ผลการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง ไฟฟ้าเคมี : เซลล์อิเล็กโทรไลต์

Effects of Education for Grade 11 Students on Electrochemistry : Electrolytic Cell

ผู้แต่ง

  • ปฏิพัทธ์ หมื่นกล้า (Patipat Hmiuenkla) -Kamphaeng Phet Rajabhat University

คำสำคัญ:

สะเต็มศึกษา/ ผลสัมฤทธิ์เซลล์อิเล็กโทรไลต์

บทคัดย่อ

               การวิจัยในครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) แบบ One Group Pretest Posttest Design มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี เรื่องเซลล์อิเล็กโทรไลต์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็ม และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ต่อการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็ม เรื่องเซลล์อิเล็กโทรไลต์ ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 15 คน ของโรงเรียนทุ่งฟ้าวิทยาคม ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ชุดสะเต็มเรื่องการแยกน้ำด้วยไฟฟ้า แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี เรื่องเซล์อิเล็กโทรไลต์ ประกอบด้วย ข้อสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 10 ข้อ แบบวัดความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มเรื่องการแยกน้ำด้วยไฟฟ้า แบบอัตราส่วนประเมินค่า (Rating scale) จำนวน 15 ข้อ
                ผู้วิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี เรื่องเซลล์อิเล็กโทรไลต์ ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มเรื่องการแยกน้ำด้วยไฟฟ้า มีค่าเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 3.20 และหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็ม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 7.67 และแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยที่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี เรื่องเซลล์อิเล็กโทรไลต์ ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และความพึงพอใจของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มเรื่องการแยกน้ำด้วยไฟฟ้า อยู่ในระดับมากที่สุด

References

เกรียงศักดิ์ วิเชียรสร้าง. (2560). ผลของการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี ความสามารถในการแก้ปัญหา และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

นัสรินทร์ บือซา. (2555). ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษามีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยา ความสามารถในการแก้ไขปัญหาและความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ประภาณี ราญมีชัย. (2561). การเปรียบเทียบผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบสะเต็มศึกษา เรื่อง ไฟฟ้าเคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ทวีป แซ่ฉิน. (2556). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎี Constructionism เพื่อพัฒนาทักษะ การเขียนโปรแกรมด้วยโปรแกรม App Inventor สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วิสาขะ เยือกเย็น. (2561). ผลการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เรื่องไฟฟ้าเคมี. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

วธัญญู พิชญภูสิทธิ. (2563). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาเคมี เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี ตามแนวทางสะเต็มศึกษาที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ศักดิ์ศรี สุภาษร. (2555). บทบาทของเมนทอลโมเดลในการเรียนรู้วิชาเคมีในระดับโมเลกุล. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 35(2), 1-7.

สิรินภา กิจเกื้อกูล. (2558). สะเต็มศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร มหาวิทยาลัยนเรศวร, 17(2), 201-207.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี. (2558). คู่มืออบรมครูสะเต็มศึกษา.สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี การทรวงศึกษาธิการ.

สะเต็มศึกษาแห่งชาติ. (2557). เครือข่ายสะเต็มศึกษา. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกระทรวงศึกษาธิการ.

สุพัตรา อิ่นคำ. (2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือรายวิชาเคมี 4 (ว30224) เรื่อง ไฟฟ้าเคมี สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (งานวิจัยในชั้นเรียน). โรงเรียนปู่ด้วงศึกษาลัย.

สุรศักดิ์ บุญธิมา, ศักดินา ภรณ์นันท์. (2018). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องไฟฟ้าเคมีโดยใช้ กระบวนการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-26