การพัฒนาสื่อวีดิทัศน์คำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนบ้านสันโค้ง (เชียงรายจรูญราษฎร์)

The development of video materials for learning English vocabulary of grade 3 Ban San Khong (Chiang Rai Charoonrat) School

ผู้แต่ง

  • สุทธิลักษณ์ กันธิพันธ์ (Suthiluck Kanthipan) โรงเรียนบ้านสันโค้ง(เชียงรายจรูญราษฎร์)

คำสำคัญ:

สื่อวีดีทัศน์/ ทักษะการเรียนรู้/ คำศัพท์ภาษาอังกฤษ

บทคัดย่อ

            การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาสื่อวีดิทัศน์คำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนบ้านสันโค้ง (เชียงรายจรูญราษฏร์) จังหวัดเชียงราย 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านก่อนและหลังใช้สื่อวีดิทัศน์คำศัพท์ภาษาอังกฤษ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้สื่อวีดิทัศน์คำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนบ้านสันโค้ง(เชียงรายจรูญราษฏร์) จังหวัดเชียงราย ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนบ้านสันโค้ง (เชียงรายจรูญราษฏร์) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 37 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ สื่อวีดิทัศน์คำศัพท์ภาษาอังกฤษ  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนและแบบวัดความพึงพอใจที่มีต่อการใช้สื่อวีดิทัศน์คำศัพท์ภาษาอังกฤษ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบแบบ t-test
           ผลการวิจัยพบว่า
           1) ประสิทธิภาพของสื่อวีดิทัศน์คำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนบ้านสันโค้ง (เชียงรายจรูญราษฏร์) จังหวัดเชียงราย ทั้ง 3 เรื่อง มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81/90, 83/87.5, 82/90.5 นั่นคือสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 แสดงว่านวัตกรรมสามารถนำไปใช้ได้
           2) ผลสัมฤทธิ์การจำคำศัพท์ก่อนเรียนและหลังเรียนการใช้สื่อวีดิทัศน์คำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนบ้านสันโค้ง (เชียงรายจรูญราษฏร์) จังหวัดเชียงรายหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้สื่อวีดิทัศน์คำศัพทภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนบ้านสันโค้ง (เชียงรายจรูญราษฏร์) จังหวัดเชียงราย ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย ( =4.24, = 0.49) ข้อที่นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด คือ ครูมีการเตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือในการสอน มีค่าเฉลี่ย  ( = 4.71, = 0.46) รองลงมา คือ ครูมีเทคนิคการสอนที่ตื่นเต้น น่าสนใจ  ( = 4.58, = 0.72) และกิจกรรมการเรียนรู้ในชั่วโมงสนุกน่าสนใจ  นักเรียนต้องการให้ครูปรับปรุงการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการที่แปลกใหม่อยู่เสมอ ( = 4.56, = 0.50) 

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. คุรุสภาลาดพร้าว

กระทรวงศึกษาธิการ. (2563) สาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนภาษาต่างประเทศ.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

กระทรวงศึกษาธิการ กรมวิชาการ. (2544). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. พัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว).

กิดานันท์ มลิทอง. (2563). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม (พิมพ์ครั้งที่ 2). ภาควิชาโสตทัศนศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทรงสุดา น้ำจันทร์. (2563). การศึกษาผลการใช้วีดิทัศน์ช่วยสอนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การคูณจํานวนเต็มสําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนชุมชนบ้านเขาหลาง จังหวัดชุมพร สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2. โรงเรียนชุมชนบ้านเขาหลาง จังหวัดชุมพร.

พงศ์ศักดิ์ บัวจะมะ (2555). การพัฒนาวีดิทัศน์บนอินเทอร์เน็ตเพื่อส่งเสริมความมีจิตสาธารณะของนักศึกษาปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาสัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต] มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ. (2540). คอมพิวเตอร์กับการศึกษา. บุ๊คพอยท์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไข เพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.

ศิริ เจริญวงศ์. (2564). การพัฒนาสื่อวีดิทัศน์และผลของการใช้สื่อต่อความรู้ ความมั่นใจ และความพึงพอใจ เพื่อการเตรียมนักศึกษาพยาบาลในการฝึกประสบการณ์เด็กและวัยรุ่น. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 37 (1), 128-229.

อดิศักดิ์ โคตรชุม. (2562). การพัฒนาสื่อวีดิทัศน์ เพื่อประกอบการเรียนรู้รายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง การจัดและตกแต่งสวนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ, 5(2), 67-87.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-26