การศึกษาสภาพและปัญหาการใช้สื่อของครู ในการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 13

Main Article Content

นูรเอ็ฮซาน บอตอ
ศศิพิชญ์ นิลไพรัช
โอภาส เกาไศยาภรณ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับสภาพและปัญหาการใช้สื่อของครูในการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 13 โดยกลุ่มตัวอย่างการวิจัยเป็นครูผู้สอนจำนวน 327 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น และหาจำนวนกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการเปิดตารางสำเร็จของ Krejcie and Morgan จากครูผู้สอนโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 13 จำนวนประมาณ 2,105 คน ในส่วนของเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ตามแบบของลิเคิร์ท เพื่อถามสภาพและปัญหาในการใช้สื่อของครู ในการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 13 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และนำมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์เพื่อแปลผล ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้


1. สภาพการใช้สื่อของครู ในการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 13 ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมมีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ 4.02 รองลงมาด้านการเตรียมสื่อเพื่อใช้ในการสอน และด้านการสนับสนุนของผู้บริหาร มีค่าเฉลี่ย 3.87 และ 3.77 ตามลำดับ


2. ปัญหาการใช้สื่อของครู ในการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 13 ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับน้อย โดยด้านการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ 1.91

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Aungurasiri, P. A. (2018). Moral ethics and development of learners in Thailand 4.0. Journal of Innovation in Education and Research, 2(2), 81-90. [in Thai]

Department of Academic Affairs, Ministry of Education. (2002). Handbook for organizing student development activities. Bangkok: Printing House. [in Thai]

Kepan, A. (2012). Problems and guidelines for cultivating islamic morality to secondary school students satun province (Master’s thesis). Prince of Songkla University, Songkhla. [in Thai]

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3), 607-610.

Lumjai, P. (2014). The model of moral and ethical secondary students development. Journal of Humanities and Social Sciences University of Phayao, 2(2), 46-58. [in Thai]

Rattanaburee, P., Chairueang, N., & Ursiripornrit, S. (2020). The indicators development of social responsibility on ethical responsibilities of secondary school students under the secondary educational service area office 13. Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology, 5(6), 216-231. [in Thai]

Sittipanyano, P. (2010). Study on the state and problems of using the teacher’s media to cultivate morality. Ethics of buddhism school students under the office of sisaket educational service area, district 2, Sisaket Province (Master’s thesis). Surin Rajabhat University, Surin. [in Thai]

Sriprom, W., Piyanukul, S., & Phoncharoen, S. (2014). Problems of organizing moral and ethical activities in schools under Buriram Primary Educational Service Area Office 3. Journal of academic Buriram Rajabhat University, 6(1), 65-83. [in Thai]

Wanichsupawong, P. (2003). Education, teaching and research methodology (4th ed.). Pattani, Thailand: Office of Academic Resources, Prince of Songkla University. [in Thai]

Wongwanich, S., & Wiratchai, N. (2000). Research report on “Factors and processes contributing to individual moral development aimed at the collective success of university students: quantitative and qualitative studies”. Bangkok: Department of Research Education, Faculty of Education, Chulalongkorn University. [in Thai]