การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตร์โดยใช้วิจัยเป็นฐานของโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

A Needs Assessment to Development of a Research-based Local Science Learning Curriculum of Enrichment Program of Science, Mathematics, Technology and Environment (SMTE) in the Northeast Region

ผู้แต่ง

  • เดชาธร บงค์บุตร (Dechathon Bongboot), อัญชลี แก้วกัญญา (Aunchalee Kaewkanya) -

คำสำคัญ:

การประเมินความต้องการจำเป็น/ การพัฒนาหลักสูตร/ โครงการห้องเรียนพิเศษ

บทคัดย่อ

        บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตร์ในท้องถิ่นโดยใช้วิจัยเป็นฐานของโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 2) ศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตร์ในท้องถิ่นโดยใช้วิจัยเป็นฐานของโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีกลุ่มตัวอย่างได้จากการเลือกแบบเจาะจง คือ โรงเรียนโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 9 โรงเรียน ๆ ละ 6 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน 1 คน รองผู้อำนวยการโรงเรียน 1 คน ครูผู้สอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 1 คน คณะกรรมการสถานศึกษา 1 คน เครือข่ายผู้ปกครอง 1 คน และนักเรียนที่กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 1 คน โดยมีผู้ให้ข้อมูลรวมทั้งสิ้น 54 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และจัดลำดับความต้องการจำเป็นโดยใช้สูตร PNImodified
       ผลการวิจัยพบว่า
       1) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตร์ในท้องถิ่นโดยใช้วิจัยเป็นฐานของโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
       2) ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตร์ในท้องถิ่นโดยใช้วิจัยเป็นฐาน ด้านที่ต้องการจำเป็นสูงสุดคือ ด้านการพัฒนาหลักสูตรและเนื้อหารายวิชาเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ในท้องถิ่น (PNImodified = 0.210) รองลงมาคือด้านการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน (PNImodified = 0.048) ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ท้องถิ่นโดยใช้วิจัยเป็นฐาน (PNImodified = 0.048) ด้านการนำความรู้และทักษะไปใช้ประโยชน์ (PNImodified = 0.042) ด้านการใช้สื่อ การจัดสภาพแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ท้องถิ่นโดยใช้วิจัยเป็นฐาน (PNImodified = 0.029)และด้านความสามารถในการสร้างนวัตกรรมวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาท้องถิ่น (PNImodified = 0.021) ตามลำดับ

References

เกษราภรณ์ ถินจำนง และ จิระพร ชะโน. การประเมินโครงการหลักสูตรห้องเรียนพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนบัวขาว หลักสูตรปรับปรุงปีการศึกษา 2554. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 21(3), 214-224.

จินรีย์ ตอทองหลาง และ จุไรรัตน์ สุดรุ่ง. (2558). การศึกษาสภาพและปัญหาการใช้หลักสูตรห้องเรียนพิเศษ วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในโรงเรียนโยธินบูรณะ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 1. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 10(4), 14-26.

ชลีรัตน์ พะยอมแย้ม. (2548). วิทยาศาสตร์ท้องถิ่นการเรียนรู้ควบคู่การวิจัยความจริงในธรรมชาติใกล้ ๆ ตัว. วารสารรูสมิแล, 26(2), 1-3.

ณฐกรณ์ ดำชะอม. (2560). การบริหารจัดการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ณภัทร จารึกฐิติ และ ดวงกมล บางชวด. (2561). การศึกษาการใช้หลักสูตร “โครงการห้องเรียนพิเศษ (GIFTED)”ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. An Online Journal of Education, 13(4), 244–254. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/ OJED/article/view/204615

ปิยวรรณ ศิริสวัสดิ์. (2559). การพัฒนาหลักสูตรเสริมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง ภูมิปัญญาการย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติที่เน้นแหล่งเรียนรู้ในชุมชนเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6. [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

พูนสุข อุดม, สมจิตร อุดม, สุวิทย์ คงภักดี และ นรเศษฐ์ ศรีแก้วกุล. (2561). การสร้างและพัฒนาหลักสูตรความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ (แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ระดับอนุบาลศึกษาไปจนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เพื่อบ่มเพาะผู้เรียนให้มีความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์). วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย, 10(2), 246-262.

พวงผกา ปวีณบำเพ็ญ. (2560). การจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน. ศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 1(2), 62-71.

รุ้งลาวัลย์ จันทรัตนา, ศิริชัย นามบุรี และอัสมาอ์ โต๊ะยอ. (2561). การประเมินโครงการจัดตั้งห้องเรียนพิเศษโปรแกรมวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 13(2), 203-215.

วรรณิศา พิมพร. (2561). การประเมินความต้องการจำเป็นในการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). รมช.ศธ. เยี่ยมชมโครงการห้องเรียนพิเศษ SMTE มุ่งปั้นเด็กไทยให้เป็นนักคิด นักวิจัยและนักประดิษฐ์ ณ. โรงเรียนสุรนารีวิทยา. https://www.ipst.ac.th/news/17126/20211123_smte. html 25 มีนาคม 2565.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). ประกาศรายชื่อโรงเรียนโครงการห้องเรียนพิเศษ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม. https://esmte.in.th/เกี่ยวกับเรา/ 12 มิถุนายน 2566.

Coll, R.K., Taylor, N. (2012). An International Perspective on Science Curriculum Development and Implementation. In: Fraser, B., Tobin, K., McRobbie, C. (eds) Second International Handbook of Science Education. Springer International Handbooks of Education, vol 24. Springer, Dordrecht. https://doi.org/10.1007/978-1-4020-9041-7_51

Howard County Public School System. (2015). Feasibility Study An Annual Review of Long-Term Capital Planning and Redistricting Options. Maryland: Office of school Planning.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-26