การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์เรื่องสารละลาย โดยการจัดการเรียนรู้ แบบบันได 5 ขั้น (QSCCS) ร่วมกับการเขียนแผนผังมโนทัศน์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

The study of science achievement on "Solution matter" by using 5-step ladder-based learning management (QSCCS) with conceptual mapping for the 8th grade students

ผู้แต่ง

  • ธารารัตน์ ดวงจันทร์ (Thararat Duangchan) -

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้น (QSCCS)/ การเขียนแผนผังมโนทัศน์/ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อ

          การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาค่าเฉลี่ยร้อยละของจำนวนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์เรื่อง สารละลาย หลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้น (QSCCS) ร่วมกับการเขียนแผนผังมโนทัศน์สูงกว่าร้อยละ 73 ตามค่าเป้าหมายของโรงเรียน ปีการศึกษา 2565 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์เรื่อง สารละลาย หลังเรียนและก่อนเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้น (QSCCS) ร่วมกับการเขียนแผนผังมโนทัศน์เรื่องสารละลาย 3) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่องสารละลาย โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้น (QSCCS) ร่วมกับการเขียนแผนผังมโนทัศน์ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/4 โรงเรียนนิยมศิลป์อนุสรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 38 คน ได้มาจากการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้วิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้น (QSCCS) ร่วมกับการเขียนแผนผังมโนทัศน์ เรื่อง สารละลาย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง สารละลาย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และสถิติทดสอบทีแบบอิสระ (t – test Dependent)
          ผลการทดลองที่ได้พบว่า
          1. ค่าเฉลี่ยร้อยละของจำนวนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิทยาศาสตร์เรื่องสารละลาย หลังเรียนสูงกว่าร้อยละ 73 ตามค่าเป้าหมายของโรงเรียน ปีการศึกษา 2565
         2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์เรื่อง สารละลาย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
         3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีความพึงพอใจต่อการเรียนวิทยาศาสตร์เรื่องสารละลาย โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้น (QSCCS) ร่วมกับการเขียนแผนผังมโนทัศน์ ในระดับมาก

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. คุรุสภาลาดพร้าว.

จารุณี เทียมสองชั้น. (2553). ผลการบูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการสอนตามแนวคิดวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และสังคม CARIN เรื่อง ทรัพยากรสัตว์ป่าสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3.[วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ประสาท เนืองเฉลิม. (2558). การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21 (พิมพ์ครั้งที่ 1). บริษัทแอคทีฟ พริ้นท์ จำกัด.

พรระวี ภักดีณรงค์. (2554). ผลการใช้ผังมโนทัศน์สรุปเนื้อหาที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาพลังงานและสิ่งแวดล้อมนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยเทคโนโลยีพายัพและบริหารธุรกิจ. รายงานวิจัยในชั้นเรียน, วิทยาลัยเทคโนโลยีพายัพและบริหารธุรกิจ.

รัตนะ บัวสนธ์. 2552. วิจัยเชิงคุณภาพทางการศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รสสุคนธ์ มกรมณี. (2549). เอกสารคำสอนรายวิชาการจัดการฝึกอบรมทางการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.โรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี. (2556). ศึกษาผลการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการเรียนรู้ตามบันได 5 ขั้น (QSCCS) ที่มีต่อความสามารถจำเป็นพื้นฐานตามโครงการพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง Coaching and Mentoring. โรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี พิษณุโลก.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2553). การนิเทศการสอน สาขาหลักสูตรและการนิเทศ. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศันทนีย์ มีนาค. (2557). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สารชีวโมเลกุล โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน (QSCCS) สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. [การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (IS), ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2564). O-NET. https://www.niets.or.th/th/catalog/view/2989

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2555). แนวทางการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนมาตรฐานสากล (ฉบับปรับปรุง) . กรุงเทพฯ.

อาร์ม โพธิ์พัฒน์. (2550). ผลการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเขียนแผนผังมโนทัศน์. [ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อรวรรณ กองพิลา. 2564. การศึกษาผลการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ QSCCS โดยใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารการวิจัยการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 149-167.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2561). ผลการประเมิน PISA. https://pisathailand.ipst.ac.th/pisa-results/

Novak and Gowin. (1984). Learning How to Learn. England, Cambridge University Press. PISA THAILAND .

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-26