รูปแบบการพัฒนาครูในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการจัดการเรียนรู้ ในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 11 (Model for Teachers Development in Using Information Technology and Communicationfor Learning Activities in Primary Schools under Regional Education Office No.11)

ผู้แต่ง

  • อินทิรา ชูศรีทอง (Inthira Choosithong) -

คำสำคัญ:

การพัฒนาครู, เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT), หนังสืออิเล็กทรอนิกส์

บทคัดย่อ

                      การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบในการใช้ ICT เพื่อการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 11 2) สร้างรูปแบบการพัฒนาครูในการใช้ ICT เพื่อการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 11 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการพัฒนาครูในการใช้ ICT เพื่อการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 11 ประชากร ได้แก่ ครูผู้สอนในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 11 จำนวน 14,950 คน กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาเชิงสำรวจ จำนวน 395 คนใช้แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ เก็บข้อมูลด้วย Google Form Application วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น ทดลองใช้รูปแบบกับครูผู้สอนระดับประถมศึกษา จำนวน 30 คน

                      ผลการวิจัย พบว่า 1. องค์ประกอบการพัฒนาครู มี 5 องค์ประกอบ คือ ทักษะพื้นฐานด้าน ICT ทักษะการใช้ ICT ในการติดต่อสื่อสาร ทักษะการรู้ทัน ICT ทักษะการบูรณาการ ICT ในการเรียนการสอน และคุณธรรม จรรยาบรรณการใช้ ICT 2. รูปแบบการพัฒนาครูในการใช้ ICT เพื่อการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย หลักการของรูปแบบ, วัตถุประสงค์ของรูปแบบ, องค์ประกอบของรูปแบบ, กระบวนการของรูปแบบ, การวัดและประเมินผลและ ชุดพัฒนา คือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) 3. ผลการใช้รูปแบบในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาคือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) มีประสิทธิภาพ 81.20/87.14 ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 และคะแนนหลังพัฒนาสูงกว่าคะแนนก่อนพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2559). แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม DIGITAL THAILAND. กรุงเทพฯ: สำนักงานศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2555). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555–2559. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

กิตติศักดิ์ โสตาภา. (2558). สภาพปัญหาและความต้องการการใช้เทคในโลยีสารสนเทศในการบริหารสถานศึกษาในจังหวัดนครพนม. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนครพนม).

ชัยยงค์ พรมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน Developmental Testing of Media and Instructional Package. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 5(1). 6-19.

นันทภัค จันทร์สาห์. (2561). ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการพัฒนาครูให้มีสมรรถนะตามมาตรฐานวิชาชีพที่สอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยาเขต 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย).

พิรดา มาลาม. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยม เขต 24. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์.

วิชัย วงษ์ใหญ่ และ มารุต พัฒผล. (2562). Digital Learning. กรุงเทพฯ: ศูนย์ผู้นำนวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้.

วีรวิชญ์ เลิศรัตน์ธำรุงกุล. (2561). เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นตามรัฐธรรมนูญบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ภายใต้การบังคับใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2560. วารสารวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 8(2). 26-41.

ศิวพร ศรีมังคละ. (2561). สมรรถนะด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารพื้นฐานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญา วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร).

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 -2564). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2559). ประเทศไทย 4.0. สืบค้นเมื่อ 21 เมษายน 2560, จาก https://library2.parliament.go.th/ejournal/content_af/2559/jul2559-5.pdf.

สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ. (2553). การเปลี่ยนแปลงโลกของการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และการพัฒนาสู่ “ครูมืออาชีพ”. ข่าวสารวิชาการ. มีนาคม 2556, 1-5.

สุขฤทัย มาสาซ้าย และคณะ. (2556). การศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการที่จำเป็นสำหรับสมรรถนะของครูด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารระดับประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารธรรมศาสตร์. ปีที่ 32 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2556, 120-130.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อาจณรงค์ มโนสุทธิฤทธิ และคณะ (2560). รูปแบบการพัฒนาครูมัธยมศึกษาให้มีความสามารถด้านการออกแบบบทเรียน STEM Education โดยการศึกษาบทเรียนและเครือข่ายสังคม ออนไลน์. (รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์, มหาวิทยาลัยบูรพา).

Dade, C. (2010). Edited by James Bellanca & Ron Brandt. Comparing frameworks for 21st century skills. 21st century skills: Rethinking how students learn.

Islam, A.K.M. Najmul. (2016). E-learning system use and its outcomes : Moderating role of perceived compatibility. Telematics And Informatics. Science Direct, 33, 48-55.

Jame Bellanca and Ron Brandt. (2010). 21st century skills : rethinking how students learn. United State of America: Solution Three Press.

Jonathan Anderson. (2010). ICT TRANSFORMING EDUCATION A Regional Guide. Thailand:UNESCO Bangkok.

Kent L. Gustafson and Robert Maribe Branch. (2002). Survey of Instructional Development Model. Eric Clearmghouse on Information & Technology Syracuse University, Syracuse, New York.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-07-01