ผลการจัดการเรียนรู้ เรื่อง รักษ์ป่าน่าน ด้วยกระบวนการทางภูมิศาสตร์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดเชิงระบบของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จังหวัดน่าน

The Effect of Instructional Management with The use of Geographic Process in The Topic of Conservation of Nan Forest on Learning Achievement and Systematic Thinking Ability of Prathom Suksa V Student in Nan Province

ผู้แต่ง

  • นพดล สมใจ Noppadon Somjai -

คำสำคัญ:

Learning Achievement, Geographic’s Process, Systematic thinking

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ (1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน เรื่อง “รักษ์ป่าน่าน” ด้วยกระบวนการทางภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จังหวัดน่าน (2) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดเชิงระบบก่อนและหลังเรียน เรื่อง “รักษ์ป่าน่าน” ด้วยกระบวนการทางภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จังหวัดน่านกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านส้าน (คุรุราษฎร์รังสรรค์) ปีการศึกษา 2563 จำนวน 28 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการทางภูมิศาสตร์ เรื่อง รักษ์ป่าน่าน แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน เรื่อง รักษ์ป่าน่าน และแบบวัดความสามารถในการคิดเชิงระบบก่อนและหลังเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง รักษ์ป่าน่าน ของนักเรียนที่เรียนจากการจัด การเรียนรู้ด้วยกระบวนการทางภูมิศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (2) คะแนนความสามารถในการคิดเชิงระบบ เรื่อง รักษ์ป่าน่าน ของนักเรียนที่เรียนจากการจัด
การเรียนรู้ด้วยกระบวนการทางภูมิศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี พ.ศ. 2561-2580.

ชนิกานต์ ศรีทองสุข. (2561). การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์และมโนทัศน์ทางภูมิศาสตร์ทวีปยุโรป ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน ร่วมกับอินโฟกราฟิก. มหาวิทยาลัยศิลปากร. นครปฐม.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่านเขต 2. (2561). รายงานผลการประเมินระดับเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่านเขต 2 ผลการจัดการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ประจำการศึกษา 2561.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2. (2561). รายงานผลการประเมินคุณภาพผู้เรียนกลุ่มโรงเรียน. ชอก๊อปปี้.

สำนักงานศึกษาธิการ จังหวัดน่าน. (2561). หลักสูตรรักษ์ป่าน่าน. สืบค้น 2 กุมภาพันธ์ 2561 จาก http://nan.learningobec.com/sas- %99/

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2561). คู่มือการใช้มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดสาระภูมิศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย: กรุงเทพมหานคร.

อรทัย สุวะพัฒน์. (2561). การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการทางภูมิศาสตร์เพื่อเสริมสร้างการรู้ เรื่องภูมิศาสตร์ (Geo-literacy) วิชาสังคมศึกษา 1 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสีคิ้ว (สวัสดิ์ผดุงวิทยา). วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร. นครปฐม.

ภากร อุปการแก้ว. (2560). การจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบกระบวนการทางภูมิศาสตร์ และแอพพลิเคชั่น QR CODE เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภูมิศาสตร์และทักษะการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร. นครปฐม.

Anderson & Johnson. (1997). Stage of the Product life Cycle, Business Strategy and Business Performance. Academy of Management Journal. Retrieved from https://journals.aom.org/doi/abs/10.5465/255954

Checkland. (1981). Systems Thinking, Systems Practice. Chichester: John Wiley & Sons. Retrieved from https://books.google.com/books?id=icXaAAAAMAAJ&q

Orit Ben-Zvi Assaraf and Nir Orion. (2010). The development of thinking skills in elementary School. Retrieved from http://onlinelibrary.wiley.com/doi/abs/10.1002/tea.20351

Senge, P. M. (1990). The Fifth Discipline: The Art and Practice of the Learning Organization. New York: Doubleday.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29