ผลการจัดกิจกรรมการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้อาชีพของนักเรียนกลุ่มเสี่ยงโรงเรียนมัธยมภูฮังพัฒนวิทย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์

The Results of Activities Promoting Vocational Learning Skills for at-risk Students at PhuhangPattanawit Mattayom School under the Office of Secondary Educational Service Area Kalasin

ผู้แต่ง

  • ธนัฐ มาตชรา (Tanat Matchara)

คำสำคัญ:

คู่มือการดูแลช่วยเหลือนักเรียน/ นักเรียนกลุ่มเสี่ยง/ กิจกรรมส่งเสริมทักษะอาชีพ

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินทักษะการเรียนรู้อาชีพของนักเรียนกลุ่มเสี่ยง 2) ประเมินเจตคติต่อการประกอบอาชีพของนักเรียนกลุ่มเสี่ยง และ 3) ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนกลุ่มเสี่ยงที่มีต่อกิจกรรมการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้อาชีพ โดยใช้แบบแผนการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนมัธยมภูฮังพัฒนวิทย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 30 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) คู่มือการดูแลช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มเสี่ยงโดยใช้กิจกรรม  การส่งเสริมทักษะการเรียนรู้อาชีพ 2) แบบประเมินทักษะการเรียนรู้อาชีพของนักเรียนกลุ่มเสี่ยง มีค่าความเชื่อมั่น 0.92 3) แบบประเมินเจตคติต่อการประกอบอาชีพของนักเรียนกลุ่มเสี่ยง มีค่าความเชื่อมั่น 0.97 และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนกลุ่มเสี่ยงที่มีต่อกิจกรรมการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้อาชีพมีค่าความเชื่อมั่น 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
             ผลการวิจัยพบว่า
             1) ทักษะการเรียนรู้อาชีพของนักเรียนโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (  = 3.21, S.D. = 0.64)
             2) เจตคติต่อการประกอบอาชีพของนักเรียนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (  = 2.51, S.D. = 0.50)
             3) นักเรียนมีความพึงพอใจที่มีต่อกิจกรรมการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้อาชีพ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.75, S.D. = 0.61)    

References

กรมสุขภาพจิต. (2546). คู่มือวิทยากรระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนช่วงชั้นที่ 3–4 (ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1–6). กระทรวงสาธารณสุข.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). คู่มือการคุ้มครองและช่วยเหลือเด็กนักเรียน. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กัญญาภัทร จำปาทอง, อุดมพร อินทจักร์ และ นลินรัตน์ รักกุศล. (2558). แนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ทักษะอาชีพในศตวรรษที่ 21 สำหรับเยาวชนผ่านสื่อโทรทัศน์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเซีย, 6(3), 69-79.

จันทร์เพ็ญ สุวรรณคร และ มาเรียม นิลพันธุ์. (2559). กระบวนทัศน์การจัดกิจกรรมแนะแนวเพื่อเสริมสร้างการใช้ทักษะชีวิตและอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 8(2), 179-191.

ณัฎฐวิภา คำปันศรี. (2559). การพัฒนาการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ณัฐริน เจริญเกียรติบวร. (2557). โมดูลบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนในพระราชูปถัมภ์ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นฤบล กองทรัพย์. (2556). การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3. [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). สุวีรยาสาส์น.

ปรีชา สามัคคี. (2552). การพัฒนารูปแบบการประเมินแผนงานและโครงการในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546. (2565, 24 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา. หน้า 1-29.

มาเรียม นิลพันธุ์. (2555). วิธีวิจัยการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 6). ศูนย์วิจัยและพัฒนาทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เมตต์ เมตต์การุณ์จิต. (2553). การบริหารจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม. บุ๊คพ้อยท์.

โรงเรียนมัธยมภูฮังพัฒนวิทย์. (2564). รายงานผลการดำเนินงานด้านการจัดการศึกษาของโรงเรียนมัธยมภูฮังพัฒนวิทย์ ปีการศึกษา 2564. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์.

วัชรภัทร เตชะวัฒนศิริดำรง. (2564). การพัฒนากิจกรรมเสริมสร้างทักษะชีวิตและทักษะอาชีพของนักเรียนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

วิเชียร ธำรงโสตถิสกุล. (2560). บทสะท้อนแนวคิดว่าด้วยชุดการสอนชุดกิจกรรมการเรียนรู้และชุดการเรียนรู้. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(3), 356-369.

วินัย จันทรานาค. (2558). แนวทางการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของวิทยาลัยการอาชีพจอมทองจังหวัดเชียงใหม่. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). คู่มือครูสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์พื้นฐานกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์. โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สาลินี อุดมผล และ มาเรียม นิลพันธุ์. (2560). การพัฒนาหลักสูตรบูรณาการอาชีพเพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และคุณลักษณะด้านอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 9(1), 116-128.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). องค์ความรู้สำหรับการพัฒนาทีมงานขับเคลื่อนระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อก้าวย่างอย่างยั่งยืน. กระทรวงศึกษาธิการ.

อดุลย์ วังศรีคูณ. (2557). การศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21: ผลผลิตและแนวทางการพัฒนา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 8(1), 1-17.

Basham. (2011, August 20). The role of career education and guidance for students in year 13 and its implications for students’ career decision making. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/journal-sct/article/view/110988

Cohen, J. M., & Uphoff, N. T. (1980). Participation Place in Rural Development: Seeking Clarity through Specificity, World Development. Unpublished manuscript.

Eisner, E. W. (1975). The perceptive eye: Toward the reformation of education Evaluation. Unpublished manuscript. https://blogs.oregonstate.edu/programevaluation/2014/01/21/evaluation-models/

Gibson. (1988, September 15). Organization. https://commons.lib.jmu.edu/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-26