ความต้องการจำเป็นในการส่งเสริมสมรรถนะการจัดประสบการณ ตามแนวคิดพหุปัญญา สำหรับครูปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2
The needs assessment in promoting experiential organizing competencies in accordance with the concept of multiple intelligences for early childhood teacher of Chiang Mai Primary Education Service Area Office 2
คำสำคัญ:
สมรรถนะ การจัดประสบการณ์ พหุปัญญาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการส่งเสริมสมรรถนะการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดพหุปัญญา สำหรับครูปฐมวัย สำนักงานพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 2) เพื่อเปรียบเทียบความต้องการจำเป็นในการส่งเสริมสมรรถนะการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดพหุปัญญา สำหรับครูปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 เมื่อจำแนก ตามตัวแปร เพศ และวุฒิการศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นครูระดับปฐมวัย ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 จำนวน 96 คน ตามตารางการกำหนดขนาดจำนวนกลุ่มตัวอย่างของ เครจซี่ และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความต้องจำเป็นในการส่งเสริมสมรรถนะการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดพหุปัญญา สำหรับครูปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเรียงลำดับความสำคัญของข้อมูล (PNImodified) เพื่อศึกษา และ t-test เพื่อเปรียบเทียบ ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการจำเป็นในการส่งเสริมสมรรถนะการจัดประสบการณ์ ตามแนวคิดพหุปัญญา สำหรับครูปฐมวัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2 โดยภาพรวม พบว่า สมรรถนะการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดพหุปัญญา สภาพที่เป็นอยู่ อยู่ในระดับมาก และสมรรถนะการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดพหุปัญญา สภาพที่ควรจะเป็น อยู่ในระดับมาก หากพิจารณาในรายละเอียด พบว่า ครูปฐมวัยมีความต้องการจำเป็นในการส่งเสริมสมรรถนะการจัดประสบการณ์ ตามแนวคิดพหุปัญญา ด้านทักษะ เป็นอันดับแรก รองลงมา คือ ด้านความรู้ ส่วนด้านเจตคติมีความต้องการจำเป็นอันดับสุดท้าย 2) การเปรียบเทียบความต้องการจำเป็นในการส่งเสริมสมรรถนะการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดพหุปัญญาสำหรับครูปฐมวัย เมื่อจำแนกตามตัวแปร เพศ พบว่า เพศชาย และเพศหญิง มีความต้องการจำเป็นในการส่งเสริมสมรรถนะการจัดประสบการณ์ ตามแนวคิดพหุปัญญาไม่แตกต่างและเมื่อเปรียบเทียบวุฒิการศึกษา พบว่า วุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี และปริญญาโท มีความต้องการจำเป็นในการส่งเสริมสมรรถนะการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดพหุปัญญาแตกต่างกัน
References
เกศรินทร์ ไกลบาป. (2554). การสำรวจความต้องการจำเป็นของนิสิตชั้นปีที่ 1 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี. (ออนไลน์). สืบค้นจาก http://www.lib.buu.ac.th/st/ ST0002591.pdf
จันทิมา จันทรประสาท และคณะ. (2560). การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลการศึกษาของครู โรงเรียนในสังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย. Veridian E-Journal, Slipakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ, 10(3), 1577-1595.
ชยพล ธงภักดี และ จักรพงษ์ พร่องพรมราช. (2564). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูในศตวรรษที่ 21 สําหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดนครราชสีมา. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 15(4), 70-84.
ญาณภัทร สีหะมงคล. (2564). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 สําหรับสถานศึกษา สังกัดสถาบันการอาชีวศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 15(4), 169-181.
นลินี เวชการมา. (2556). การพัฒนากิจกรรมเสริมสร้างทักษะทางคณิตศาสตร์ ตามแนวทฤษฎีพหุปัญญา ชั้นอนุบาลปีที่ 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
วิไลพร เมฆไตรรัตน์. (2555). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสมรรถนะการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดพหุปัญญาสำหรับครูปฐมวัย โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือตอนล่าง. (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
ศิรพร อาจปักษา และธีระศักดิ์ อุ่นอารมณ์เลิศ. (2558). การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาตนเองของครู สถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดราชบุรี. Veridian E-Journal, Slipakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ, 8 (2), 1251-1264.
สุธี ไทยเกิด. (2563). การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะของครูวิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการสถานบันการอาชีวศึกษา, 5(2), 14-25.
สุวิมล ว่องวานิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2. (2562). รายงานผลการประเมินพัฒนาการนักเรียนที่จบหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ปีการศึกษา 2561. เชียงใหม่:สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
______. (2562). รายงานผลการประเมินพัฒนาการนักเรียนที่จบหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2560 ปีการศึกษา 2561. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์อักษรไทย.
หนึ่งฤทัย ไชยยา. (2549). การประเมินความต้องการจำเป็นของครูเพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของเด็กพิเศษ ในโรงเรียนที่จัดการเรียนร่วม. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Gardner, H. (1999). Intelligence reframed: Muitiple intelligences for the 21st century. New York: Simon and Schuster.
Kornhaber, M.L. (2001). ‘Howard Gardner’ in J.A.Palmer (ed.) Fifty modern thinkers on education from Piaget to the present. London: Rout Ledge.