การศึกษาผลการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ QSCCS โดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 The study of the development result of learning activities with the QSCCS process using social media to develop problem-solving skills of secondary school students M 5

ผู้แต่ง

  • อรวรรณ กองพิลา (Orawun Kongpila )

คำสำคัญ:

กระบวนการ QSCCS / สื่อสังคมออนไลน์ / ทักษะการแก้ปัญหา

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ QSCCS โดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ 2) ศึกษาผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ QSCCS โดยใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ QSCCS โดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ เป็นนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5/5 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนนครขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น โดยที่จำนวน 3 คน สำหรับใช้ทดสอบแบบหนึ่งต่อหนึ่ง จำนวน 12 คน สำหรับทดสอบแบบกลุ่มเล็ก และจำนวน 28 คน สำหรับการทดสอบภาคสนาม ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาผลการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ QSCCS โดยใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 37 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) กิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ  QSCCS โดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80  2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ที่มีค่าความยากง่าย (p) ระหว่าง 0.27- 0.68 ค่าอำนาจจำแนก (r) ระหว่าง 0.27-0.85 และมีค่าความเชื่อมั่นและมีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ เท่ากับ 0.82
3) แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียน จำนวน 20 ข้อ ที่มีค่าความยากง่าย (p) 0.27-0.67 ค่าอำนาจจำแนก (r) 0.27–0.79 และค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ 0.75  4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ QSCCS โดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่สร้างตามกรอบคำถาม 3 ด้าน เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน คือ t-test Dependent  

ผลการวิจัย พบว่า 

  1. ผลการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ QSCCS โดยใช้สื่อสังคมออนไลน์กิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ QSCCS โดยใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มี 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การตั้งคำถาม (Learning to Question) 2) การสืบค้นความรู้และสารสนเทศ (Learning to Search) 3) การสร้างองค์ความรู้ (Learning to Construct) 4) การสื่อสารและนำเสนอ (Learning to Communicate) และ 5) การบริการสังคมและจิตสาธารณะ (Learning to Service) ที่มีประสิทธิภาพของกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ QSCCS โดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ มีค่าเท่ากับ 85.32/89.06 เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 
  2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
  3. ความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.01
  4. ความพึงพอใจของนักเรียนต่อกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ QSCCS โดยใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับมากที่สุด

                  

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กนก จันทร์ทอง. (2559). การสอนสังคมศึกษาในศตวรรษที่ 21 ค้นเมื่อ 25 กันยายน 2560, จาก https://doi.nrct.go.th//ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=10.14456/asj-psu.2017.40

คชากฤษ เหลี่ยมไธสง. (2554). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนบนเว็บแบบผสมผสานโดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และการคิดแก้ปัญหาของนิสิตระดับอุดมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

จารุณี มณีกุล. (2550). ไฮไฟว์ระบบเครือข่ายทางสังคมสำหรับชุมชนแห่งความรู้. เชียงใหม่ : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ทิพรัตน์ สิทธิวงศ์ และทะเนศ วงศ์นาม. (2557). การใช้กิจกรรมการเรียนการสอนด้วยบันได 5 ขั้น (QSCCS). สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 18 (4).

ทิพรัตน์ สิทธิวงศ์ และศศิธร นาม่วงอ่อน. (2560). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการศึกษา อิงสถานที่ร่วมกับกระบวนการ QSCCS สำหรับหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนในระดับมัธยมศึกษา. พิษณุโลก: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

นภดล ผู้มีจรรยา. (2557). ระบบการเรียนรู้ภควันตภาพแบบสร้างศักยภาพโดยใช้ปัญหาเป็นหลักเพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาและการรับรู้บริบท. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเทคนิคการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระเจ้าเกล้าพระนครเหนือ.

พระครูพรหมเขตคณารักษ์. (2556). การพัฒนาครูเพื่อออกแบบจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนด้านการคิดแบบโยนิโสมนสิการตามหลักอริยสัจ 4 ของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.

พิมพ์พันธ์ เตชะคุปต์. (2557). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2558). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วณิชชา แม่นยำ และ ทิพรัตน์ สิทธิวงศ์. (2557). การจัดการเรียนรู้ตามเป้าหมายบันได 5 ขั้น (QSCCS) ด้วยสื่อสังคม ออนไลน์ สำหรับการเสริมสร้างศักยภาพเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 11(1,2).

วิจารณ์ พานิช. (2557). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : ส เจริญ การพิมพ์.

วิลาวัณย์ จินวรรณ. (2554). รูปแบบการเรียนการสอนบนเว็บแบบลดภาระทางปัญญา โดยใช้เทคนิคการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ที่มีต่อการรู้คิดและความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเทคนิคการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

วีระ ไทยพานิช. (2551). 57 วิธีการสอน. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สำเริง บุญเรือง. (2549). การบริหารตามหลักอริยสัจสี่. กรุงเทพฯ: Sun printing.

สุวิทย์ มูลคำ. (2547). กลยุทธ์...การสอนคิดสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.

สวทช. (2560). คลังศัพท์ไทย. ค้นเมื่อ 25 กันยายน 2560, จาก http://dict.londo.com/ Search/Generation.

อังคณา ตุงคะสมิตและลัดดา ศิลาน้อย. (2558 ). การพัฒนารูปแบบกระบวนการศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบเปิด (Open Approach) ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของนักศึกษาปฏิบัติการสอนใน สถานศึกษา สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ค้นเมื่อ 23 กันยายน 2560, สืบค้นจาก https://rtt.kku.ac.th/ejournal/pa_upload_pdf/170020.pdf.

Bradon, D.P. & Hollingshead, A.B. (1999). Collaborative learning: theory and practice. (S.R.Timothy). Pennsylvania: Information Science Publishing.

Chih-Hsiung, T. (2004). Online Collaborative Learning Communities: Twenty-One Designs to Building Online. London: Libraries Unlimited.

Facione, P.A. (2007). Six steps to effective thinking and problem-solving. Retrieved June 13, 2012, from http://www.telacommunications.com/nutshell/cthinking7. htm

Limbach, B., Duron, R., Limbach, B., & Waugh, W. (2006). Critical thinking framework for any discipline. International Journal of Teaching and Learning in Higher Education, 17(2), 160-166.

Safran, C. (2010). Social media in education. Ph.D. Dissertation, Institute for Information.

Sternberg, R.J. (2008). Cognitive Psychology. 5th ed. California : Wads Worth.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-22