การพัฒนาชุดฝึกอบรมด้วยตนเอง เรื่อง การจัดการเรียนการสอนด้วยเทคนิคการประเมินเพื่อพัฒนาวิชาวิทยาการคำนวณ ระดับประถมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 1 (Development of a Self Training Kit for Learning Management through Formative Assessment Techniques for Computing Science Elementary School under Lopburi Primary Educational Service Area Office 1)

ผู้แต่ง

  • กุลรตี เอกสุวรรณ (Kulratee Eaksuwan) -

คำสำคัญ:

ชุดฝึกอบรมด้วยตนเอง, เทคนิคการประเมินเพื่อพัฒนา, การจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาการคำนวณ

บทคัดย่อ

                    การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อพัฒนาชุดฝึกอบรมด้วยตนเอง เรื่อง การจัดการเรียนการสอนด้วยเทคนิคการประเมินเพื่อพัฒนา วิชาวิทยาการคำนวณ ระดับประถมศึกษา ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80  2. เพื่อเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจของครูที่เข้ารับการอบรมก่อนและหลังการอบรมโดยใช้ชุดฝึกอบรมด้วยตนเอง 3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของครูที่เข้ารับการอบรมโดยใช้ชุดฝึกอบรมด้วยตนเอง และ 4. เพื่อนิเทศติดตามความสามารถในการจัดการเรียนการสอนของครูที่เข้ารับการอบรมด้วยชุดฝึกอบรมด้วยตนเอง กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอนวิชาวิทยาการคำนวณ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 1 ที่ได้จากการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวนทั้งหมด 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ1. ชุดฝึกอบรมด้วยตนเองและคู่มือการใช้ 2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังการฝึกอบรม 3. แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการใช้ชุดฝึกอบรมด้วยตนเอง และ 4. แบบนิเทศการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยด้วยสถิติทดสอบที (t-test dependent)

                     ผลการวิจัยพบว่า 1. ชุดฝึกอบรมด้วยตนเอง เรื่อง การจัดการเรียนการสอนด้วยเทคนิคการประเมินเพื่อพัฒนา วิชาวิทยาการคำนวณ ระดับประถมศึกษา มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2. คะแนนจากการทดสอบหลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยภายหลังการอบรม ครูมีความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้นทุกชุดกิจกรรม 3. ครูมีความพึงพอใจต่อการอบรมโดยใช้ชุดฝึกอบรมด้วยตนเอง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ 4. การนิเทศติดตามความสามารถในการจัดการเรียนการสอนของครูที่เข้ารับการอบรม พบว่า ครูมีการเตรียมการสอน นำเข้าสู่บทเรียนด้วยการใช้คำถามกระตุ้นทบทวนความรู้เดิมและเชื่อมโยงความรู้ใหม่ จัดเนื้อหาได้สอดคล้องกับตัวชี้วัด ในด้านการจัดการเรียนการสอนด้วยเทคนิคการประเมินเพื่อพัฒนาในวิชาวิทยาการคำนวณ พบว่า มีการใช้เทคนิคการประเมินเพื่อพัฒนาทั้งในด้านการนำเข้าสู่บทเรียน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผลท้ายชั่วโมงเรียน โดยใช้ในการวัดและประเมินผลท้ายชั่วโมงมากที่สุด ส่วนใหญ่ครูจะใช้เทคนิคกลวิธีตั๋วออก (Exit Ticket) และเทคนิค K W L (รู้แล้ว อยากรู้ เรียนรู้) เพื่อประเมินสิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้

References

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2545). เอกสารประกอบการสอนชุดวิชาเทคโนโลยีการศึกษา หน่วยที่1-5. กรุงเทพฯ : สำนักเทคโนโลยีทางการศึกษามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

โชติมา หนูพริก. (2559). เทคนิคการประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้: การตั้งคำถามและการให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้. สืบค้น 14 มกราคม 2564, จาก http://www.curriculumandlearning.com/upload.

โชคระวี เจียมพุก. (2563). กระบวนการนิเทศของผู้บริหารโรงเรียนอนุบาลนครปฐม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นุชจิรา แดงวันสี. (2563). การพัฒนาชุดฝึกอบรมด้วยตนเอง เรื่อง การสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผลวิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี. เขต 2. สืบค้น 14 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://www.kroobannok.com/m/mview.php?id=88304.

นุชนาถ คงทอง. (2559). การพัฒนาชุดฝึกอบรมผ่านเว็บ เรื่อง การสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สำหรับครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดสงขลา. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 5(1), 13-27.

ศักดิ์ศรี สืบสิงห์. (2561). การพัฒนาชุดฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับครูวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 12(2), 270-278.

สมเกียรติ พรพิสุทธิมาศ. (2557). การประเมินผลการเรียนรู้ช่วยส่งเสริมผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างไร. วารสารวิชาการมทร.สุวรรณภูมิ, 2(1), 81-90.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2553). เอกสารประกอบหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สุทธิวรรณ ตันติรจนาวงศ์. (2560). ทิศทางการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21. มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(2), 2843-2854.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30