ข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการศึกษาภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด (Proposed Policy for Educational Management of Schools under the Secondary Education Service Area Office Roi Et in the Pandemic Of Covid-19 Phornphan Seelamontree)

ผู้แต่ง

  • พรพรรณ สีละมนตรี (Phornphan Seelamontree) -

คำสำคัญ:

ข้อเสนอเชิงนโยบาย, การจัดการศึกษา

บทคัดย่อ

                     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อวิเคราะห์สภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนลักษณะต่างๆ ด้านข้อดี ข้อเสีย โอกาส และอุปสรรค (SWOT) ในการบริหารจัดการ การจัดการเรียนรู้ และการดูแลช่วยเหลือนักเรียน (2) เพื่อพัฒนาแนวทางการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาโรงเรียนทุกลักษณะในการบริหารจัดการ การจัดการเรียนรู้ และการดูแลช่วยเหลือนักเรียน (3) เพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดจากเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในระดับเขตพื้นที่การศึกษา โดยดำเนินการวิจัยเป็น 3 ระยะ คือ (1) วิเคราะห์สภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนด้านบริหารจัดการ ด้านการจัดการเรียนรู้ และด้านระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน (2) พัฒนาแนวทางการจัดการศึกษาโดยการประชุมระดมความคิด และ (3) จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการศึกษาระดับเขตพื้นที่การศึกษา โดยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา 60 คน ครูผู้สอน 60 คน และครูผู้ปฏิบัติหน้าที่งานวิชาการ 60 คน และผู้เชี่ยวชาญ 9 คน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามสภาพการจัดการศึกษาแบบสัมภาษณ์แนวทางการจัดการศึกษา และแบบประเมินข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการศึกษาการวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า (1) สภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียน ด้านบริหารจัดการในภาพรวมโรงเรียนบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพตามบริบทของแต่ละโรงเรียน โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของนักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษาเป็นสำคัญด้านการจัดการเรียนรู้โรงเรียนส่วนมากใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน และด้านระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนมีระบบติดตามดูแลผ่านช่องทางออนไลน์ ให้ความช่วยเหลือตามนโยบายของผู้บังคับบัญชาอย่างเคร่งครัด (2) แนวทางการจัดการศึกษาด้านการบริหารจัดการ ควรมีการประชุม วางแผน ติดตามและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง ด้านการจัดการเรียนรู้ โรงเรียนจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานทั้งการจัดการเรียนการสอนแบบปกติที่โรงเรียน การจัดการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์การจัดการเรียนการสอนแบบถ่ายทอดสดผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและการจัดการเรียนการสอนด้วยการนำส่งเอกสารที่บ้าน โดยปรับรูปแบบให้สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนและของผู้เรียนเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด และด้านระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีการกำหนดนโยบายและแนวทางในการติดตามช่วยเหลือนักเรียนในกรณีนักเรียนที่ขาดเรียน และ (3) ข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในระดับเขตพื้นที่การศึกษาประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ การพัฒนาระบบการบริหารจัดการ, การพัฒนาศักยภาพการจัดการเรียนรู้, การพัฒนาผู้เรียนและบุคลากรทางด้านวิชาการและศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และการพัฒนาการดูแลช่วยเหลือนักเรียน และ 20 กลยุทธ์ 75 ตัวบ่งชี้ ซึ่งมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด

 

References

กรมควบคุมโรค. (2564). แนวทางการให้บริการวัคซีนโควิด 19 (Pfizer) สำหรับนักเรียน/นักศึกษาอายุ 12 ปีขึ้นไปที่ศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า. เอกสาร. กรุงเทพฯ.

จิรกิติ์ ทองปรีชา. (2562). การบริหารจัดการการเรียนการสอน ภายใต้สถานการณ์ COVID-19 ระดับมัธยมศึกษาพื้นที่โรงเรียนวชิรธรรมสาธิต เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ.

เทื้อน ทองแก้ว. (2563). “การออกแบบการศึกษาในชีวิตวิถีใหม่: ผลกระทบจากการระบาด COVID-19”. วารสารคุรุสภาวิทยาจารย์. สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา, 1(2): พฤษภาคม – สิงหาคม.

นนทวัฒน์ ตรีนันทวัน. (2559). กลยุทธ์การพัฒนาครูเพื่อการสอนแบบบูรณาการการพัฒนาผู้เรียนอย่างรอบด้านโรงเรียนโสตศึกษาเทพรัตน์ สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. เพชรบุรี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยสำหรับครู (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: บริษัทสุวีริยาสาส์น จำกัด.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. (2552). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ.

พัชราภรณ์ ดวงชื่น. (2563). “การบริหารจัดการศึกษารับความปกติใหม่หลังวิกฤตโควิด-19”. วารสารศิลปะการจัดการ, 4(3): กันยายน – ธันวาคม.

รัตนะ บัวสนธ์. (2553). วิจัยเชิงประเมิน: แนวคิดและการประยุกต์ใช้ในการศึกษา. เอกสารประกอบการบรรยายที่คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วันที่ 17 กรกฎาคม 2553. สืบค้น เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2557 จาก http://www.ednet.kku.ac.th/picture/19-07-10-13-39-Dr-Rattana1.pdf.

วิธิดา พรหมวงศ์. (2563). สภาพปัจจุบัน ปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาการจัดการเรียนรู้ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1. มหาวิทยาลัยนครพนม. นครพนม.

สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (2563). รายงานการพิจารณาการศึกษา เรื่อง ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเร่งด่วนว่าด้วยการบริหารจัดการศึกษาในช่วงสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่เหมาะสมกับสังคมไทย. กรุงเทพฯ: สำนักกรรมาธิการ 3 สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2563). รูปแบบการจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด–19. กรุงเทพฯ.

สิริพร อินทสนธิ์. (2563). “โควิด - 19 : กับการเรียนการสอนออนไลน์ กรณีศึกษา รายวิชาการเขียนโปรแกรมเว็บ (COVID - 19 and Online Teaching case study: Web Programming Course)”. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์ ปีที่ 22 ฉบับที่ 2 : กรกฎาคม – ธันวาคม.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30