รูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยไมโครเลิร์นนิ่งเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสาร ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลพบุรี

A Model of a Micro Learning for Development Communication Skills for Mathayomsuksa 5 students under The Secondary Educational Service Area Office Lop Buri

ผู้แต่ง

  • สาธิต ศรีวรรณะ - ดวงใจ พุทธเษม Sathit Sriwanna - Duangjai Puttasem -

คำสำคัญ:

ไมโครเลิร์นนิ่ง, ทักษะการสื่อสาร, ทดสอบประสิทธิภาพ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษา วิเคราะห์ และสังเคราะห์องค์ประกอบการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยไมโครเลิร์นนิ่งเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสาร 2) การทดสอบประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยไมโครเลิร์นนิ่งเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสาร ประชากรคือนักเรียนโรงเรียนในสหวิทยาเขตวงศ์พระจันทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลพบุรี จำนวนนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 5 ทั้งหมด 709 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนโรงเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลพบุรี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 100 คน การได้มาซึ่งจำนวนกลุ่มตัวอย่างจะเป็นการตอบรับจากโรงเรียนที่ได้ส่งหนังสือเชิญ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ดังนี้ 1) รูปแบบการจัดการเรียนการสอนด้วยไมโครเลิร์นนิ่งเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสาร 2) แบบประเมินการพัฒนาทักษะการสื่อสารจากการเรียนการสอนด้วยไมโครเลิร์นนิ่ง 3) แบบการทดสอบประสิทธิภาพไมโครเลิร์นนิ่งเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสาร (E1/E2) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบทีแบบกลุ่มตัวอย่างเดียวเทียบกับเกณฑ์ และการทดสอบประสิทธิภาพ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาองค์ประกอบการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยไมโครเลิร์นนิ่ง เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสาร พบว่า การจัดการเรียนรู้ด้วยไมโครเลิร์นนิ่งเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารองค์ประกอบคือ การเน้นเนื้อหาน้อยแต่เรียนรู้ได้มาก คลิปวิดีทัศน์ที่จูงใจผู้เรียน

แบบฝึกหัดที่มีชีวิต และสิ่งสำคัญคือการใช้เทคโนโลยี การใช้อุปกรณ์มือถือของผู้เรียนเอง 2) ผลการประเมินทักษะการสื่อสาร อยู่ในระดับมาก ( =3.57, S.D.= 0.45) 3) ผลการการทดสอบประสิทธิภาพของกระบวนการ (Process-E1) และทดสอบประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (Product-E2) ในขั้นทดลองใช้เบื้องต้น แบบเดี่ยว (1:1) และการนำสื่อหรือชุดการสอนที่ทดสอบผ่านเกณฑ์ความก้าวหน้าทางการเรียน
เกณฑ์ประสิทธิภาพ E1/ E2 ตามเกณฑ์ 75/75 สำหรับพุทธิพิสัยและทักษะพิสัยแล้ว มีคะแนนเฉลี่ยความรู้หลังเข้าร่วมกิจกรรมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด

References

ขวัญชนก พุทธจันทร์. (2563). ปัญญาประดิษฐ์ (AI: Artificial Intelligence). สืบค้นเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2565 จาก https://www.lib.ku.ac.th/2019/index.php/covid-19/1045-artificialintelligence

ทิพย์วรรณ สุขใจรุ่งวัฒนา, และคนอื่น ๆ. (2563). การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วารสารศิลปากรการศึกษาศาสตร์วิจัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. ปีที่ 14(2): 63 – 78.

บัณฑิกา จารุมา และพยอม ก้อนในเมือง. (2563). วิธีพัฒนาทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ.

วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ ปริทรรศน์. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย. ปีที่ 6(1): 406 - 413.

เบญจวรรณ ถนอมชยธวัช และคนอื่น ๆ. (2559). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21: ความท้าทายในการพัฒนานักศึกษา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. ปีที่ 3(2): 208 – 222.

พรกมล เทพสุภรณ์กุล, สัญชัย พัฒนสิทธิ์ และณัฐพล รําไพ. (2564). การพัฒนาไมโครเลิร์นนิงเพื่อการฝึกอบรมข้าราชการทหารโรงเรียนนายทหารชั้นผูบังคับหมวดกรมยุทธศึกษาทหารอากาศ.

RMUTI JOURNAL Humanities and Social Sciences. (8)2: 17 – 30.

ไพศาล สุขใจรุ่งวัฒนา. (2562). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเรียนวิชาภาษาจีนของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล. Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University. ปีที่ 13(1): 90 – 99.

รังษิมา เสถียรกิจ และศิริณา จิตต์จรัส. (2564). รูปแบบการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษด้านอาชีพ สำหรับครู กศน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. ปีที่ 19(1): 301 – 321.

วิสิฐ ตั้งสถิตกุล. (2564). แนวคิดไมโครเลิร์นนิง (Microlearning) กับการเล่าเรื่องข้ามสื่อในยุคดิจิทัล.

ปัญญาพัฒน์ วารสารพัฒนาข้าราชการ กทม. ปีที่ 5(1): 10 – 15.

ศยามน อินสะอาด. (2064). การออกแบบไมโครเลิร์นนิงยุคดิจิทัล. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา. สำนักเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 16(20): 16 – 31.

ศิริลักษณ์ บุญมาพันธ์, ศยามน อินสะอาด และสุพจน์ อิงอาจ. (2564). การพัฒนาบทเรียนไมโครเลิร์นนิงบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา. ปีที่ 16(21): 65 – 78.

สรลักษณ์ ลีลา, ศศิธร ชูแก้ว และปรัชญนันท์ นิลสุข. (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบจุลภาคด้วยหนังสือมีชีวิตเพื่อส่งเสริมการคิดเชิงประมวลผล. การประชุมวิชาการระดับชาติสารสนเทศศาสตร์วิชาการ 2019, 25-26 มิถุนายน 2562

Bridges Learning Solutions. (2022). Applied Behavior Analysis. Building functional skills using a positive behavior approach. (online). https://www.bridgeslearningsolutions.com/services, May 8, 2021.

Omer Jomah. (2016). Micro Learning: A Modernized Education System. Broad Research in Artificial Intelligence and Neuroscience. 11(1): 215 – 224.

Major, Amanda & Calandrino, Tina (2018) "Beyond Chunking: Micro-learning Secrets for Effective Online Design," FDLA Journal: 3(13): 1 - 5.

Rebeca Pilar Díaz Redondo & et.al. (2021). Integrating micro-learning content in traditional e-learning platforms Multimedia Tools and Applications. 80: 3121–3151.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29