การประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรมศีลธรรมนำการศึกษาจังหวัดกำแพงเพชร
The Evaluation Project of Moral Promotion and Supporting in Kamphaengphet
คำสำคัญ:
ประเมินโครงการ/ส่งเสริมคุณธรรมศีลธรรมบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้า กระบวนการดำเนินงาน และผลผลิตของโครงการ ตลอดจนศึกษาปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินโครงการส่งเสริมคุณธรรมศีลธรรมนำการศึกษาจังหวัดกำแพงเพชร โดยใช้กรอบการประเมินเชิงระบบ (Systematic Approach) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมโครงการ 2) แบบสอบถามผู้บริหารและครูเกี่ยวกับปัจจัยความสำเร็จของโครงการสำหรับโรงเรียนที่ผ่านการประเมิน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 ที่เข้าโครงการ จำนวน 220 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD.) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการศึกษา พบว่า 1) ผลการประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการ พบว่า ความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการส่งเสริมคุณธรรมศีลธรรมนำการศึกษาจังหวัดกำแพงเพชร ภาพรวมมีความพึงพอใจระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.39 2) ผลการประเมินกระบวนการดำเนินงานตามโครงการ พบว่าผู้เข้าร่วมโครงการฯ ในภาพรวมมีระดับความพึงพอใจระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.15 3) ผลการประเมินผลผลิตของโครงการ พบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการฯ พึงพอใจผลการดำเนินงานโครงการส่งเสริมคุณธรรมศีลธรรมนำการศึกษาจังหวัดกำแพงเพชรในภาพรวมมีความเหมาะสม ระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.44 4) ผลการศึกษาปัจจัยความสำเร็จของการดำเนินโครงการพบว่า 4.1) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 มีแผนงานโครงการที่มีนโยบายจุดเน้นในการพัฒนาขับเคลื่อนปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม สู่สถานศึกษา 4.2) มีกระบวนการประชุมชี้แจงผู้บริหารให้มีความรู้ความเข้าใจ ตระหนักเห็นความสำคัญส่งผลให้โรงเรียนสามารถบริหารจัดการโครงการส่งเสริมคุณธรรมศีลธรรมนำการศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม 4.3) โรงเรียนมีการส่งเสริมสนับสนุนครู ผู้ปกครอง ชุมชน มามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม 4.4) มีระบบติดตาม นิเทศ ประเมินผลอย่างต่อเนื่องชัดเจน 4.5) มีการเปิดโอกาสให้โรงเรียนเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลการดำเนินกิจกรรมของโรงเรียน ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากโรงเรียนอื่น ๆ ได้อย่างดี 4.6) ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 ให้การส่งเสริมสนับสนุนโรงเรียนในการร่วมโครงการอย่างเต็มที่
References
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2543). แนวทางการบริหารโรงเรียนโดยใช้ปัจจัยองค์รวมและปัจจัยสนับสนุน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
การศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักงานคณะกรรมการ. (2560). แนวทางการขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.ปีงบประมาณ 2560.กรุงเทพฯ: คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
เกษม วัฒนชัย. (2552). องค์การที่มีคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ จำกัด (มหาชน) สาขาบางกะปิ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐศาสตร์).
คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สำนักงาน. “แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ. 2555-2559”. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: http://www. nesdb.go.th/download/ article/article_20160323112431.pdf. 26 ตุลาคม 2562. ชัยพร วิชชาวุธ และคนอื่นๆ . (2561). พฤติกรรมจริยธรรมในสังคมไทยปัจจุบัน: ศึกษาคามแนวทางจิตวิทยาสังคม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชาย โพธิสิตา. (2550). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ : อมรปริ๊นติ้ง.
ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2544). ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรม : การวิจัยและการพัฒนางานบูรณาการ ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สำนักกิจการโรงพิมพ์ทหารผ่านศึก.
ทิศนา แขมมณี. (2549). การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยม : จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: เสริมสิน พรีเพรส ซิสเท็ม.
ธนภัทร จันทร์สว่าง. (2552). การศึกษาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านการปฏิบัติตนเป็นประโยชน์ต่อ ส่วนรวมของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์.กศ.ม. (การวัดผลการศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
บุญมี แท่นแก้ว . (2562). จริยธรรมกับชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.
ประชุม รอดประเสริฐ , (2544). การบริหารโครงการ. กรุงเทพมหานคร: เนติกุลการพิมพ์.
พรสวรรค์ พงษ์ดี. (2551). แนวทางการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ของผู้บริหาร ครูและผู้ปกครองนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครสวรรค์ เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎเทพสตรี.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺ โต). (2549). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
พิสณุ ฟองศรี. (2533). เทคนิควิธีประเมินโครงการ. กรุงเทพฯ: พรอพเพอร์ดี้พรินท์ จำกัด.ราชบัณฑิตยสถาน. (2546 ). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุคพับลิเคชั่น จำกัด.สมคิด พรมจุ้ย. (2542). เทคนิคการประเมินโครงการ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). นนทบุรี: จตุพร ดีไซน์.
มานพ จาดเปรม. (2558). แนวทางพัฒนาการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนในโรงเรียน. สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. (2549). ความรู้พื้นฐานสำหรับการประเมินโครงการทางการศึกษา". ในสมหวัง พิริยานุวัฒน์ บรรณาธิการ รวมบทความทางการประเมินโครงการ พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวิมล ติรกานันท์. (2545). การประเมินโครงการและแนวทางสู่การปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.
ศูนย์วิจัยเอแบคนวัตกรรมทางสังคม. (2551). การจัดการและธุรกิจ. มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ.
สังวาลย์ สิทธิวงค์. การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนโพธิแสนวิทยา, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23. มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร.