การนิเทศแบบ PDER เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในชั้นเรียนของครูผู้ช่วย ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 (PDER Supervision for Enhancing Competency in Classroom Assessment of Assistant Teachers under Nakhon Si Thammarat Primary Educational Service Area Office 2)

ผู้แต่ง

  • บำเพ็ญ หนูกลับ (Bumpen Nooklub) -

คำสำคัญ:

การนิเทศ, การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในชั้นเรียน

บทคัดย่อ

                     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดการนิเทศแบบ PDER เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในชั้นเรียนของครูผู้ช่วยในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 2) ศึกษาผลการนิเทศแบบ PDER เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในชั้นเรียน และ 3) ศึกษาความคิดเห็นของครูผู้ช่วยที่มีต่อการนิเทศแบบ PDER เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในชั้นเรียน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครูผู้ช่วยในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 จำนวน 59 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ ชุดการนิเทศแบบ PDER เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในชั้นเรียนของครูผู้ช่วย 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินคุณภาพของชุด การนิเทศ มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.6-1.0 และค่า RAI เท่ากับ 0.92 แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจ มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.8-1.0 ค่า p ตั้งแต่ 0.28 - 0.75 ค่า r ตั้งแต่ 0.25 - 0.81 และค่า K-R 20 เท่ากับ 0.93 แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ มีค่า IOC เท่ากับ 1.0 และค่า RAI เท่ากับ 0.93 แบบสอบถามความคิดเห็น มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.8-1.0 ค่า r ตั้งแต่ 0.28 –0.80 และมีค่า  เท่ากับ 0.94 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีประสิทธิผล ค่าสัมประสิทธิ์การกระจาย และการทดสอบค่าที   

                     ผลการวิจัย พบว่า 1) ชุดการนิเทศแบบ PDER เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในชั้นเรียนของครูผู้ช่วยในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 ที่พัฒนาขึ้น  มีคุณภาพอยู่ในระดับดีมีค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) เป็น 0.68 และค่าสัมประสิทธิ์การกระจาย (C.V.) 5.70  2) ผลการนิเทศแบบ PDER เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในชั้นเรียนของครูผู้ช่วย พบว่า ครูผู้ช่วยมีความรู้ความเข้าใจด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในชั้นเรียนหลังการนิเทศสูงกว่าก่อนการนิเทศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  และมีความสามารถในการออกแบบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในชั้นเรียนอยู่ในระดับดี  3) ครูผู้ช่วยมีความคิดเห็นต่อการนิเทศแบบ PDER เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในชั้นเรียนว่า เห็นด้วยอยู่ในระดับมาก

References

กฤษขจร ศรีถาวร. (2555). การบริหารการนิเทศภายในของผู้บริหารโรงเรียนสังกัด สานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). บุรีรัมย์ : มหาวิทยาลัย ราชภัฏบุรีรัมย์.

กานต์สุดา ประกาศวุฒิสาร. (2564). การพัฒนารูปแบบการนิเทศการสอนแบบบูรณาการเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านกลยุทธ์การสอนงานของอาจารย์นิเทศก์และครูพี่เลี้ยง (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ชญากาญจธ์ ศรีเนตร. (2558). รูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ดาวรรณ์ เอมนิล. (2555). การใช้กระบวนการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการสอนโรงเรียนบ้านค่าย อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

นัยนา ฉายวงค์. (2560). รูปแบบการนิเทศตามแนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสาน เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการวิจัยในชั้นเรียน ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร.

ไพลิน สุมังคละ. (2559). รูปแบบการนิเทศภายในดานการจัดการเรียนการสอนสําหรับครูสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

รัศมี ภูกันดาน. (2562). การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้ทีมเป็นฐานในโรงเรียนมัธยมศึกษา.(วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต). มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2553). การนิเทศการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 7. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วันทนา สมภักดี. (2563). การพัฒนารูปแบบการนิเทศเพื่อสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพครู โรงเรียนในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต). มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วาสนา บุญมาก. (2562). การพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบบูรณาการ เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วิชนีย์ ทศศะ. (2561). การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2.(2560). รายงานผลการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนาสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในชั้นเรียนของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2. นครศรีธรรมราช : เอกสารอัดสำเนา.

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิก.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2548). พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2558). สถานภาพการผลิตและพัฒนาครูในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

อธิศ ไชยคิรินทร์. (2562). รูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 16(2), 105-113.

อนงค์นาถ เคนโพธิ์. (2562). การพัฒนารูปแบบการนิเทศเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนประถมศึกษา (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต). มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อัญชุลี อุดรกิจ และ พงษ์ธร สิงห์พันธ์. (2559). สภาพและปัญหาในการปฏิบัติงานของครูผู้ช่วยในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 16(1), 279-292.

Best, J.W. (1981). Research in Education. 4rd ed. Englewood Cliffs, New Jersey : Prentice – Hall.

Neuman,W.L(1991). Social Research Methods : Qualitative and Quantitative Approaches. Boston : Allyn and Bacon.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30