การศึกษาความรู้เนื้อหาผนวกวิธีการสอนและเทคโนโลยี สำหรับครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 4

The Study of Technological Pedagogical Content Knowledge (TPACK) of In-service Teachers in Chiang Mai Primary Educational Service Area Office 4

ผู้แต่ง

  • วสุพงษ์ อิวาง (Wasupong Iwang) -

คำสำคัญ:

ความรู้เนื้อหาผนวกวิธีการสอนและเทคโนโลยี/ ครูประจำการ

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและเปรียบเทียบความรู้เนื้อหาผนวกวิธีการสอนและเทคโนโลยี สำหรับครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 4 จำแนกตามเพศ รายวิชาที่สอน อายุ ระดับชั้นที่สอน และขนาดโรงเรียน ประชากร ได้แก่ ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 968 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 285 คน เก็บข้อมูลจากแบบสอบถามความคิดเห็นชนิดมาตราส่วนประมาณค่า แบ่งเป็น 5 ระดับ จำนวน 27 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (one-way ANOVA)
          ผลการวิจัยพบว่า
          1. ความรู้เนื้อหาผนวกวิธีการสอนและเทคโนโลยี สำหรับครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 4 ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.807องค์ประกอบความรู้ในเนื้อหา (CK) มีค่าเฉลี่ย 3.878 มากที่สุด องค์ประกอบความรู้เนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยี (TPACK) มีค่าเฉลี่ย 3.725 น้อยที่สุด
          2. เปรียบเทียบความรู้เนื้อหาผนวกวิธีการสอนและเทคโนโลยี สำหรับครู จำแนกตามเพศ รายวิชาที่สอน อายุ ระดับชั้นที่สอนไม่แตกต่างกัน แต่ผลการเปรียบเทียบความรู้เนื้อหาผนวกวิธีการสอนและเทคโนโลยี จำแนกตามขนาดโรงเรียน พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ครูในโรงเรียนขนาดใหญ่ และขนาดใหญ่พิเศษมีความรู้เนื้อหาผนวกวิธีการสอนและเทคโนโลยีสูงกว่าครูในโรงเรียนขนาดกลางและขนาดเล็ก

References

กัญภร เอี่ยมพญา, นิวัตต์ น้อยมณี, พรทิพย์ อ้นเกษม, ดาวประกาย ระโส, และ อภิชาติ อนุกูลเวช. (2565). โรงเรียนขนาดเล็ก: ปัญหาที่ต้องตัดสินใจ. The Journal of Sirindhornparithat, 23(1), 316-329.

จุฬารัตน์ ธรรมประทีป. (2559). การพัฒนาความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยีในการสอนวิทยาศาสตร์. Journal of Research and Curriculum Development, 6(2), 1-13.

ลือชา ลดาชาติ. (2565). ความรู้เนื้อหาผสานวิธีสอนสำหรับการสอนวิทยาศาสตร์. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ขาติ พ.ศ. 2561-2580. สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

Baran, E., Chuang, H. H., & Thompson, A. (2011). TPACK: An emerging research and development tool for teacher educators. Turkish Online Journal of Educational Technology-TOJET, 10(4), 370-377.

Chai, C. S., Koh, J. H. L., Tsai, C. C., & Tan, L. L. W. (2011). Modeling primary school pre-service teachers’ Technological Pedagogical Content Knowledge (TPACK) for meaningful learning with information and communication technology (ICT). Computers & Education, 57(1), 1184-1193.

Erdogmuş, C., Çoban, E., Korkmaz, O., & Ozden, M. Y. (2020). Technological formation scale for teachers (TFS): Development and validation. Participatory Educational Research, 8(2), 260-279.

Friedrichsen, P. M., & Dana, T. M. (2003). Using a card-sorting task to elicit and clarify science-teaching orientations. Journal of Science Teacher Education, 14(4), 291-309.

Hosseini, Z. (2015). Development of technological pedagogical content knowledge through constructionist activities. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 182, 98-103.

Koehler, M., & Mishra, P. (2009). What is technological pedagogical content knowledge (TPACK). Contemporary issues in technology and teacher education, 9(1), 60-70.

Koh, J. H. L., Chai, C. S., & Tsai, C. C. (2014). Demographic factors, TPACK constructs, and teachers' perceptions of constructivist-oriented TPACK. Journal of Educational Technology & Society, 17(1), 185-196.

Paidican, M. A., & Arredondo, P. A. (2022). The Technological-Pedagogical Knowledge for In-Service Teachers in Primary Education: A Systematic Literature Review. Contemporary educational technology, 14(3).

Schmidt, D. A., Baran, E., Thompson, A. D., Mishra, P., Koehler, M. J., & Shin, T. S. (2009). Technological pedagogical content knowledge (TPACK) the development and validation of an assessment instrument for preservice teachers. Journal of research on Technology in Education, 42(2), 123-149.

Shulman, L. S. (1986). Those who understand: Knowledge growth in teaching. Educational researcher, 15(2), 4-14.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-26