การพัฒนา การพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกให้กับครูในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก : การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (The Develop Active Learning Management Skill for Teachers in the Small Primary Schools : Participatory Action Research)

ผู้แต่ง

  • อุษณีย์ ดวงพรม (Usanee Doungprom) Maha Sarakham Primary Education Service Area Office 3

บทคัดย่อ

                     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาทักษะสำหรับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกให้กับครูในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก 2) ประเมินความพึงพอใจของครูในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กที่มีต่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุก และ 3) ประเมินประสิทธิผลของการเรียนรู้เชิงรุกของครูในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ด้วยเทคนิคการเสริมพลัง ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมและกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูที่มีความประสงค์เข้าร่วมพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุก จำนวน 10 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง  มีวิธีดำเนินการ 5 ระยะ คือ 1) ระยะก่อนการวิจัย 2) ระยะวางแผน 3) ระยะการนำแผนไปปฏิบัติ 4) ระยะตรวจสอบและสะท้อนผลการดำเนินงาน และ 5) ระยะติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานและการพัฒนา โดยมีวิธีการพัฒนาครู 6 วิธี เรียกว่า 3TDCMPLC ดังนี้ 1) การฝึกอบรม (T: Training)2) ครูเครือข่าย (T: Teacher Network) 3) การศึกษาจากต้นแบบ (T:Teacher Model) 4) การเรียนรู้ด้วยตนเอง (D: Directed Learning) 5) การช่วยเหลือนิเทศจากพี่เลี้ยง (CM: Coaching and Mentoring) และ 6) การประชุม PLC (PLC: Professional Learning Community) ด้วยสถิติพื้นฐานที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการอุปมานจากการวิเคราะห์เนื้อหา
                     ผลจากการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1) การพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกให้กับครูในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ด้วยการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมทำให้ครูมีทักษะในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพิ่มขึ้น 2) ความพึงพอใจของครูในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กที่มีต่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุกอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ประสิทธิผลในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพิ่มขึ้น

References

กรรณิการ์ ปัญญาดี. (2558). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกออนไลน์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาคอมพิวเตอร์ 3 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

คณะทำงานจัดการความรู้. (2561). แนวปฏิบัติที่ดีการเรียนการสอนเชิงรุก (Active Learning) และการตีพิมพ์บทความวิจัยในวารสารต่างประเทศ. สงขลา : มหาวิทยาลัยทักษิณ.

จันทรา แซ่ลิ่ว. (2561). การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (ACTIVE LEARNING) ในรายวิชาการพัฒนาทักษะการคิดสำหรับเด็กปฐมวัย. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

ฐนกร สองเมืองหนู และคณะ. (2562). การจัดการเรียนรู้เชิงรุกสำหรับครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสาร AL-NUR บัณฑิตวิทยาลัย, 14(27), 63-73.

ณัฐวดี ธาตุดี. (2561). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พรทิพย์ วงศ์ไพบูลย์. (2560). การเรียนรู้เชิงรุกและการมีส่วนร่วมของผู้เรียน (Active Learning). วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร. 8(2), 327-336.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และคณะ (2556). วิกฤติการศึกษา : ทางออกที่รอการแก้ไข. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

สำนักงานศึกษาธิการภาค 3. (2563). รายงานการวิจัย เรื่อง สภาพและปัญหาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในพื้นที่รับผิดชอบสำนักงานศึกษาธิการภาค 3.ราชบุรี : สำนักงานศึกษาธิการภาค 3.

สัญญา ยีอราน และศิวิไลซ์ วนรัตน์วิจิตร. (2561). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม สู่ความสำเร็จการเปลี่ยนแปลงนโยบายในระบบสุขภาพ. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 5(2), 288-300.

สำนักงาน ก.ค.ศ. (2564). คู่มือการดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). การวางแผนเชิงกลยุทธ์ การศึกษาขั้นพื้นฐาน เอกสารประกอบการอบรมการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์การศึกษาขั้นพื้นฐาน. ม.ป.ท.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. ม.ป.ท.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2556). บทวิเคราะห์สถานภาพการพัฒนาครูทั้งระบบและข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาครูเพื่อคุณภาพผู้เรียน. กรุงเทพฯ : บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สุภางค์ จันทวานิช. (2555). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Fetterman, D. M. (2001). Foundations of Empowerment Evaluation. California : sage Publication, Inc.

Wallertein & Bernstein. (1988). Empowerment Education: Freire's Ideas Adapted to Health Education. Health Education Quarterly, 15(4), 379-394.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-07-01