ความปกติถัดไปอุดมศึกษา: ความท้าทาย

Main Article Content

อานุภาพ เลขะกุล

บทคัดย่อ

โลกและบริบทรอบตัวในปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก รวดเร็ว และต่อเนื่อง ทั้งวิถีชีวิต สภาพแวดล้อมทางธรุกิจ เศรษฐกิจและสังคม ความต้องการหรือความคาดหวังของสังคม เทคโนโลยี การแข่งขัน การเปลี่ยนแปลงอย่างพลิกผัน (Disruption) สถานการณ์เหล่านี้ เรียกว่า ìVUCA Worldî ซึ่งเป็นลักษณะที่มีความผันผวน (V-Volatility) ความไม่แน่นอน (U-Uncertainty) ความซับซ้อน (C-Complexity) และความคลุมเคลือ (A-Ambiguity) สิ่งสำคัญที่เราได้รับรู้จากโลกการทำงานยุคใหม่ในปัจจุบันนี้ก็คือ ผู้ที่พร้อมจะเรียนรู้และเปิดกว้างสำหรับความท้าทายใหม่ ๆ อยู่เสมอนั้นจึงจะสามารถเอาชนะและรับมือให้สถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ คนที่มีความสามารถและประสิทธิภาพต่ำจะอยู่ได้ด้วยความลำบาก สถาบันระดับอุดมศึกษาซึ่งมีหน้าที่ผลิตกำลังคนเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศให้บรรลุเป้าหมายและให้สามารถแข่งขันได้ในระดับโลก จึงมีความจำเป็นต้องเปลี่ยนกระบวนทัศน์ครั้งใหญ่จากการศึกษาแบบ Input-Based Education โดยการเรียนการสอนยังเน้นการบรรยาย ให้ความสำคัญกับการครอบคลุมเนื้อหา เวลาส่วนใหญ่อยู่ในห้องเรียน นักศึกษายังชอบให้ผู้สอนป้อนเนื้อหา และปิดท้ายด้วยการสอบซึ่งยังเน้นความจำเพื่อตัดสินได้ตก ผู้เรียนไม่ได้ถูกเตรียมตัวให้มีความสามารถหรือสมรรถนะที่สังคมต้องการ ไปสู่การสร้างบัณฑิตที่สามารถทำงานได้ มีลักษณะเป็น Versatilist ซึ่งมีทักษะสอดคล้องกับความต้องการของสังคมในศตวรรษที่ 21 มีประสบการณ์กว้างขวาง สามารถปฏิบัติงานได้ในบทบาทต่าง ๆ และเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Changing Agent) ÿstergaard and Nordlund (2019) เสนอความท้าทายใหญ่ที่สำคัญ 4 ประการ ต่ออุดมศึกษาในยุคปัจจุบัน ได้แก่ (1) ความต้องการการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่เพิ่มขึ้นในโลกที่ไม่เป็นเส้นตรง ผู้เรียนจำเป็นต้องเรียนรู้และปรับปรุงทักษะของตนเองอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สอดคล้องกับการทำงานในชีวิตจริง (2) ความต้องการและความคาดหวังของผู้เรียนที่เปลี่ยนไปเรื่อย ๆ คนรุ่นใหม่ที่เข้าสู่การศึกษาระดับอุดมศึกษามีจุดเริ่มต้นที่แตกต่างไปจากรุ่นก่อนอย่างสิ้นเชิง จึงนำความคิดของผู้บริโภคมาใช้มากขึ้นและเลือกซื้อประสบการณ์การศึกษาที่ยืดหยุ่น ราบรื่นและเหมาะกับตนเอง (3) มีเทคโนโลยีและรูปแบบของอุดมศึกษาใหม่ ๆ เกิดขึ้นมาเขย่าการศึกษาแบบเดิม ๆ และรูปแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิต และ (4) การมุ่งเน้นที่การได้มาซึ่งทักษะมากกว่าปริญญา การศึกษาระดับอุดมศึกษาที่ผ่านมากำลังถูกรื้อถอนและสร้างใหม่ มหาวิทยาลัยต้องประเมินและทบทวนบทบาทของตนใหม่ ยิ่งเมื่อมีการระบาดใหญ่ของโควิด 19 จึงเป็นสัญญาณย้ำเตือนว่าสังคมต้องการการเปลี่ยนใหญ่ในหลายด้าน แม้ว่าจะเป็นวิกฤติ แต่ก็นับว่าเป็นโอกาสปรับเปลี่ยนหลาย ๆ เรื่องที่ไม่เคยทำ ความปกติใหม่ของการจัดการเรียนการสอนหรือนวปทัสถานการเรียน (New Normal Learning) จึงเป็นที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ รวมถึงความปกติถัดไป (Next Normal) เมื่อผ่านพ้นสถานการณ์การระบาดของโควิด 19 บทความนี้จะกล่าวถึงการศึกษาระดับอุดมศึกษาในสถานการณ์ VUCA World ทิศทางอุดมศึกษาและมหาวิทยาลัยไทย การเปลี่ยนแปลงสู่ความปกติใหม่ และการศึกษาหลังการระบาดของโควิด 19

Article Details

บท
บทความรับเชิญ

References

Cowell, P. (2021). COVID-19 has transformed education - here are the 5 innovations we should keep. Retrieved from https://www.weforum.org/agenda/2021/02/covid-19-pandemic-higher-education-online-resources-students-lecturers-learning-teaching

Curtin, R. (2021). Reimagining higher education: the post-covid classroom. Educause Review. Retrieved form https://er.educause.edu/articles/2021/4/reimagining-higher-education-the-post-covid-classroom

Greenstein, D. (2014). 4 trends that drive success in higher education. Retrieved from https://www.weforum.org/agenda/2014/12/4-trends-that-drive-success-in-higher-education

Li, C., & Lalani, F. (2020). The covid-19 pandemic has changed education forever. This is how. Retrieved from https://www.weforum.org/agenda/2020/04/coronavirus-education-global-covid19-online-digital-learning

National Student Clearinghouse Research Center. (2020, November 12). National student clearinghouse research center’s monthly update on higher education enrollment. Retrieved form https://www.studentclearinghouse.org/nscblog/fall-2020-first-look-research-reveals-transfer-patterns-and-enrollment-challenges

Office of the Higher Education Commission, Ministry of Education. (2018). Guidelines for promoting teaching quality management of teachers in higher education institutions. Nonthaburi: Parbpim. Retrieved form http://www.bhes.mua.go.th/pdf/PSF_Book.pdf [in Thai]

__________. (2018). 20-Year National Higher Education Strategic Plan 2018-2037. Bangkok: Prigwan Graphic. Retrieved form http://www.mua.go.th/users/bpp/main/download/plan/plan20yrs.pdf [in Thai]

Østergaard, S. F., & Nordlund, A. G. (2019). The 4 biggest challenges to our higher education model - and what to do about them. Retrieved from https://www.weforum.org/agenda/2019/12/fourth-industrial-revolution-higher-education-challenges

Stewart, B., Khare, A., & Schatz, R. (2016). Volatility, uncertainty, complexity and ambiguity in higher education. In O. Mack et al. (Eds.), Managing in a VUCA World, (241-250). Cham: Springe.

Waller, R. E., Lemoine, P. A., Mense, E. G., Garretson, C. J., & Richardson, M. D. (2019). Global higher education in a VUCA world: concerns and projections. Journal of Education and Development, 3(2), 73-83. doi:10.20849/jed.v3i2.613