องค์ประกอบและแนวทางการเป็นองค์กรแห่งความสุขของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลในประเทศไทยภายใต้สถานการณ์พลิกผันทางการศึกษา

Main Article Content

พงษ์ศักดิ์ ผกามาศ
ฤทธิเดช พรหมดี
วิบูลย์ ผกามาศ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบและแนวทางการเป็นองค์กรแห่งความสุขของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลในประเทศไทยภายใต้สถานการณ์พลิกผันทางการศึกษา โดยการศึกษาจากเอกสารและข้อมูลเชิงประจักษ์จากการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้บริหารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลที่ประสบความสำเร็จ จำนวน 20 คน แล้วพัฒนาเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่าเกี่ยวกับองค์กรแห่งความสุขเพื่อสอบถามบุคลากรและผู้บริหาร จำนวน 540 คน จาก 9 สถาบัน ในประเทศไทย โดยใช้การวิจัยแบบผสานวิธีระหว่างวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ การตรวจสอบองค์ประกอบด้วยวิธีวิทยาวิจัยสามเส้าด้านข้อมูล และการยืนยันร่างแนวทางโดยวิธีการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า การเป็นองค์กรแห่งความสุขของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลในประเทศไทยภายใต้สถานการณ์พลิกผันทางการศึกษามี 10 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) ความสุขด้านจิตใจ (2) ความสุขด้านสังคม (3) ความสุขด้านสถานะทางการเงิน (4) ความสุขทางสมอง (5) ความสุขจากครอบครัว (6) ความสุขด้านร่างกาย (7) ความสุขจากการปฏิบัติตนอยู่ในระเบียบ (8) ความสุขทางวัฒนธรรมและศาสนา (9) ความสุขจากการผ่อนคลาย และ (10) ความสุขจากบรรยากาศและสภาพแวดล้อม ผลการวิจัยสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการสร้างองค์กรแห่งความสุขของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลในประเทศไทยภายใต้สถานการณ์พลิกผันทางการศึกษาเพื่อให้สามารถบริหารจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพและเป็นองค์กรแห่งความสุขต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Abellán-Sevilla, A.-J., & Ortiz-de-Urbina-Criado, M. (2023). Smart human resource analytics for happiness management. Journal of Management Development, 42(6), 514-525. doi:10.1108/JMD-03-2023-0064

Burton, J. (2010). WHO healthy workplace framework and model: Background and supporting literature and practices. Switzerland: World Health Organization.

Gavin, J. H., & Mason, R. O. (2004). The virtuous organization: The value of happiness in the workplace. Organization Dynamics, 33(4), 379-392. doi:10.1016/j.orgdyn.2004.09.005

Martin, A. J., Jones, E. S., & Callan, V. J. (2005). The role of psychological climate in facilitating employee adjustment during organizational change. European Work and Organizational Psychology, 14(3), 263-289. doi:10.1080/13594320500141228

Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. (2019). Higher education act B.E. 2019. Bangkok: Shipping and Parcel Printing Houses. [in Thai]

Mousa, M., Massoud, H. K., & Ayoubi, R. M. (2020). Gender, diversity management perceptions, workplace happiness and organisational citizenship behaviour. Employee Relations: The International Journal, 42(6), 1249-1269. doi:10.1108/ER-10-2019-0385

NESDP. (2023). The Thirteenth National Economic and Social Development Plan. Retrieved from https://www.nesdc.go.th/article_attach/article_file_20230615134223.pdf

Phakamach, P., Panjarattanakorn, D., & Onsampant, S. (2023). Conceptualization and development of digital leadership to drive corporate digital transformation for sustainable success. International Journal of Educational Communications and Technology, 3(2), 30-42. Retrieved from https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/IJECT/article/view/252269

Ramrong, T., & Ritmontri, S. (2018). Guideline for create happy workplace organization in Kasetsart university. Journal of Social Sciences & Humanities, 44(1), 185-208. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/socku/article/view/181617 [in Thai]

Shelke, A. U., & Shaikh, N. (2023). Mediating role of workplace happiness in enhancing work engagement. Rajagiri Management Journal, 17(3), 238-253. doi:10.1108/RAMJ-07-2022-0110

Srirongthong, P. (2022). Happy workplace from the perspective of university lecturers. Suthiparithat Journal, 36(2), 150-169. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/DPUSuthiparithatJournal/article/view/257899 [in Thai]

Srivastava, S., Mendiratta, A., Pankaj, P., Misra, R., & Mendiratta, R. (2022). Happiness at work through spiritual leadership: a self-determination perspective. Employee Relations: The International Journal, 44(4), 972-992. doi:10.1108/ER-08-2021-0342

Thailand Health Promotion Foundation. (2013). 123 Towards becoming a happiness workplace. Bangkok: Song Kha Creation. [in Thai]