การนิเทศโดยใช้กระบวนการวิจัยปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมความสามารถในการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดชัยนาท สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5 (Supervision using the practical research process to promote the ability to develop innovative learning management of teachers in mathematics learning subject group Secondary School in Chainat Department of the Secondary Educational Service Area Office 5)

ผู้แต่ง

  • แคทรียา แสงดาวเทียน (Kattareya Sangdowntien) the Secondary Educational Service Area Office Uthaithani Chainat

บทคัดย่อ

                     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างคู่มือการนิเทศโดยใช้กระบวนการวิจัยปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมความสามารถในการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดชัยนาท  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5 ให้มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80  และ 2) เพื่อศึกษาผลการนิเทศโดยใช้กระบวนการวิจัยปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมความสามารถในการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูฯ  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษา ปีการศึกษา 2563 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5 จำนวน  33 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection)  การดำเนินการวิจัยครั้งนี้เป็นการนิเทศโดยกระบวนการวิจัย (research-based supervision) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูฯ ตามกระบวนการของวิจัยปฏิบัติการ คือ 1) การวางแผน (P-Plan) 2) การปฏิบัติการ (A-Action)  3) การสังเกต (O-Observing)  และ 4) การสะท้อนผล (R-Reflecting) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) คู่มือการนิเทศโดยใช้กระบวนการวิจัยปฏิบัติการฯ  2) แบบประเมินคุณภาพคู่มือฯ3) แบบสัมภาษณ์  4) แบบสังเกตการสอนของครู 5) แบบประเมินความสามารถในการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ 6) แบบประเมินคุณภาพของนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ และ 7) แบบสอบถามความพึงพอใจของครูต่อการนิเทศฯ  การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติและการวิเคราะห์เนื้อหา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) คะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

                    ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการสร้างคู่มือการนิเทศโดยใช้กระบวนการวิจัยปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมความสามารถในการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูฯ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง 0.86 - 1.00 ทุกด้าน และผลการหาประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1) และประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E2) ของคู่มือการนิเทศ เท่ากับ 84.74/81.60 และผลการประเมินคุณภาพของคู่มือการนิเทศฯ โดยผู้เชี่ยวชาญมีค่าเฉลี่ยโดยรวมทุกด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด 2) ผลการนิเทศโดยใช้กระบวนการวิจัยปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมความสามารถในการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูฯ พบว่า 2.1) ผลการประเมินความสามารถในการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูฯ จำแนกตามกลุ่มคะแนนคุณภาพที่ได้รับ พบว่า ครูมีความสามารถในการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับดี ร้อยละ 69.70 รองลงมา มีผลการประเมินคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก ร้อยละ 30.30 ตามลำดับ  2.2) ผลการใช้นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูฯ พบว่า มีผลการใช้งานครบทุกคน คิดเป็นร้อยละ 100 เมื่อพิจารณาโดยภาพรวมอยู่ในระดับคุณภาพดี คิดเป็นร้อยละ 84.85 ซึ่งผลงานนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูฯ ผ่านเกณฑ์การยอมรับได้  2.3) ครูมีความพึงพอใจต่อการนิเทศฯ โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด และ 2.4) ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดชัยนาท สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5 หลังจากครูนำนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาไปใช้ในการสอน พบว่า ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 สูงขึ้น คิดเป็นร้อยละ 70.00 และผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 สูงขึ้น คิดเป็นร้อยละ 61.54 

 

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กัลยาณี หนูพัด. (2559). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและฟังชั่นลอการิทึม โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนแบบแลกเปลี่ยนบทบาทและใช้กระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (คณิตศาสตร์ศึกษา). ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.

คีรีบูน จงวุฒิเวศย์ และมาเรียม นิลพันธุ์. (2542). รายงานการวิจัยเรื่องการศึกษาและการจัดทำคู่มือปฏิบัติงาน อาสาสมัครท้องถิ่นในการดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรม (อส.มศ.). นครปฐม : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากรวิทยาเขตพระราชวัง สนามจันทร์.

ชนิดา ทาระเนตร์. (2560). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์เรื่องความน่าจะเป็นโดยการจัดการเรียนการสอนเน้นกระบวนการกลุ่ม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสา จังหวัดน่าน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาตรมหาบัณฑิต (คณิตศาสตร์ศึกษา). ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.

ทิศนา แขมมณี. (2557). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พนมนคร มีราคา. (2560). ครูต้องมีลักษณะอย่างไรในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 5(2) : 23-35.

รัตนพร ทองรอด. (2557). ความหมายนวัตกรรมการศึกษา. สืบค้นเมื่อ วันที่ 28 พฤษภาคม 2563.เข้าถึงได้จาก https://sites.google.com/site/sghurhoaiykghphgp/extra-credit.

สุพิชญา ตันติวัฒนะผล. (2559). การนิเทศโดยใช้กระบวนการวิจัย. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2563. เข้าถึงได้จาก https://prezi.com/acqib7z-y55g/presentation/

สุมาลี สังข์ศรี. (2553). การเขียนคู่มือ. การเขียนผลงานวิชาการและบทความ. พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ภาพพิมพ์.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5. (2563). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2562. สิงห์บุรี : กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). เอกสารประกอบการอบรม UTQ - 2201 การนิเทศแนวใหม่. สืบค้นเมื่อ 27 สิงหาคม 2563, เข้าถึงได้จาก https://e-academic.tepeonline.org/index.php.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2551) . ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพการศึกษา ระเบียบวาระแห่งชาติ 2551 - 2555. กรุงเทพ ฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

อัจฉรา ขุนโมกข์. (2560). การพัฒนาชุดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ในสถานการณ์จำลอง เรื่อง เงิน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. ปริญญาการศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน). พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร.

Husain Salilul Akareem & Syed Shahadat Hossain. (2016). Determinants of education quality : what makes students’ perception different?. Open Review of Educational Research, 3(1) : 52-67.

Kemmis, S., & McTaggart, R. (1988). The Action Research Planner (3rd ed.). Geelong, Australia : Deakin University Press.

Riney, M., et al. (2006). The no child left behind legislation and highly qualified teachers: An important but only partial solution for educational reform. National Forum of Applied Educational Research Journal, 20(3) : 1-8.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30