การพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา ด้วยรูปแบบการนิเทศ SOLE

Developing the Educational Quality of Secondary Schools by Using SOLE Model

ผู้แต่ง

  • จามรี เชื้อชัย Jamaree Chueachai -

คำสำคัญ:

รูปแบบการนิเทศ, การนิเทศการศึกษา, การจัดการศึกษา

บทคัดย่อ

              การพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาด้วยรูปแบบการนิเทศ SOLE มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อศึกษาสภาพการนิเทศการจัดการศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษา เพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา และเพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา ตัวอย่าง คือ โรงเรียนในสหวิทยาเขต 7 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 จำนวน 7 โรงเรียน ตัวแปรอิสระ คือ รูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา ตัวแปรตาม คือ คุณภาพของรูปแบบการนิเทศ ดำเนินการวิจัยและพัฒนาตามวัตถุประสงค์ 3 ระยะ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวิเคราะห์เอกสาร, ประเด็นสนทนากลุ่ม, รูปแบบการนิเทศ SOLE, แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ และแบบประเมินรูปแบบการนิเทศตามการรับรู้ของผู้เกี่ยวข้อง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพที่พบมากที่สุดคือด้านวิชาการ ได้แก่ นิเทศการจัดการศึกษาด้วยรูปแบบและวิธีการเชิงระบบน้อย นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้น้อยและสะท้อนผลการนิเทศ เพื่อพัฒนาและปรับปรุงน้อย และต้องการมีคู่มือและเครื่องมือการนิเทศการจัดการศึกษาที่ครอบคลุมและชัดเจน สอดคล้องกับสภาพความต้องการ บูรณาการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลเหมาะสม 2) รูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษามี 4 องค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการนิเทศ และเงื่อนไขความสำเร็จ คุณภาพตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ และการทดลองใช้อยู่ในระดับมากที่สุด และ 3) ผลการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาหลังการนิเทศ สูงกว่าก่อนการนิเทศ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

                                             

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช2551. กรุงเทพฯ: กระทรงศึกษาธิการ.

คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.

ชาคริยา ชายเกลี้ยง. (2563). “รูปแบบการนิเทศแบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมการวิจัยของครูระดับมัธยมศึกษา”. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 6 (10), 128.

ณัฐชา จันทร์ดา. (2561). “การพัฒนารูปแบบการนิเทศงานวิชาการภายในโรงเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 จังหวัดชลบุรี”. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธริศร เทียบปาน. (2562). “การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนาในเขตจังหวัดภาคใต้”. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

นพพรพรรณ ญาณโกมุท. (2558). “การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในตามแนวคิดการศึกษาชั้นเรียน”. วารสารวิชาการสถาบันการพลศึกษา. 7(3), 131-134.

นัยนา ฉายวงค์. (2560). “การพัฒนารูปแบบการนิเทศตามแนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการวิจัยในชั้นเรียนของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1”. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 999). กรุงเทพฯ: บริษัทสุวีริยาสาส์น จำกัด.

บุญสุ่ม อินกองงาม. (2561). “การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในด้านการวิจัยการเรียนการสอนของครูผู้สอน สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในเครือข่ายการนิเทศกลุ่มจังหวัด เครือข่ายที่ 15”. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา. 12(1), 43-45.

พาสนา ชลบุรพันธ์. (2560). “รูปแบบการนิเทศการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการพัฒนาทักษะการคิดของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน”. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

วชิรา เครือคำอ้าย. (2562). “การพัฒนารูปแบบการนิเทศโดยใช้กระบวนการชี้แนะและระบบพี่เลี้ยงเพื่อส่งเสริมศักยภาพการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดเชียงใหม่”. วารสารสมาคมนักวิจัย. 24(1), 127-131.

วันชัย อยู่ตรง. (2560). “การพัฒนารูปแบบการนิเทศการสอนที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2”. วารสารจันทรเกษมสาร. 23(44), 86-94.

วิชนีย์ ทศศะ. (2561). “รูปแบบการนิเทศภายในสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก”. วารสารวิถีสังคมมนุษย์. 6 (1), 131-150.

ศิริวรรณ เมืองประเสริฐ. (2561). “การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางคลินิกแบบมีส่วนร่วมของกลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์”. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 10(2), 20.

ศิลา สงอาจินต์. (2561). “การพัฒนารูปแบบการนิเทศการสอนเพื่อพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ ของครูตามทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาในสังกัดเทศบาลนครตรัง”. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 10(20), 170.

สุภัจฉรา กาใจ. (2562). “แนวทางการบริหารปัจจัยที่ส่งผลต่องานนิเทศภายในของโรงเรียนนาโบสถ์พิทยาคม อำเภอวังเจ้า จังหวัดตาก”. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29. (2563). รายงานผลการนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2562. อุบลราชธานี: ยงสวัสดิ์อินเตอร์กรุ๊ป.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (13 มกราคม 2563). “การประเมินตัวชี้วัดตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา”. ประกาศสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

อนุตรศักดิ์ วิชัยรัตน์. (2560). “การพัฒนารูปแบบการนิเทศการสอนที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2”. วารสารจันทรเกษมสาร. 23(44), 86-94.

Deming in Mycoted. (2004). Plan Do Check Act (PDCA) (Online). Available http://www.mycoted.com/creativity/techniques/pdca.php

Ibrahim A Ali. (2017). “Educational Management, Educational Administration and Educational Leadership: Definitions and General concepts”. SAS Journal of Medicine. 3(12): 326-329.

Shuyao Zhang and Kitpinit Usaho. (2018). “Factors Affecting School Administration Effectiveness in Public Upper Secondary Schools of Heze City, Shandong Province, the People’s Republic of China”. EAU HERITAGE JOURNAL. 9(3), 117-119.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29