การพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา เรื่อง ร้อยละ ที่เน้นการแก้ปัญหาแบบบูรณาการด้วยเทคนิค 6 : 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (Development of using the Mathematics skills exercise for CIPPA Learning Management on the subject of Percentage Focusing on Integrated Problem Solving with techniques 6 : 6, Learning Area of Mathematics, Prathomsuksa 6 students)

ผู้แต่ง

  • ทวุธ วงค์วงค์ (Tawoot Wongwong) โรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๓๓ (บ้านทุ่งพร้าว) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอนเขต 2

คำสำคัญ:

การเรียนรู้แบบซิปปา, การแก้ปัญหา, เทคนิค 6 : 6

บทคัดย่อ

                    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา เรื่อง ร้อยละ ที่เน้นการแก้ปัญหาแบบบูรณาการด้วยเทคนิค 6:6 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาผลการใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา เรื่อง ร้อยละ ที่เน้นการแก้ปัญหาแบบบูรณาการด้วยเทคนิค 6:6 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 33 (บ้านทุ่งพร้าว) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2 ที่กำลังศึกษาภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 21 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ แผนการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ  ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีผลการวิจัยพบว่า แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา เรื่อง ร้อยละที่เน้นการแก้ปัญหาแบบบูรณาการด้วยเทคนิค 6 : 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.40/83.25 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความสามารถแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง ร้อยละของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ประกอบการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา เรื่อง ร้อยละ  ที่เน้นการแก้ปัญหาแบบบูรณาการด้วยเทคนิค 6 : 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด

References

กระทรวงศึกษาธิการ. ( 2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

_______. (2552). คู่มือหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

ชลทิศา พวงใบดี. (2558). รายงานการพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วนและทศนิยม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. มุกดาหาร : โรงเรียนบ้านนาหลวง 2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษามุกดาหาร.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน Developmental Testing of Media and Instruction Package. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 5(1), 7 – 20.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2559). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ : P Balans Design and Printing พี บาลานซ์ดีไซด์แอนปริ้นติ้ง.

ฐิติกานต์ กันตรง. (2559). การพัฒนาทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์และเจตคติของนักเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบซิปปา เรื่องบทประยุกต์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. อุบลราชธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี.

ดวงกมล สินเพ็ง. (2553). การพัฒนาผู้เรียนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ การจัดการเรียนการสอนที่เน้น ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอน:องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

. (2561). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 20). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นงคราญ หลวงเขียว. (2558). รายงานแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก การลบ และการคูณทศนิยม กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. ลำปาง : โรงเรียนเถิน-ท่าผา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 2.

นันทิยา แวโน๊ะ. (2558). รายงานผลการใช้แบบฝึกทักษะเรื่องทศนิยมและเศษส่วนที่มีผลต่อ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์โดยใช้เทคนิค STAD ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์. ยะลา : โรงเรียนสตรียะลา จังหวัดยะลา.

ปรีชา เนาว์เย็นผล. (2554). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์. วารสารคณิตศาสตร์, 38(434 - 435), 62 – 74.

พรพิทักษ์ หมู่หัวนา. (2561). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปา กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ เรื่องเงิน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.

พิรม พูลสวัสดิ์. (2559). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เศษส่วน โดยใช้แบบฝึกทักษะ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม. 15(3):67.

รัชณีพร จันทมาศ. (2558). รายงานผลการใช้แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องทศนิยมแสนสนุกกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. น่าน : โรงเรียนบ้านห้วยโก๋น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2.

เรณู อุพร. (2558). ผลของการใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ CIPPA Model เรื่อง การบวก ลบ คูณ หารจำนวนเต็ม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. นครพนม : มหาวิทยาลัยนครพนม.

โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 33 (บ้านทุ่งพร้าว). (2560). หลักสูตรโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 33 (บ้านทุ่งพร้าว) (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. แม่ฮ่องสอน : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2.

. (2562). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 33 (บ้านทุ่งพร้าว) ปีการศึกษา 2562. แม่ฮ่องสอน : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2.

วิมลรัตน์ สุนทร (2553). นวัตกรรมการเรียนรู้. ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สถาบันการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2562). รายงานผลการทดสอบทาง การศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน. สืบค้นจาก ผิดพลาด! การอ้างอิงไฮเปอร์ลิงก์ไม่ถูกต้องวันที่ 5 พฤษภาคม 2562.

สมนึก ภัททิยธนี. (2553). การวัดผลการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2). กรุงเทพฯ . สืบค้นจาก http://www.onec.go.th.

สุคนธ์ สินธพานนท์ และคณะ. (2552). นวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน. (พิมพ์ครั้งที่ 3) . กรุงเทพฯ : 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

สุนันทา สุนทรประเสริฐ. (2553). การสร้างสื่อการสอนและนวัตกรรมการเรียนรู้สู่การพัฒนาผู้เรียน. สุพรรณบุรี : สมาคมพัฒนาวิชาชีพครูสู่ผู้เรียน.

อภิญญา อาจสามารถศิริ. (2555). รายงานการใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องทศนิยม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. นครราชสีมา : โรงเรียนบ้านใหม่เจริญผล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5.

อัมพร ม้าคนอง. (2554). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ : การพัฒนาเพื่อพัฒนาการ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

McCall, Robert B., Evahn Cynthia and Kratzer Lynn. (1992) High schoolunderachievers.California : SAGE Publications Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30 — Updated on 2022-07-01

Versions