การพัฒนาการนิเทศภายในโรงเรียนวัดจันทนาราม (ศรีรองเมืองอุทิศ) จังหวัดจันทบุรี ด้วยเทคนิค LD-DL
The development of Watchanthanaram srirong mueang utit School Internal Supervision with LD-DL technic
คำสำคัญ:
การนิเทศภายใน, เทคนิค LD-DLบทคัดย่อ
การวิจัยปฏิบัติการนี้ดำเนินการภายใต้แนวคิด “ทุกคนสามารถเป็นผู้นิเทศได้จากการเรียนรู้ และลงมือปฏิบัติ” ด้วยเทคนิค LD-DL วัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาการดำเนินงานนิเทศภายในโรงเรียนวัดจันทนาราม (ศรีรองเมืองอุทิศ) จังหวัดจันทบุรี ด้วยเทคนิค LD-DL 2) เพื่อศึกษาผลการนิเทศภายในโรงเรียนวัดจันทนาราม (ศรีรองเมืองอุทิศ) จังหวัดจันทบุรี ด้วยเทคนิค LD-DL ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 กลุ่มผู้ร่วมวิจัยและให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 6 คน กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบบันทึกการประชุม แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (µ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ) ผลการวิจัย พบว่า 1) การพัฒนาการดำเนินงานนิเทศภายในโรงเรียนวัดจันทนาราม (ศรีรองเมืองอุทิศ) จังหวัดจันทบุรี ด้วยเทคนิค LD-DL ทั้ง 2 วงรอบ ส่งผลให้ผู้นิเทศมีความรู้ความเข้าใจ ตระหนักถึงความสำคัญของการนิเทศภายในทั้งงานหลัก งานส่งเสริมสนับสนุน นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างความมั่นใจ ความเป็นผู้นำในเชิงวิชาการและการนิเทศงาน คิดเป็นร้อยละ 83.33 2) ผลของการนิเทศภายในโรงเรียนวัดจันทนาราม (ศรีรองเมืองอุทิศ) ด้วยเทคนิค LD-DL ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ครูและบุคลากรทางการศึกษา สามารถการนำความรู้ความเข้าใจไปพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน อยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.52, σ = 0.61) และมีความพึงพอใจต่อการพัฒนาการนิเทศภายในโรงเรียนวัดจันทนาราม (ศรีรองเมืองอุทิศ) จังหวัดจันทบุรี
ด้วยเทคนิค LD-DL อยู่ในระดับมากที่สุด (µ = 4.56, σ = 0.55)
References
กิติมา ปรีดีดิลก. (2545). การบริหารและการนิเทศการศึกษาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: อักษรพิพัฒน์.
ชารี มณีศรี. (2552). การนิเทศการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์รุ่งวัฒนา.
ดารณีย์ พยัคฆ์กุล และ วีระศักดิ์ ชมภูคำ. (2559). การพัฒนาสมรรถนะการนิเทศการศึกษาสู่ความเป็นศึกษานิเทศก์มืออาชีพ.
นิศาชล วุฒิสาร “การพัฒนาระบบนิเทศภายในโรงเรียนคลองขามวิทยาคาร อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์”วารสารบัณฑิตศีกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม ปีที่ 10, ฉบับที่ 50 (กันยายน - ตุลาคม 2556) : 123 )
ประวิต เอราวรรณ์. (2545). การวิจัยปฏิบัติการ, กรุงเทพฯ: ยูแพคอินเตอร์.
ยืนยง ราชวงษ์ (2553) รายงานการวิจัยการนิเทศภายใน เป็นหัวใจของการพัฒนาคุณภาพ. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2565 / จาก https://www.gotoknow.org/user/yuenyong
รักพงษ์ บุญศิริ. (2559). รายงานการวิจัยรูปแบบการนิเทศภายในด้านวิชาการเครื่องโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
วชิรา เครือคำอ้าย. (2558). ตำราการนิเทศการศึกษา. เชียงใหม่: ส.การพิมพ์.
สมโภชน์ อเนกสุข (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย.พิมพ์ครั้งที่ 6 ชลบุรี: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). การนิเทศการศึกษาโรงเรียนประถมศึกษาอย่างเป็นระบบ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.
สำเร็จ ยุรชัย และคณะ. (2560). การพัฒนาแนวทางการนิเทศภายในแบบมีส่วนร่วม สำหรับสถานศึกษา ขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1. วารสารบัณฑิตเอเซีย. 7 (พิเศษ).