เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด

  • บทความที่ส่งพิจารณาจะต้องไม่เคยเผยแพร่ในวารสาร รายงาน หรือสิ่งพิมพ์ใดมาก่อน และไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาพิมพ์เผยแพร่ในวารสารอื่น
  • ต้นฉบับบทความต้องจัดทำตามรูปแบบ Template ที่กำหนดให้ และสามารถเปิดกับโปรแกรม Microsoft Word ได้ หรือเป็นนามสกุล .doc, .docx เท่านั้น
  • เอกสารอ้างอิงต้องเป็นภาษาอังกฤษทุกรายการตามรูปแบบที่วารสารกำหนดเท่านั้น โดยการอ้างอิงแบบออนไลน์ต้องสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลจาก URL ที่อ้างถึงได้
  • บทความต้องได้รับการยินยอมจากผู้เขียนร่วมทุกคน
  • บทความต้องไม่ซ้ำซ้อน หรือละเมิดลิขสิทธิ์จากผลงานเขียนของผู้อื่น
  • บทความที่จะตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารฯ หากงานวิจัยมีการทำวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ ผู้เขียนต้องระบุเลขที่รับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ไว้ในบทความ
  • กรณีผู้เขียนจัดเตรียมต้นฉบับไม่ตรงตามรูปแบบที่กำหนดหรือแก้ไขไม่เป็นไปตามกําหนดเวลา กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์พิจารณา ยกเลิก การตีพิมพ์

 คำแนะนำผู้เขียน  [ดาวน์โหลดไฟล์]

วารสารการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนรู้ ดำเนินการโดยสำนักการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดทำขึ้นเพื่อเป็นที่รวบรวม เผยแพร่ผลงานวิชาการและงานวิจัยในด้านการพัฒนาการจัดการศึกษาและการเรียนรู้ ตลอดจนการวิจัยในชั้นเรียน โดยเปิดรับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ จากคณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย นักศึกษา และผู้สนใจ วารสารมีระบบการจัดการแบบออนไลน์ มีการประเมินคุณภาพบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง จำนวนอย่างน้อย 3 ท่าน จากหลากหลายสถาบัน ในรูปแบบการประเมิน Double-blind คือผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เขียนไม่ทราบชื่อกันและกัน

วัตถุประสงค์ 

1. เพื่อรวบรวม เผยแพร่ผลงานวิชาการและงานวิจัยเกี่ยวกับนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนตลอดจนงานวิจัยในชั้นเรียน

2. เพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพผลงานวิชาการของบุคลากรทางการศึกษาในหลากหลายสาขาวิชาทั้งคณาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัย นักศึกษา และผู้สนใจ

3. เพื่อสนับสนุนให้เกิดการวิจัย ค้นคว้า และสร้างนวัตกรรมการศึกษาใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่องทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย

ขอบเขต 

บทความที่ขอรับการตีพิมพ์ในวารสารการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนรู้ ควรมีเนื้อหาทางวิชาการในสาขาวิชาที่วารสารกำหนดไว้ ได้แก่

• การเรียนการสอนและกิจกรรมการเรียนรู้
• การเรียนรู้ตลอดชีวิตและการศึกษาผู้ใหญ่
• เทคนิคการเรียนการสอน
• การวิจัยในชั้นเรียน
• การวัดและประเมินผล
• สภาพแวดล้อมการเรียนรู้
• เทคโนโลยีการศึกษา
• การพัฒนาหลักสูตร
• การบริหารการศึกษา
• จิตวิทยาการศึกษา
• การพัฒนาอาจารย์

กำหนดการเผยแพร่ 

วารสารกำหนดตีพิมพ์เผยแพร่ ปีละ 3 ฉบับ
• ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-เมษายน
• ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม-สิงหาคม
• ฉบับที่ 3 เดือนกันยายน-ธันวาคม

จำนวนบทความที่ตีพิมพ์ต่อฉบับ ประมาณ 10 เรื่อง ประกอบด้วย บทความภาษาไทย และภาษาอังกฤษ โดยเผยแพร่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ISSN: 3027-6187 (Online) เริ่มจัดทำตั้งแต่ ปีที่ 3 ฉบับที่ 3 (2566)

 ประเภทบทความที่รับตีพิมพ์ 

1. บทความวิจัย เป็นผลงานที่เขียนขึ้นจากการวิจัยของผู้เขียนหรือสมาชิกร่วมในงานวิจัยนั้น ประกอบด้วย บทนำ วัตถุประสงค์ การทบทวนวรรณกรรม วิธีการวิจัย ผลการวิจัย สรุปและอภิปรายผล ข้อเสนอแนะ และเอกสารอ้างอิง ความยาวไม่เกิน 16 หน้า

2. บทความวิชาการ เป็นงานเขียนทางวิชาการ ที่ผ่านการวิเคราะห์ สังเคราะห์ เปรียบเทียบ และประมวลผลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ โดยมุ่งเน้นการนำเสนอความรู้ใหม่ ๆ ในเชิงวิชาการประกอบด้วย บทนำ เนื้อเรื่อง (แสดงสาระสำคัญเป็นประเด็นต่าง ๆ ของสิ่งที่ต้องการนำเสนออย่างชัดเจน) การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา บทวิจารณ์หรือบทสรุป และเอกสารอ้างอิง ความยาวไม่เกิน 16 หน้า

3. บทความรับเชิญ เป็นบทความวิจัยหรือบทความวิชาการที่กองบรรณาธิการวารสารติดต่อขอรับบทความจากผู้เขียนที่มีความรู้หรือประสบการณ์ขั้นสูงในทางวิชาการหรือวิชาชีพ ประกอบด้วย บทนำ เนื้อเรื่อง บทสรุป และเอกสารอ้างอิง ความยาวไม่เกิน 16 หน้า

 การประเมินบทความ 

บทความที่ส่งเพื่อตีพิมพ์ในวารสารการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนรู้ จะผ่านการตรวจสอบเบื้องต้นจากกองบรรณาธิการ และผ่านกระบวนการประเมินคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง จากหลากหลายสถาบัน และไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้เขียน จำนวนอย่างน้อย 3 ท่านต่อบทความ ในรูปแบบการประเมิน Double-blind คือผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เขียนไม่ทราบชื่อกันและกัน

 ขั้นตอนการประเมินคุณภาพและตอบรับตีพิมพ์ 

1. พิจารณาบทความเบื้องต้น และตรวจสอบการคัดลอกผลงานวิชาการ

2. ผู้เขียนชำระค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์บทความ

3. ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ โดยทุกบทความต้องผ่านการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้องกับบทความนั้น ๆ (Peer Review) จำนวนอย่างน้อย 3 ท่าน โดยผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เขียนไม่ทราบชื่อกันและกัน (Double-blind)

4. บทความที่ผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว จะได้รับการพิจารณาความถูกต้องตามหลักวิชาการจากกองบรรณาธิการเป็นขั้นตอนสุดท้าย

5. ตอบรับบทความตีพิมพ์เผยแพร่ โดยผู้เขียนจะได้รับหนังสือตอบรับการตีพิมพ์บทความในวารสารฯ เมื่อการตัดสินความถูกต้องตามหลักวิชาการจากกองบรรณาธิการ เป็นที่สิ้นสุด

คำชี้แจง:

• ระยะเวลาในการตอบรับตีพิมพ์ นับจากวันที่ผู้เขียนชำระค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความ

• วันที่ชำระค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความนับเป็นวันรับบทความ

• ระยะเวลาในการตอบรับตีพิมพ์อาจเปลี่ยนแปลง หากผู้เขียนไม่ดำเนินการตามระยะเวลาที่กำหนด หรือต้องมีการแก้ไขหลายครั้ง

• วารสารใช้ระบบ ThaiJo เป็นช่องทางสำหรับการติดต่อกับผู้เขียนตลอดขั้นตอนการพิจารณาบทความ ขอให้ผู้เขียนติดตามผ่านระบบ ThaiJo

 การเก็บค่าธรรมเนียมตีพิมพ์ 

วารสารเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ เพื่อเป็นค่าดำเนินการและเป็นค่าตอบแทนผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ (มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 เป็นต้นไป)

(1) ประเภทบทความภาษาไทย 2,500 บาท

(2) ประเภทบทความภาษาอังกฤษ 4,000 บาท

คำชี้แจง:

1. ผู้เขียนต้องชำระค่าธรรมเนียมตีพิมพ์บทความตามอัตราที่วารสารกำหนด ภายในระยะเวลา 7 วัน นับจากวันที่วารสารฯ ตอบรับการพิจารณาบทความ โดยกองจัดการวารสารจะแจ้งให้ผู้เขียนทราบก่อน หากผู้เขียนชำระค่าธรรมเนียมล่าช้าบทความจะเข้าสู่กระบวนการพิจารณาคุณภาพเพื่อตีพิมพ์ล่าช้ากว่าที่กำหนด

2. ให้ผู้เขียนส่งหลักฐานการชำระค่าธรรมเนียมผ่านทางระบบ ThaiJO (ช่องทาง Discussion ของบทความ) เมื่อกองจัดการวารสารได้รับหลักฐานการชำระเงินค่าธรรมเนียมเรียบร้อยแล้ว จะดำเนินการส่งบทความของท่านไปยังผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาคุณภาพของบทความเพื่อตีพิมพ์ลงในวารสารต่อไป

3. กรณีที่ผู้เขียนชำระค่าธรรมเนียมตีพิมพ์บทความแล้ว แต่บทความ “ถูกปฏิเสธการตีพิมพ์” จากผู้ทรงคุณวุฒิและกองบรรณาธิการ หรือ ผู้เขียน “ขอยกเลิกการตีพิมพ์บทความ” ท่านจะไม่สามารถขอคืนค่าธรรมเนียมตีพิมพ์บทความได้ เนื่องจากค่าธรรมเนียมดังกล่าวเป็นค่าดำเนินการประเมินคุณภาพบทความ และการชำระค่าธรรมเนียมมิได้หมายความว่า “บทความที่ชำระค่าธรรมเนียมจะได้รับการตีพิมพ์”

4. วารสารจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ เพียงครั้งเดียว เมื่อบทความผ่านการตรวจคัดกรองเบื้องต้นเรียบร้อยแล้ว พร้อมที่จะส่งต้นฉบับให้ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินคุณภาพ

 การเตรียมต้นฉบับบทความ 

วารสารการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนรู้ ได้จัดเตรียมข้อมูลสำหรับการเตรียมต้นฉบับบทความไว้บนเว็บไซต์เรียบร้อยแล้ว โปรดศึกษารูปแบบการจัดเตรียมต้นฉบับบทความ ก่อน Submission บทความเข้าสู่ระบบ

โดยผู้เขียนควรตระหนักถึงความสำคัญในการเตรียมบทความให้เป็นไปตามรูปแบบของบทความที่วารสารกําหนด ตลอดจนตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา รายการอ้างอิง พร้อมทั้งพิสูจน์อักษรก่อนที่จะส่งบทความให้กับวารสาร การเตรียมบทความให้ถูกต้องตามข้อกำหนดของวารสารจะทำให้การพิจารณาตีพิมพ์มีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น และทางกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ที่จะไม่รับพิจารณาบทความจนกว่าจะได้รับการแก้ไขให้ถูกต้องตามข้อกำหนดของวารสาร โดยจะดำเนินการ "ปฏิเสธบทความ" ของท่านออกจากระบบโดยทันทีเมื่อตรวจพบ และหากผู้เขียนดำเนินการปรับแก้ไขต้นฉบับบทความให้ถูกต้องตรงตามรูปแบบที่กำหนด สามารถดำเนินการ Submission บทความเข้าสู่ระบบใหม่ได้

 การพิจารณาบทความ 

1. บทความที่ส่งพิจารณาจะต้องไม่เคยเผยแพร่ในวารสาร รายงาน หรือสิ่งพิมพ์ใดมาก่อน และไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาพิมพ์เผยแพร่ในวารสารอื่น

2. ต้นฉบับบทความต้องจัดทำตามรูปแบบ Template ที่กำหนดให้ และสามารถเปิดกับโปรแกรม Microsoft Word ได้ หรือเป็นนามสกุล .doc, .docx เท่านั้น

3. เอกสารอ้างอิงต้องเป็นภาษาอังกฤษทุกรายการตามรูปแบบที่วารสารกำหนดเท่านั้น โดยการอ้างอิงแบบออนไลน์ต้องสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลจาก URL ที่อ้างถึงได้

4. บทความต้องได้รับการยินยอมจากผู้เขียนร่วมทุกคน

5. บทความต้องไม่ซ้ำซ้อน หรือละเมิดลิขสิทธิ์จากผลงานเขียนของผู้อื่น

6. บทความที่จะตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารฯ หากงานวิจัยมีการทำวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ ผู้เขียนต้องระบุเลขที่รับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ไว้ในบทความ

7. กรณีผู้เขียนจัดเตรียมต้นฉบับไม่ตรงตามรูปแบบที่กำหนดหรือแก้ไขไม่เป็นไปตามกําหนดเวลา กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์พิจารณา ยกเลิก การตีพิมพ์

บทความต้นฉบับที่ส่งจะถูกตรวจสอบด้วยโปรแกรม CopyCat ในระบบ ThaiJO และโปรแกรม iThenticate และวารสารได้กำหนดเกณฑ์ความคล้ายคลึงกันของผลงานวิชาการที่วารสารยอมรับได้ ดังนี้

(1) กำหนดให้ความคล้ายคลึงกันโดยรวมของผลงานวิชาการที่ยอมรับได้ในระดับไม่เกิน 20% สำหรับบทความวิจัย และไม่เกิน 10% สำหรับบทความวิชาการ

(2) กำหนดให้ความคล้ายคลึงกันของผลงานวิชาการจากแหล่งเดียวที่ยอมรับในระดับไม่เกิน 5% (หมายความว่า ต้นฉบับนั้นอาจมีความคล้ายคลึงโดยรวมน้อยกว่า 20% แต่อาจมีข้อความที่คล้ายคลึงกันกับแหล่งข้อมูลเดียว 15% กรณีนี้ถือว่าดัชนีความคล้ายคลึงกันสูงกว่าที่วารสารกำหนดสำหรับแหล่งข้อมูลเดียว)

ทั้งนี้ ผู้เขียนบทความต้องไม่รายงานข้อมูลการวิจัยที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง โดยการสร้างข้อมูลเท็จ ปลอมแปลง บิดเบือน ตกแต่ง หรือเลือกแสดงข้อมูลเฉพาะที่สอดคล้องกับข้อสรุป รวมทั้งทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความของวารสารการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนรู้ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนรู้

 แบบฟอร์มต้นฉบับบทความ 

ตัวอย่างต้นฉบับบทความ [ดาวน์โหลดไฟล์]

บทความวิจัย

+ แบบฟอร์ม [ภาษาไทย]
+ แบบฟอร์ม [ภาษาอังกฤษ]

บทความวิชาการ/รับเชิญ

+ แบบฟอร์ม [ภาษาไทย]
+ แบบฟอร์ม [ภาษาอังกฤษ]

 รายละเอียดการเตรียมต้นฉบับ 

1. ภาษา เป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ การใช้ภาษาไทยให้ยึดหลักการใช้คำศัพท์และการเขียนทับศัพท์ภาษาอังกฤษตามหลักของราชบัณฑิตยสถาน ยกเว้นกรณีจำเป็นให้เขียนคำศัพท์ภาษาไทยตามด้วยวงเล็บภาษาอังกฤษ (กำหนดให้วงเล็บครั้งแรกเท่านั้น โดยไม่ต้องวงเล็บคำภาษาอังกฤษในครั้งต่อไป) โดยให้อักษรตัวแรกของแต่ละคำเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ บทความส่วนที่เป็นภาษาอังกฤษควรให้ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาอังกฤษตรวจสอบความถูกต้องก่อนที่จะส่งต้นฉบับ

2. ต้นฉบับบทความ ให้จัดพิมพ์ด้วยโปรแกรม Microsoft Word และใช้ไฟล์ต้นฉบับบทความที่วารสารจัดเตรียมไว้ โดยใช้แบบอักษร TH SarabunPSK ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ กำหนดให้มีเนื้อหาของบทความ รวมตาราง รูปภาพ ไม่น้อยกว่า 12 หน้า และเมื่อรวมเอกสารอ้างอิง บทความต้องไม่เกิน 16 หน้า

โดยมีรายละเอียดการเตรียมต้นฉบับ ดังนี้

2.1  ชื่อเรื่อง (Title) กำหนดให้มีภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาดตัวอักษร 18 พอยต์ ตัวหนา

2.2  ชื่อผู้เขียน (Authors) กำหนดให้มีภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาดตัวอักษร 16 พอยต์ ตัวหนา โดยไม่ต้องใส่คำนำหน้าใดๆ พร้อมให้ระบุตัวเลขยกท้ายชื่อผู้เขียนหลักและผู้เขียนร่วม ตามลำดับของชื่อสังกัด และระบุดอกจัน (*) ยกท้ายของชื่อผู้ประสานงานบทความ เพื่อแสดงข้อมูลอีเมล โดยข้อมูลชื่อสังกัดและข้อมูลติดต่อ มีขนาดตัวอักษร 12 พอยต์ ปรากฎใต้ชื่อผู้เขียน

2.3  บทคัดย่อ (Abstract) กำหนดให้มีย่อหน้าเดียวทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ มีจำนวนคำระหว่าง 150-250 คำ โดยเป็นการกล่าวให้เห็นถึงความสำคัญของการศึกษา วิธีการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา และผลที่ได้จากการศึกษา

2.4  คำสำคัญ (Keywords) กำหนดให้มีภาษาไทยและภาษาอังกฤษ อย่างน้อย 3 คำ แต่ไม่เกิน 5 คำ คั่นระหว่างคำด้วย Semicolon (;)

2.5  หัวข้อหลัก (Main Topics) ให้พิมพ์ชิดขอบด้านซ้าย ขนาดตัวอักษร 18 พอยต์ ตัวหนา ได้แก่ บทนำ วัตถุประสงค์ สมมติฐานการวิจัย การทบทวนวรรณกรรม วิธีการวิจัย เอกสารรับรองการวิจัยในมนุษย์ ผลการวิจัย สรุปและอภิปรายผล ข้อเสนอแนะ กิตติกรรมประกาศ เอกสารอ้างอิง กรณีมีหัวข้อรองให้พิมพ์ชิดขอบด้านซ้ายโดยเยื้องเข้า 1 Tab ขนาดตัวอักษร 16 พอยต์

2.6  เนื้อเรื่อง (Main Body) กำหนดให้มีเนื้อหาของบทความ รวมตาราง รูปภาพ ไม่น้อยกว่า 12 หน้า (ไม่เกิน 16 หน้า เมื่อรวมเอกสารอ้างอิง) ขนาดตัวอักษร 16 พอยต์

2.7  เอกสารอ้างอิง (References) ให้ใช้รูปแบบการเขียนอ้างอิงตามแบบ APA 6th (American Psychological Association) ที่วารสารกำหนดและต้องเป็นภาษาอังกฤษทุกรายการ (ตัวอย่างการเขียนเอกสารอ้างอิง) สำหรับเอกสารอ้างอิงภาษาไทยที่ผู้เขียนได้แปลเป็นภาษาอังกฤษ โปรดให้ข้อมูลเอกสารอ้างอิงเฉพาะรายการที่เป็นภาษาไทยไว้ตอนท้ายของรายการเอกสารอ้างอิงเพื่อการตรวจสอบความถูกต้องของรูปแบบรายการ ทั้งนี้ เอกสารหรืองานวิจัยที่นำมาอ้างอิงควรมีความทันสมัยหรือตีพิมพ์เผยแพร่ย้อนหลังไม่เกิน 10 ปี ยกเว้นทฤษฎีคลาสสิกหรือหลักการดั้งเดิม

3. การส่ง ต้นฉบับบทความ ตาราง และรูปภาพ

3.1 ต้นฉบับบทความ พร้อมตาราง และภาพประกอบ ให้ส่งทางระบบวารสารออนไลน์ได้ที่ https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jeil/

3.2 รูปภาพประกอบบทความ (ส่งเพิ่มเติม หรือ แก้ไข) ให้ส่งเป็นไฟล์ภาพผ่านทาง Discussion ของระบบ ThaiJo โดยมีรายละเอียดดังนี้

- รูปภาพ หมายถึง ภาพกราฟ แผนผัง/แผนภูมิ แผนที่ ภาพวาด และภาพถ่าย ให้ส่งเป็นไฟล์ JPG PNG TIFF อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยรูปภาพต้องมีความคมชัด ทั้งแบบขาว-ดำ หรือแบบสี กรณีภาพวาดลายเส้นให้วาดบนกระดาษขาว โดยใช้หมึกดำและต้องมีลายเส้นที่คมชัด พร้อมระบุหมายเลขของภาพ คือ ภาพที่ 1 ภาพที่ 2 ตามลำดับ

การเรียงลำดับเนื้อหา
บทความวิจัย ให้เรียงลำดับสาระ ดังนี้

1) บทคัดย่อ (ไทย/อังกฤษ)
2) บทนำ
3) วัตถุประสงค์
4) สมมติฐานการวิจัย (ถ้ามี)
5) การทบทวนวรรณกรรม
6) วิธีการวิจัย
- ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
- เครื่องมือวิจัย
- การวิเคราะห์ข้อมูล
7) เอกสารรับรองการวิจัยในมนุษย์ (ต้องมี)
8) ผลการวิจัย
9) สรุปและอภิปรายผล
10) ข้อเสนอแนะ
- ข้อเสนอแนะสำหรับการนำผลวิจัยไปใช้
- ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป
11) กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี)
12) เอกสารอ้างอิง

บทความวิชาการ/บทความรับเชิญ ให้เรียงลำดับสาระ ดังนี้

1) บทคัดย่อ (ไทย/อังกฤษ)
2) บทนำ
3) เนื้อเรื่อง (แสดงสาระสำคัญที่ต้องการนำเสนอตามลำดับ)
4) บทสรุป
5) เอกสารอ้างอิง

 เกี่ยวกับลิขสิทธิ์ 

เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนรู้ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียน ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ และไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกบทความเพื่อใช้ประโยชน์ทางวิชาการ แต่ให้อ้างอิงข้อมูลแสดงที่มาของบทความทุกครั้งที่นำไปใช้ประโยชน์

 ติดต่อสอบถาม 

สำนักการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
(วารสารการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนรู้)
ชั้น 9 อาคารศูนย์ทรัพยากรการเรียนรู้ LRC1
15 ถ.กาญจนวณิชย์ ต.หาดใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110
โทรศัพท์ +66 (0) 7428 9200
อีเมล jeiljournalpsu@gmail.com