพึงปฏิบัติหน้าที่และทำด้วยความเต็มใจ คิดดี มีเมตตาต่อพี่น้องประชาชนในพื้นที่ จะต้องเป็นผู้มีความซื่อสัตย์และจริงใจต่อหน้าที่ ต้องคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลักมีความยินดีต่อผู้อื่นจะต้องทำหน้าที่ให้ดี คือ ช่วยเหลือประชาชน เข้าพบปะประชาชนอยู่ตลอดเวลา การทำหน้าที่จะต้องทำโดยไม่มีอคติ
References
ไชย ณ พล อัครศุภเศรษฐ์. (ม.ป.ป.). ระบบบริหารมาตรฐานพุทธ. กรุงเทพฯ: เคล็ดไทย.
ณรงค์ สินสวัสดิ์. (2521). สังคมกับการปกครอง. กรุงเทพฯ: แพร่วิทยา.
เฉลิมพล นุชอุดม และคณะ. (2562). เกณฑ์ในการตัดสินใจเลือกผู้แทนระดับท้องถิ่น ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 11(2), 32–44.
ต่อศักดิ์ สังขะทิพย์. (2565). การมีส่วนร่วมในการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดของประชาชนในอำเภอชื่นชม จังหวัดมหาสารคาม [วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย].
นุชปภาดา ธนวโรดม. (2557). ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อพฤติกรรมการเลือกตั้งของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเทศบาลนครนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ [วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย].
พระครูภาวนาโสภิต (บุญรัตน์ เมืองวงศ์). (2553). การบริหารการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในล้านนา. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยปทุมธานี.
พระครูปลัดสุวัฒน พุทธิคุณ (สุเทพ ดีเยี่ยม). (2565). The Journal of Research and Academics, 5(2), 270–271.
พระไพฑูรย์ เมธิโก (มหาบุญ). (2554). การประยุกต์พรหมวิหาร 4 เพื่อการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลตำบลอ้อมใหญ่ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม [วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย].
พระธนากร ญาณโมลี (มนูบุตร). (2566). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอไทยเจริญ จังหวัดยโสธร [วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย].
พระปลัดวิโรจน์ ปภากโร (เจริญโชคพาณิชย์). (2561). การศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงตามหลักพรหมวิหาร 4 โรงเรียนประถมศึกษา เขตบางบอน กรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย].
พระมหาชาติเชื้อ วชิรญาโณ (ประเสริฐไทย). (2564). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนที่มีผลต่อการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562 อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู [วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย].
ภารดี ซินโซ. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอแวงน้อย จังหวัดขอนแก่น [วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย].
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2025 Journal of Buddhist Education and Research (Online)

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.