การพัฒนากลยุทธ์การบริหารจัดการสถานศึกษาขนาดเล็กขีดสมรรถนะสูง (Development of Strategies for Managing Small High-Performance School)

ผู้แต่ง

  • ขจรศักดิ์ เขียวน้อย (Kajornsak Khiawnoi) -

คำสำคัญ:

กลยุทธ์, รางวัลพระราชทาน, การบริหารจัดการ, สถานศึกษาขนาดเล็ก

บทคัดย่อ

                     การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนากลยุทธ์การบริหารจัดการสถานศึกษาขนาดเล็กขีดสมรรถนะสูง โดยนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษาหรือรองผู้อำนวยการสถานศึกษา และครูที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษาขนาดเล็กของจังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 184 คน มาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิค Modified Priority Needs Index (PNImodified) เพื่อจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นแล้ววิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคาม โดยกำหนดเป็นกลยุทธ์การบริหารจัดการสถานศึกษาขนาดเล็กขีดสมรรถนะสูงในรูปแบบ TOWS Matrix ซึ่งผู้เชี่ยวชาญจำนวน 15 คน ทำการประเมินความถูกต้องครอบคลุม ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์โดยใช้คู่มือการประเมินกลยุทธ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น แล้ววิเคราะห์ข้อมูลเพื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยเลขคณิตและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

                     ผลการศึกษา พบว่า 1) เมื่อนำเอาจุดแข็งที่มีอยู่มาปรับใช้เพื่อให้ได้รับโอกาสอย่างเต็มที่จึงกำหนดเป็นกลยุทธ์เชิงรุก (SO Strategy) คือ กลยุทธ์ที่ 1 ปฏิบัติงานให้มีความเชี่ยวชาญ 2) เมื่อใช้ประโยชน์จากจุดแข็งเพื่อป้องกันหรือแก้ไขภาวะคุกคาม จึงกำหนดเป็นกลยุทธ์เชิงป้องกัน
(ST Strategy) คือ กลยุทธ์ที่ 2 ร่วมพัฒนางานสู่ความเป็นเลิศ 3) เมื่อแก้ไขจุดอ่อนโดยใช้ประโยชน์จากโอกาสที่ได้รับ จึงกำหนดเป็นกลยุทธ์เชิงแก้ไข (WO Strategy) จำนวน 2 กลยุทธ์ คือ กลยุทธ์ที่ 3 จัดระบบสารสนเทศเพื่อประกันคุณภาพการศึกษา และกลยุทธ์ที่ 4 สร้างคุณค่าของวัฒนธรรมองค์กร 4) เมื่อแก้ไขหรือลดปัญหาอันเกิดจากจุดอ่อนและภาวะคุกคาม จึงกำหนดเป็นกลยุทธ์เชิงรับ (WT Strategy) คือ กลยุทธ์ที่ 5 เพิ่มศักยภาพการทำงานด้วยเทคโนโลยี และ 5) ผลการประเมินกลยุทธ์การบริหารจัดการสถานศึกษาขนาดเล็กขีดสมรรถนะสูงโดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยในด้านความเป็นประโยชน์ ด้านความเป็นไปได้ด้านความถูกต้องครอบคลุม และด้านความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภา.

______. (2564). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2565.

จาก https://moe360.blog/2022/01/19/policy-and-focus-moe.

ขจรศักดิ์ เขียวน้อย. (2564, กรกฎาคม). “กระบวนการบริหารจัดการสถานศึกษาขนาดเล็กเพื่อรับรางวัลพระราชทาน,” วารสารการวิจัยการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ฉบับปฐมฤกษ์: 1-21.

พิณสุดา สิริธรังศรี. (2557, พฤษภาคม). “การยกระดับคุณภาพครูไทยในศตวรรษที่ 21,” เอกสารประกอบการประชุมทางวิชาการ “อภิวัฒน์การเรียนรู้...สู่จุดเปลี่ยนประเทศไทย”.

พิสณุ ฟองศรี. (2549). วิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: เทียมฝ่าการพิมพ์. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). คู่มือการประเมินสถานศึกษาขีดสมรรถนะสูง ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

_______. (2563). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2565. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

อำนาจ วิชยานุวัติ. (2557). การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในพื้นที่ 3จังหวัดชายแดนภาคใต้. วิทยานิพนธ์ ค.ด. (การบริหารการศึกษา). ปทุมธานี: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

Blanchard, K. H. (2007). Leading at a higher level: Blanchard on leadership and creating high performance organization. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

Holbeche, L. (2005). The high performance organization: Creating dynamic stability and sustainable success. Oxford, England: Elsevier.

Linder, J. C. & Brooks, J. D. (2004, October). “Transforming the public sector,”International Journal of Learning & Teaching. 8 (1), 20-29.

Miller, L. M. (2001). The high-performance organization an assessment of virtues and values. Retrieved.17 March 2022, from https://bahailibrary.com/miller_high_performance_organization.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30