วารสารการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนรู้ เป็นวารสารวิชาการที่จัดทำขึ้นเพื่อเป็นที่รวบรวม เผยแพร่ผลงานวิชาการและงานวิจัยในด้านการพัฒนาการจัดการศึกษาและการเรียนรู้ ตลอดจนการวิจัยในชั้นเรียน เพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพผลงานวิชาการของบุคลากรทางการศึกษาในหลากหลายสาขาวิชา ทั้งคณาจารย์ นักศึกษา และนักวิชาการต่าง ๆ อีกทั้งเพื่อสนับสนุนให้เกิดการวิจัย ค้นคว้า และสร้างนวัตกรรมการศึกษาใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่องทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

       บทความที่ได้รับการคัดเลือกตีพิมพ์ในวารสารฯ จะได้รับการเผยแพร่ในรูปแบบออนไลน์บนเว็บไซต์ (ThaiJO) โดยกำหนดการเผยแพร่วารสารฯ ปีละ 3 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 (มกราคม-เมษายน) ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม) และฉบับที่ 3 (กันยายน-ธันวาคม)

วัตถุประสงค์

       วารสารการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนรู้ เป็นวารสารวิชาการที่เผยแพร่โดยสำนักการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีวัตถุประสงค์ดังนี้

  1. เพื่อรวบรวม เผยแพร่ผลงานวิชาการและงานวิจัยเกี่ยวกับนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนตลอดจนงานวิจัยในชั้นเรียน
  2. เพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพผลงานวิชาการของบุคลากรทางการศึกษาในหลากหลายสาขาวิชาทั้งคณาจารย์ นักศึกษา และนักวิชาการต่าง ๆ
  3. เพื่อสนับสนุนให้เกิดการวิจัย ค้นคว้า และสร้างนวัตกรรมการศึกษาใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่องทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย
  • ขอบเขตเนื้อหาผลงานที่รับตีพิมพ์ ได้แก่
    + การเรียนการสอนและกิจกรรมการเรียนรู้
    + การเรียนรู้ตลอดชีวิตและการศึกษาผู้ใหญ่
    + เทคนิคการเรียนการสอน
    + การวิจัยในชั้นเรียน
    + การวัดและประเมินผล
    + สภาพแวดล้อมการเรียนรู้
    + เทคโนโลยีการศึกษา
    + การพัฒนาหลักสูตร
    + การบริหารการศึกษา
    + จิตวิทยาการศึกษา
    + การพัฒนาอาจารย์

กระบวนการพิจารณาบทความ

      บทความที่ส่งพิจารณาจะต้องไม่เคยเผยแพร่ในวารสาร รายงาน หรือสิ่งพิมพ์ใดมาก่อน และไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาพิมพ์เผยแพร่ในวารสารอื่น กำหนดเกณฑ์ยอมรับความซ้ำซ้อนและการคัดลอกผลงานวิชาการในระดับไม่เกิน 20% สำหรับบทความวิจัย และไม่เกิน 10% สำหรับบทความวิชาการ ด้วยโปรแกรม CopyCat ในระบบ ThaiJO และโปรแกรม iThenticate โดยมีผลตั้งแต่เดือนเมษายน 2567 เป็นต้นไป

      บทความที่ได้รับการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารจะต้องผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) ในสาขาที่เกี่ยวข้องกับบทความจำนวนไม่น้อยกว่า 3 ท่าน ในรูปแบบการประเมิน Double Blinded คือผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เขียนไม่ทราบชื่อกันและกัน

ประเภทผลงานที่รับตีพิมพ์

  1. บทความวิจัย (Research Article) เป็นผลงานที่เขียนขึ้นจากการวิจัยของผู้เขียนหรือสมาชิกร่วมในงานวิจัยนั้น ประกอบด้วย บทนำ วัตถุประสงค์ การทบทวนวรรณกรรม วิธีการวิจัย ผลการวิจัย สรุปและอภิปรายผล ข้อเสนอแนะ และเอกสารอ้างอิง ความยาวไม่เกิน 16 หน้า
  2. บทความวิชาการ (Academic Article) เป็นงานเขียนทางวิชาการ ที่ผ่านการวิเคราะห์ สังเคราะห์ เปรียบเทียบ และประมวลผลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ โดยมุ่งเน้นการนำเสนอความรู้ใหม่ ๆ ในเชิงวิชาการประกอบด้วย บทนำ เนื้อเรื่อง (แสดงสาระสำคัญเป็นประเด็นต่าง ๆ ของสิ่งที่ต้องการนำเสนออย่างชัดเจน) การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา บทวิจารณ์หรือบทสรุป และเอกสารอ้างอิง ความยาวไม่เกิน 16 หน้า
  3. บทความรับเชิญ (Invited Article) เป็นบทความวิจัยหรือบทความวิชาการที่กองบรรณาธิการวารสารติดต่อขอรับบทความจากผู้เขียนที่มีความรู้หรือประสบการณ์ขั้นสูงในทางวิชาการหรือวิชาชีพ ประกอบด้วย บทนำ เนื้อเรื่อง บทสรุป และเอกสารอ้างอิง ความยาวไม่เกิน 16 หน้า

ภาษาที่รับตีพิมพ์

       ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ

อัตราค่าธรรมเนียมตีพิมพ์บทความ (มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป)

(1)   ประเภทบทความภาษาไทย               2,500   บาท
(2)   ประเภทบทความภาษาอังกฤษ          4,000   บาท

         คำชี้แจงการชำระค่าธรรมเนียม

  1. ผู้เขียนต้องชำระค่าธรรมเนียมตีพิมพ์บทความตามอัตราที่วารสารกำหนด ภายในระยะเวลา 7 วัน นับจากวันที่วารสารฯ ตอบรับการพิจารณาบทความ โดยกองจัดการวารสารจะแจ้งให้ผู้เขียนทราบก่อน หากผู้เขียนชำระค่าธรรมเนียมล่าช้า บทความจะได้รับการตีพิมพ์ล่าช้ากว่าที่กำหนด
  2. ให้ผู้เขียนส่งหลักฐานการชำระค่าธรรมเนียมผ่านทางระบบ ThaiJO (ช่องทาง Discussion ของบทความ) เมื่อกองจัดการวารสารได้รับหลักฐานการชำระเงินค่าธรรมเนียมเรียบร้อยแล้ว จะดำเนินการส่งบทความของท่านไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาคุณภาพของบทความเพื่อตีพิมพ์ลงในวารสารต่อไป
  3. กรณีที่ผู้เขียนชำระค่าธรรมเนียมตีพิมพ์บทความแล้ว แต่บทความ “ถูกปฏิเสธการตีพิมพ์” จากผู้ทรงคุณวุฒิและกองบรรณาธิการ หรือ ผู้เขียน “ขอยกเลิกการตีพิมพ์บทความ” ท่านจะไม่สามารถขอรับเงินคืนค่าธรรมเนียมตีพิมพ์บทความได้ เนื่องจากค่าธรรมเนียมดังกล่าวเป็นค่าดำเนินการประเมินคุณภาพบทความ และการชำระค่าธรรมเนียมมิได้หมายความว่า “บทความที่ชำระค่าธรรมเนียมจะได้รับการตีพิมพ์”

หลักเกณฑ์การรับบทความเพื่อพิจารณาตีพิมพ์

       การส่งบทความ ผู้เขียนต้องตรวจสอบบทความให้เป็นไปตามรายการ ดังต่อไปนี้

  1. บทความต้องไม่ผ่านการตีพิมพ์ เผยแพร่ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน
  2. ต้นฉบับบทความต้องจัดทำตามรูปแบบ Template ที่กำหนดให้ และสามารถเปิดกับโปรแกรม Microsoft Word ได้ หรือเป็นนามสกุล .doc, .docx เท่านั้น
  3. เอกสารอ้างอิงต้องเป็นภาษาอังกฤษทุกรายการตามรูปแบบที่วารสารกำหนดเท่านั้น โดยการอ้างอิงแบบออนไลน์ต้องสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลจาก URL ที่อ้างถึงได้
  4. บทความต้องได้รับการยินยอมจากผู้เขียนร่วมทุกคน
  5. บทความต้องไม่ซ้ำซ้อน หรือละเมิดลิขสิทธิ์จากผลงานเขียนของผู้อื่น
  6. บทความที่จะตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารฯ หากงานวิจัยมีการทำวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ ขอให้ผู้เขียนระบุเลขที่รับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ไว้ในบทความ
  7. การนับวันรับ (Received) ต้นฉบับบทความในวารสารจะเริ่มนับเมื่อได้รับต้นฉบับบทความสำหรับพิจารณาตีพิมพ์ที่ถูกต้องและครบถ้วนตามรูปแบบที่วารสารกำหนดแล้วเท่านั้น

หลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพบทความ

       บทความที่รับพิจารณาประเมินคุณภาพ มีรายละเอียดดังนี้

  1. ประเภทของบทความที่ได้รับการประเมินคุณภาพทางวิชาการเพื่อตีพิมพ์ในวารสารฯ ประกอบด้วย บทความวิจัย บทความวิชาการ
  2. บทความตาม ข้อ 1 ทุกบทความต้องผ่านการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้องกับบทความนั้น ๆ (Peer Review) จำนวน 3 ท่าน โดยผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เขียนไม่ทราบชื่อกันและกัน (Double Blinded)
  3. บทความที่ผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว จะได้รับการพิจารณาความถูกต้องตามหลักวิชาการจากกองบรรณาธิการเป็นขั้นตอนสุดท้าย
  4. ผู้เขียนจะได้รับหนังสือตอบรับการตีพิมพ์บทความในวารสารฯ เมื่อการตัดสินความถูกต้องตามหลักวิชาการจากกองบรรณาธิการ เป็นที่สิ้นสุด

การละเมิดลิขสิทธิ์

       เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนรู้ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียน ซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ และไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกบทความเพื่อใช้ประโยชน์ทางวิชาการ แต่ให้อ้างอิงข้อมูลแสดงที่มาของบทความทุกครั้งที่นำไปใช้ประโยชน์

ติดต่อสอบถาม

สำนักการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
15 ถ.กาญจนวณิชย์ ต.หาดใหญ่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110
โทรศัพท์ +66 (0) 7428 9200  มือถือ +66 (06) 1594 6165
อีเมล [email protected]