การพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาจีนด้วยหลักสูตรอบรมระยะสั้น กรณีศึกษานักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี

Main Article Content

ภัทราพร โชคไพบูลย์
สุธินี วงศ์วัฒนานุกุล
กวินกรณ์ ชัยเจริญ
สุกัญญา ทองแห้ว
ภูเทพ ประภากร

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาหลักสูตรอบรมระยะสั้นเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาจีน สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี 2) เพื่อประเมินผลการทดสอบก่อนและหลังการอบรมพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาจีนโดยใช้หลักสูตรระยะสั้น และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อการนำหลักสูตรพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาจีนมาใช้ในการอบรม กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่ศึกษาอยู่ในปีการศึกษา 2565 สังกัดคณะต่าง ๆ ทั้ง 6 คณะของมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี จำนวน 1,341 คน โดยได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) ร่างหลักสูตรอบรมระยะสั้น เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาจีน (2) แบบทดสอบก่อนการอบรมและหลังการอบรม (3) แบบฝึกหัดหลังเรียนประจำหน่วยการเรียนรู้ และ (4) แบบประเมินความคิดเห็นและความพึงพอใจในการเข้าร่วมโครงการ ซึ่งเครื่องมือการวิจัยทุกประเภทได้ผ่านการตรวจสอบคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญแล้ว ผลการวิจัยพบว่า 1) โครงร่างหลักสูตรที่ออกแบบและพัฒนาขึ้น เพื่อการอบรมระยะสั้นครั้งนี้มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\beta=4.40, S.D.=0.23) 2) ผลการทดสอบหลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรม โดยมีคะแนนความก้าวหน้าอยู่ที่ 11.25 และ 3) ผลการประเมินความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อการนำหลักสูตรพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาจีนมาใช้ในการอบรมในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\beta=4.55, S.D.=0.66) แสดงให้เห็นว่าหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นช่วยพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาจีนของนักศึกษากลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Educational Service System, Thepsatri Rajabhat University. (2022). Course Search. Retrirved from https://reg.tru.ac.th/registrar/class_info_1.asp?facultyid=all&acadyear=2565&semester=1&CAMPUSID=&LEVELID=&CLASSSET=&coursecode=%C8%B7+0011706&coursename=&cmd=2.

Denonpho, M. (2021). Development of basic Chinese speaking skill using active learning activities for Chinese major students of Chandrakasem Rajabhat University. Journal of Chandrakasemsarn, 27(1), 106-123. [in Thai]

In-klai, L., Jitgaroon, P., & Pongajarn, W. (2020). The curriculum development process higher education: a case study of Pibulsongkram Rajabhat University. Humanities and Sciences Journal of Graduate School, Pibulsongkram Rajabhat University, 14(1), 158-174. [in Thai]

Kaewbut, P. (2021). The study of Chinese curriculum development in accordance with the OBE guideline: a case study of Chinese for business communication program, Prince of Songkla University, Surat Thani campus. Journal of Liberal Arts, Prince of Songkla University, 13(1), 236-264. [in Thai]

Nantasukorn, R. (2011). Classroom research and research to improve teaching and learning. Bangkok, Thailand: Judthong. [in Thai]

Patphol, M. (2019). Contemporary curriculum development model. Bangkok, Thailand: Innovative Leaders Centre of Curriculum and Learning. [in Thai]

Prapagorn, P. (2020). Problems and obstacles of Chinese language teaching and learning management of schools in Lop Buri, Ang Thong, and Saraburi province and development guidelines. Journal of Sinology, 14, 65-105. [in Thai]

Pruettikul, S. (2015). Teaching and learning through active learning. Retrieved from http://www.nitednayok.com/data/Active%20learning.pdf [in Thai]

Zhu, L., & Liping, J. (2008). Ways on How to Teach Foreigners Chinese (Chinese Edition). Beijing, China: Beijing Language and Culture University.