รูปแบบการพัฒนาครูโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โรงเรียนมัธยมวัดดุสิตาราม (The Teacher Development Model by using Professional Learning Community to Promote Active Learning of Mathayom Wat Dusitaram School)

ผู้แต่ง

  • วรนันท์ ขันแข็ง (Woranan Khankhaeng) กระทรวงศึกษาธิการ

คำสำคัญ:

Teacher Development Model, Professional Learning Community, Active Learning

บทคัดย่อ

                     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานสภาพปัญหาและความต้องการในการใช้รูปแบบการพัฒนาครูโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โรงเรียนมัธยมวัดดุสิตาราม 2) เพื่อพัฒนารูปแบบ 3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบ และ 4) เพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานสภาพปัญหาและความต้องการในการใช้รูปแบบ ขั้นตอนที่ 2 การออกแบบและพัฒนารูปแบบ ขั้นตอนที่ 3 การศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบ และ ขั้นตอนที่ 4 การประเมินประสิทธิผลของรูปแบบ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่แบบสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ แบบประเมินความเหมาะสมของคู่มือแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ แบบทดสอบ แบบประเมินหน่วยการเรียนรู้และแผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนและครู สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Wilcoxon Signed Rank Test

                     ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน สภาพปัญหาพบว่า การจัดการเรียนรู้ของครูส่วนใหญ่ยึดกรอบเนื้อหาตามหนังสือเรียน ขาดการส่งเสริมกระบวนการคิด การแก้ปัญหา และการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันความต้องการของครู พบว่า ครูต้องการพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้สูงขึ้น 2. รูปแบบการพัฒนาครูที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์3) วิธีดำเนินงาน 4) ระบบสนับสนุน 5) การวัดและประเมินผล และ 6) เงื่อนไขความสำเร็จ ซึ่งรูปแบบมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด 3. ผลการศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาครูพบว่า 1) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูหลังการใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ความพึงพอใจของครูที่มีต่อการพัฒนารูปแบบโดยรวมอยู่ในระดับมาก และ 4) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยรวมอยู่ในระดับมาก 4.ผลการประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนาครู พบว่า รูปแบบการพัฒนาครูที่พัฒนาขึ้นโดยรวมมีประสิทธิผลผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ทุกด้าน

References

กรัณย์พล วิวรรธมงคล. (2561). รูปแบบการพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมความสามารถจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสาร Veridian E-Journal, Silpakorn Universityฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ,11(3), 92-114.

กวิสรา ชื่นอุรา. (2560). รูปแบบการพัฒนาโรงเรียนส่งเสริมการคิดโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเป็นฐาน สำหรับโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.ชวลิต ชูกําแพง. (2560). ชุมชนแห่งการเรียนรู้ของครู. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,23 (2), 1-6.

ธงชัย คำปวง. (2561). การพัฒนาครูแบบองค์รวมโดยการเทียบเคียงสมรรถนะ. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยนเรศวร.

ธีระชัย รัตนรังสี. (2560). การพัฒนารูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครูภาษาไทยในการพัฒนาทักษะการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอนบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ประคอง รัศมีแก้ว. (2563). การพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารสิรินธรปริทรรศน์, 21(2), 360-374.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2558). ครู TPCK: ครูเก่งของไทย. เหลียวหลัง...แลหน้า ปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐาน. เอกสารประกอบการเสวนาการปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (หน้า 79-81). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

มารุต พัฒผล. (2557). รูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างการรู้คิดและความสุขในการเรียนรู้ของผู้เรียนระดับประถมศึกษา. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal,Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ.7(3), 682 - 699.

โรงเรียนมัธยมวัดดุสิตาราม. (2562). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมวัดดุสิตาราม 2560 – 2561. กรุงเทพฯ : โรงเรียนมัธยมวัดดุสิตาราม.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

สถาพร พฤฑฒิกุล. (2555). คุณภาพผู้เรียนเกิดจากกระบวนการเรียนรู้. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา,6(2), 1-13.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). แนวทางการนิเทศเพื่อพัฒนาและส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ตามนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักพัฒนาครูและบุคลากรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). คู่มือประกอบการอบรมการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC(Professional Learning Community) “ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ” สู่สถานศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักพัฒนาครูและบุคลากรการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สุธิภรณ์ ขนอม. (2559). รูปแบบการบริหารชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาความสามารถในการสอนภาษาไทยของครูในสถานศึกษาระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต แขนงวิชาบริหารการศึกษา สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2561). การส่งเสริมกระบวนการPLC ให้มีประสิทธิผล. ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ: พลังครูขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาไทย. การประชุมทางวิชาการของคุรุสภา ประจำปี2561 (หน้า 26-40). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การค้าของ สกสค.

สุวิมล สพฤกษ์ศรี. (2561). ชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพโดยผสมผสานเทคโนโลยีเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้โดยใช้ศิลปะเป็นฐานที่ส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมของนักเรียนระดับประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาหลักสูตรและการสอนบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Hord, S.M. (1997). Professional Learning Communities: Communities of Inquiry and Improvement. Austin: Southwest Educational Development Laboratory.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30