ความรู้เรื่องการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองของนักศึกษาแพทย์ก่อนและหลังเรียนวิชาการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง

Main Article Content

อรพรรณ ฟูมณีโชติ
ธรรมสินธ์ อิงวิยะ

บทคัดย่อ

ความสำคัญ: การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองมีความสำคัญสำหรับแพทย์ การเรียนการสอนที่เหมาะสมในนักศึกษาแพทย์จะส่งผลให้นักศึกษาแพทย์และแพทย์ที่จบมีความรู้และความมั่นใจในการดูแลผู้ป่วยแบบดังกล่าว การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความรู้เรื่องการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองของนักศึกษาแพทย์ก่อนและหลังเรียนรู้การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองเพื่อนำมาพัฒนาการเรียนการสอนวิชาดังกล่าวต่อไป


วิธีการดำเนินการและเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา: งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงสังเกต เก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามความรู้ก่อนและหลังเรียนในหลักสูตรของนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 5 โดยแบบสอบถามมีจำนวน 17 ข้อ ทดสอบความเที่ยงด้วยวิธี Kuder-Richardson-20 ที่ 0.7


ผลการศึกษา: นักศึกษาแพทย์จำนวน 75 คนตอบคำถามครบทั้งก่อนและหลังเข้าเรียน คิดเป็นร้อยละ 61.5 ของนักศึกษาทั้งหมด คะแนนก่อนและหลังเรียนมีคะแนนมัธยฐานอยู่ที่ 9.0 พิสัยควอไทร์ (IQR = 8.5-10.0) และ 10.0 (IQR = 9.0-13.0) ความรู้เกี่ยวกับการดูแลแบบประคับประคองของนักศึกษาไม่ได้เพิ่มขึ้นหลังเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้นหมวดความรู้เกี่ยวกับการบรรเทาอาการปวด ภายหลังเรียนรายวิชาพบว่านักศึกษาแพทย์ มีความมั่นใจและประสบการณ์ในการดูแลแบบประคับประคองมากขึ้น แต่คะแนนความรู้ไม่มีความสัมพันธ์กับความมั่นใจและประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


สรุป: รูปแบบการสอนการดูแลแบบประคับประคองในหลักสูตรแพทยศาสตร์ปัจจุบันอาจไม่ได้เพิ่มความรู้และความมั่นใจของนักศึกษาแพทย์เรื่องการดูแลผู้ป่วยแบบดังกล่าว การเรียนการสอนเรื่องดังกล่าวอาจจะต้องมีการเพิ่มเติมในหลากหลายรูปแบบโดยเฉพาะการฝึกสื่อสารกับผู้ป่วยจริงและมีการเพิ่มวิชาเลือกให้นักศึกษาแพทย์ได้มีโอกาสเรียนเรื่องดังกล่าวมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Badyal, D. K., & Singh, T. (2017). Learning theories: the basics to learn in medical education. International Journal of Applied and Basic Medical Research, 7, 1-3. doi:10.4103/ijabmr.ijabmr_385_17

Boland, J., Barclay, S., & Gibbins, J. (2019). Twelve tips for developing palliative care teaching in an undergraduate curriculum for medical students. Medical Teacher, 41(12), 1359-1365. doi:10.1080/0142159x.2018.1533243

Fernando, G. V. M. C., & Prathapan, S. (2019). What do young doctors know of palliative care; how do they expect the concept to work? BMC Research Notes, 12. doi:0.1186/s13104-019-4462-2

Lehto, J. T., Hakkarainen, K., Kellokumpu-Lehtinen, P. L., & Saarto, T. (2017). Undergraduate curriculumin palliative medicine at Tampere University increases students’ knowledge. BMC Palliative Care, 16. doi:10.1186/s12904-016-0182-8

McMahon, D., & Wee, B. (2019). Medical undergraduate palliative care education (UPCE). BMJ Supportive and Palliative Care, 11(1), 4-6. doi:10.1136/bmjspcare-2019-001965

Nilmanat, K. (2016). Palliative care in Thailand: development and challenges. Canadian Oncology Nursing Journal, 26(3), 262-264.

Pinto, E., Marcos, G., Walters, C., Gonçalves, F., Sacarlal, J., Castro, L., & Rego, G. (2020). Palliative care in Mozambique: physicians’ knowledge, attitudes and practices. PLoS ONE, 15(8), e0238023. doi:10.1371/journal.pone.0238023

Suvarnabhumi, K., Sowanna, N., Jiraniramai, S., Jaturapatporn, D., Kanitsap, N., & Soorapanth, C., … Phungrassami, T. (2013). Situational analysis of palliative care education in Thai Medical Schools. Palliative Care: Research and Treatment, 7, 25-29. doi:10.4137/PCRT.S12532

Walker, S., Gibbins, J., Paes, P., Barclay, S., Adams, A., & Chandratilake, M., … Wee, B. (2018). Preparing future doctors for palliative care: views of course organisers. BMJ Supportive and Palliative Care, 8(3), 299-306. doi:10.1136/bmjspcare-2017-001319

World Health Organization. (2021). World Health Organization Definition of Palliative Care. Retrieved from https://www.who.int/health-topics/palliative-care