การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานเน้นการเรียนรู้แบบรวมพลัง วิชาฟิสิกส์ เรื่องไฟฟ้ากระแส เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (The Development of The Learning Process Model for The Lesson on "Electric Current" in Physics Subject Based on Project-Based Learning Focus on Collaborative Learning to Promote Learning and Innovation Skills for High School Grade 11 Students.)

ผู้แต่ง

  • ปัทมา ภู่สวาสดิ์ (Pattama Pusawat) -

บทคัดย่อ

                      การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้โครงงานเป็นฐานเน้นการเรียนรู้แบบรวมพลัง วิชาฟิสิกส์ เรื่องไฟฟ้ากระแส เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้โครงงานเป็นฐานเน้นการเรียนรู้แบบรวมพลัง วิชาฟิสิกส์ เรื่องไฟฟ้ากระแส เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนตากพิทยาคม จังหวัดตาก ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 33 คน 1 ห้อง ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ เรื่องไฟฟ้ากระแส แบบประเมินทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม และแบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที

                     ผลการวิจัย พบว่า 1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอน และการวัดและประเมินผล โดยมีกิจกรรมการเรียนการสอนประกอบด้วย 6 ขั้นตอน (PNICFP Model) คือ 1) ขั้นตั้งปัญหาที่ท้าทาย (A Challenging Problem or Question: P) 2. ขั้นกำหนดประเด็นที่ต้องการรู้ (Need to know: N) 3) ขั้นแสวงหาความรู้และนวัตกรรม (Inquiry & Innovation: I) 4) ขั้นเรียนรู้และตัดสินใจ (Student Voice and Choice: C) 5) ขั้นสะท้อนกลับและปรับปรุง (Feedback & Revision: F) 6) ขั้นนำเสนอสู่สาธารณะ (Publicly present product: P) 2. ผลการศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ (PNICFP Model) โดยใช้โครงงานเป็นฐานเน้นการเรียนรู้แบบรวมพลัง วิชาฟิสิกส์ เรื่องไฟฟ้ากระแส เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า 1) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ (PNICFP Model) โดยใช้โครงงานเป็นฐานเน้นการเรียนรู้แบบรวมพลัง วิชาฟิสิกส์ เรื่องไฟฟ้ากระแส เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) นักเรียนมีทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมหลังเรียน ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ผลการประเมินความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.54, S.D.=0.15)

References

จริยา พิชัยคำ (2559). ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมพัฒนาได้ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน 2559) หน้า 1-12.

ดุษฎี โยเหลาและคณะ (2557). การศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบ PBL ที่ได้จากโครงการสร้างชุดความรู้เพื่อสร้างเสริมทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของเด็กและเยาวชน : จากประสบการณ์ความสำเร็จของโรงเรียนไทย. กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัดทิพย์วิสุทธิ์.

ทิศนา แขมมณี (2551). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์และพเยาว์ ยินดีสุข. (2562). สร้างนวัตกรรมบนฐานการวิจัย PLC&Logbook.สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ยืน ภู่วรวรรณ. (2551). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตและเทคโนโลยีมัลติมีเดียเพื่อการศึกษาและประเด็นการวิจัย. เอกสารประกอบการบรรยายที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

รัฐพล จินะวงค์และสมศักดิ์ อรรคทิมากูล. (2555). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบโครงงานเป็นฐานโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้ร่วมมือกัน เรื่องสายอากาศไมโครเวฟสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมโทรคมนาคม. ในเอกสารการประชุมวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรมระดับชาติครั้งที่ 5 (TechEd-5). หน้า 187-189. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, ประเทศไทย.

โรงเรียนตากพิทยาคม. (2563). รายงานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในปีการศึกษา 2562-2563. โรงเรียนตากพิทยาคม จังหวัดตาก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 38.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีการสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สิริพร ศรีสมวงษ์. (2549) การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเพื่อพัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอัสสัมชัน แผนกประถม. สารนิพนธ์ ศศม. (การสอนภาษาอังกฤษ). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุนันท์ สังข์อ่อง, (2555). หลักสูตรและการสอนสำหรับศตวรรษที่ 21. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เอกสารอัดสำเนา.

อาทิตยา เพ็ญไพบูลย์ (2559). การพัฒนาการเรียนรู้วิชาฟิสิกส์โดยใช้โครงงานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4โรงเรียนมัธยมวัดหนองจอก. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม.หลักสูตรและการสอน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

Anderson, N. (1999). Exploring Second Language Reading: Issues and strategies.Canada:Heinle and Heinle Publisher.

Arends. (2012). Learning to Teach. Dubuque, Iowa: McGraw-Hill.

Bender, W.N. & Waller, L. (2011). The Teaching Revolution. Corwin: California.

Bardo, J.W., & Hartman, J.J. (1982). Urban sociology: A systematic introduction. New York: F.E.Peacock.

Erik M. Francis (2016). Now That a Good Question!: How to Promote Cognitive Rigor Through Classroom Questioning. ASCD Publisher.

Joyce and Weil. (2004). Models of teaching. (7thed.). Lond on: Allyn & Bacon. P. 101The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2016). Press.

conference of Evaluation results in PISA 2015. Retrieved November 7, 2016 http://pisathailand.ipst.ac.th/news/pisa2015result.

Thomas, J.W. (2000). A REVIEW OF RESEARCH ON PROJECT-BASED LEARNING. San Rafael,California: Autodesk.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30