การศึกษานำร่องเพื่อพัฒนาความสามารถในการวิจัยและการจัดการเรียนรู้ ของครูผู้สอนภาษาอังกฤษในสถานการณ์โควิด-19 (A Pilot Study to Develop Research and Instructional Management Ability of English Teachers During the COVID-19 Pandemic)

ผู้แต่ง

  • วนิดา สิมพล, ปาลินา ปาลินา (Wanida Simpol), (Paulina Paulina) Loei PESAO 2

คำสำคัญ:

โควิด-19, ภาษาอังกฤษ, วิจัยเชิงปฏิบัติการ, ห้องเรียนกลับด้าน

บทคัดย่อ

                     การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าหรือโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ของนักเรียนและวิธีการจัดการเรียนรู้ของครู การพัฒนาครูให้สามารถจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับสถานการณ์จึงเป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วน การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์สภาพปัญหาการสอนภาษาอังกฤษของครูในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 2) ออกแบบแนวทางในการพัฒนาความสามารถในการวิจัยและการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนภาษาอังกฤษ และ 3) ศึกษาผลการพัฒนาความสามารถในการวิจัยและการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนภาษาอังกฤษ ดำเนินการในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการ 4 ขั้นตอน คือ วางแผน ปฏิบัติ สังเกต และ สะท้อนกลับ กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วยครูผู้สอนภาษาอังกฤษชาวไทย สังกัด สพป.เลย 2 จำนวน 6 คน และนักศึกษาวิชาเอกการสอนภาษาอังกฤษ จากมหาวิทยาลัยมูฮัมมาดียะห์ เกรซิค อินโดนีเซีย จำนวน 6 คน รวมทั้งสิ้น 12 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบประเมินการปฏิบัติ และแบบบันทึกการสะท้อนผล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ส่วนข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์ด้วยสถิติบรรยายและคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์

                     ผลการวิจัย พบว่า 1.สภาพปัญหาการสอนภาษาอังกฤษของครูในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 พบว่า ครูมีปัญหาการติดต่อสื่อสารกับผู้ปกครองเพื่อสื่อสารวิธีการเรียน นักเรียนบางคนขาดอุปกรณ์ในการเรียนแบบออนไลน์ ผู้ปกครองไม่มีความรู้ด้านภาษาอังกฤษ ไม่สามารถให้ความช่วยเหลือนักเรียนในการทำกิจกรรมการเรียนรู้ที่บ้านได้ โดยเฉพาะเด็กเล็ก ข้อจำกัดอีกประการหนึ่งคือเด็กเล็กความสนใจสั้น ไม่สามารถนั่งเรียนหน้าจอได้เป็นเวลานาน 2. แนวทางในการพัฒนาความสามารถในการวิจัยและการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนภาษาอังกฤษในสถานการณ์โควิด-19 พบว่า พัฒนาครูด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมให้ครูมีความสามารถในการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาการเรียนรู้ มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน ซึ่งเป็นวิธีสอนที่ช่วยแก้ปัญหาการเรียนในสถานการณ์โควิด-19 โดยการฝึกปฏิบัติการวิจัยจริงร่วมกับนักศึกษาอินโดนีเซียซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านการสร้างสื่อดิจิทัลเพื่อสอนภาษาอังกฤษ และใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อในการดำเนินการวิจัย 3. ผลการพัฒนาความสามารถในการวิจัยและการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนภาษาอังกฤษ พบว่า ครูมีความสามารถในการดำเนินการวิจัย ภาพรวมเท่ากับ 89.33 สูงกว่าเกณฑ์คะแนนร้อยละ 70 ทุกคน คิดเป็นร้อยละ 100 และมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน ภาพรวมคิดเป็นร้อยละ 64.67 โดยคะแนนพัฒนาการอยู่ระหว่างร้อยละ 60-68 ซึ่งมีพัฒนาการอยู่ในระดับสูง จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ทั้งนี้จากการที่ครูนักวิจัยหลักและนักวิจัยร่วมได้ปฏิบัติการวิจัยช่วยแก้ปัญหาให้นักเรียนสามารถเข้าถึงการเรียนในช่วงสถานการณ์โควิด-19 มากยิ่งขึ้น นักเรียนได้พัฒนาทักษะการฟัง-พูดภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้น ได้เรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีที่น่าสนใจ มีพัฒนาการผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษเพิ่มมากขึ้น และมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนภาษาอังกฤษ ผู้ปกครองและนักเรียนมีความพึงพอใจต่อกระบวนการจัดการเรียนรู้

References

ชนิสรา เมธภัทรหิรัญ. (2560). ห้องเรียนกลับด้านกับการสอนคณิตศาสตร์. นิตยสาร สสวท., 46(209), 20-22.

ชัยวัฒน์ แก้วพันงาม. (2559). เทคโนโลยีเพื่อการประเมินการเรียนรู้ภาษาสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. Veridian E-Journal มหาวิทยาลัยศิลปากร, 9(3), 436-452.

ณัฐกานต์ เดียวตระกูล. (2560). การใช้รูปแบบห้องเรียนกลับทางในการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในระดับอุดมศึกษา. วารสารทางวิชาการมหาวิทยาลัยศรีปทุม, 17(2), 137-145.

ปิยะวรรณ ปานโต. (2563). การจัดการเรียนการสอนของไทยภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID–19). กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. สำนักวิชาการมนธิชา ทองหัตถา. (2564). สภาพการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ โรงเรียนปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารลวะศรีมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, 5(1), 43-52.

มูลนิธิคีนันแห่งเอเชีย. (2563). ผลกระทบจากโควิด 19 ด้านการศึกษา. สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2564 จาก https://www.kenan-asia.org/th/covid-19-education-impact/

เมธาสิทธิ์ ธัญรัตนศรีสกุล, วรกมล วงศธรบุญรัศมิ์, ณัฐกานต์ โรจนพรประสิทธิ์, กันต์กมล หินทอง, พรรณนิภา สนิทดี, ธีรนาฏ เมตตาสุธารส และ มนต์เมืองใต้ รอดอยู่. (2563). การประเมินการจัดการเรียนการสอนทางไกลในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 กรณีระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนราชินีบูรณะ โดยใช้การประเมินแบบเร่งด่วน. วารสารศาสตร์การศึกษาและการพัฒนามนุษย์, 4(2), 30-45.

ลดาวัลย์ กันธมาลา. (2560). ผลการใช้วิธีการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านที่ ส่งเสริมการสร้างความรู้และทักษะการแก้ปัญหา วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ 5 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. Veridian e Journal ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ, 10 (2), 2521-2534.

เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. (2557) การพัฒนาระบบวิจัยเพื่อความก้าวหน้าอย่างยั่งยืน. วารสารเศรษฐกิจและสังคม, มกราคม-มีนาคม 2557, 2-3.

วรางคณา ผลประเสริฐ. (2552). ทำไมต้องทำวิจัย. จุลสารสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ, ฉบับที่ 2 สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2564 จาก https://www.stou.ac.th/Schools/Shs/booklet/2_2552/Research.htm.

วิจารณ์ พานิช. (2556). ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับทาง. กรุงเทพฯ: เอส อาร์ พรินติ้ง แมสโปรดักส์.

ศศิรดา แพงไทย. (2559). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย, 6(1), 7-11.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม (Classical Test Theory). พิมพ์ครั้งที่ 6.กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Kemmis, S., & McTaggart, R. (1988). The Action Research Planner. 3rd ed. Geelong, Australia: Deakin University Press.

UNESCO. (2021). UNESCO COVID-19 Education Response: Education Sector issue notes. Retrieved on 22 February 2021 from https://unesdoc.unesco.org/ark:/48223/pf0000377841.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-07-01