การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในตามความต้องการจำเป็นในการพัฒนาระบบนิเทศภายใน ของโรงเรียนโคกลำพานวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 1

A Developmentt Internal Supervision Model Base on Need of Internal supervision system development in Koklamphan Wittaya School on Lopburi Primary Educational Service Area Office 1

ผู้แต่ง

  • นันทิยา ทองหล่อ Nanthiya Thonglor Lopburi Primary Educational Service Area Office 1

คำสำคัญ:

คำสำคัญ : นิเทศภายใน , ความต้องการจำเป็น , การพัฒนา , รูปแบบ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความต้องการจำเป็น  เพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศภายใน เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการนิเทศภายในตามความต้องการจำเป็นในการพัฒนาระบบนิเทศภายในของโรงเรียนโคกลำพานวิทยา ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหาร ครูและคณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินความต้องการจำเป็น แบบบันทึกผลการใช้รูปแบบ เก็บรวบรวบข้อมูล แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ประเมินความต้องการจำเป็น  พัฒนารูปแบบการนิเทศภายใน และ ผลการใช้รูปแบบการนิเทศภายใน  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา  ผลการวิจัย พบว่า สภาพปัจจุบันของการดำเนินการนิเทศภายใน อยู่ในระดับ น้อยถึงปานกลาง สภาพที่คาดหวังของการดำเนินการนิเทศภายใน อยู่ในระดับ มากที่สุด  และ โรงเรียนโคกลำพานวิทยามีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาระบบนิเทศภายในการพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในตามความต้องการจำเป็นในการพัฒนาระบบนิเทศภายในของโรงเรียนโคกลำพานวิทยา มีการขับเคลื่อนระบบการนิเทศภายในสถานศึกษา โดยใช้รูปแบบ ADVICE ประกอบด้วย การวิเคราะห์สภาพและบริบทของสถานศึกษา การออกแบบและวางแผนการนิเทศ การสร้างคุณค่า การยกระดับตนเองและการสร้างเครือข่าย การตรวจสอบ และการเผยแพร่  ผลการใช้รูปแบบการนิเทศภายในตามความต้องการจำเป็นในการพัฒนาระบบนิเทศภายในของโรงเรียนโคกลำพานวิทยา พบว่า  โรงเรียนน่าอยู่ ครูสอนดี นักเรียนมีคุณภาพ

References

กรองทอง จิรเดชากุล. (2550). คู่มือการนิเทศภายในโรงเรียน. กรุงเทพฯ: ธารอักษร จำกัด.

เก็จกนก เอื้อวงศ์. (2557). การนิเทศในสถานศึกษา. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา https://mystou.files.wordpress.com/2012/02/23503-8-t.pdf. สืบค้น ณ วันที่ 30 พฤษภาคม 2563.

ณัฐพงศ์ ทับสุลิ. (2559). การพัฒนาระบบการนิเทศภายในโดยใช้ทีมงานเป็นฐานสำหรับโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหาร และพัฒนาการศึกษา, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2556). ศาสตร์การนิเทศการสอนและการโค้ช.พิมพ์ครั้งที่ 12. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม.

สุภาภรณ์ กิตติรัชดานนท์. (2551). การพัฒนารูปแบบการนิเทศการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร. พิษณุโลก.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

อดุลย์ วงศ์ก้อม. (2552). รูปแบบการนิเทศการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร. นครปฐม.

Deming in Mycoted. (2004). Plan Do Check Act (PDCA) (Online) Available http://www.mycoted.com/creativity/techniques/pdca.phpHarris, 30 May 2020.

B.M. (1985). Supervisory Behavior in Education. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice-Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29