ผลของการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดประเด็นทางวิทยาศาสตร์กับสังคมเสริมด้วยการใช้สื่อเทคโนโลยี หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ชีวิตในสิ่งแวดล้อม ที่มีต่อมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์และทักษะการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

The Effect of Socio-Scientific Issues with Technology Media in the Learning Unit of Live in Environment to the Grade 10 th Students’ Scientific Conception and Science Communication Skill

ผู้แต่ง

  • ขวัญฤทัย เที่ยงจันทราทิพย์ (Khuanruethai Thiangchanthathip) -

คำสำคัญ:

ประเด็นทางวิทยาศาสตร์กับสังคม; มโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์; ทักษะการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดประเด็นทางวิทยาศาสตร์กับสังคมเสริมด้วยการใช้สื่อเทคโนโลยี เรื่อง ชีวิตในสิ่งแวดล้อม ที่มีต่อมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์และทักษะการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มที่ศึกษาในครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 39 คน ซึ่งมาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดประเด็นทางวิทยาศาสตร์กับสังคมเสริมด้วยการใช้สื่อเทคโนโลยี หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ชีวิตในสิ่งแวดล้อม 2) แบบวัดมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ 3) แบบประเมินทักษะการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ
          ผลการศึกษา พบว่า แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดประเด็นทางวิทยาศาสตร์กับสังคมเสริมด้วยการใช้สื่อเทคโนโลยี หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ชีวิตในสิ่งแวดล้อม มีประสิทธิภาพ 76.28/75.38 เป็นไปตามเกณฑ์ 75/75 หลังการเรียนรู้คะแนนเฉลี่ยมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน เท่ากับ 15.08 คิดเป็นร้อยละ 75.38 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ ร้อยละ 75 ค่าเฉลี่ยทักษะการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน เท่ากับ 3.09 คิดเป็นร้อยละ 77.25 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ ร้อยละ 75 และความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดประเด็นทางวิทยาศาสตร์กับสังคมเสริมด้วยการใช้สื่อเทคโนโลยี หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ชีวิตในสิ่งแวดล้อม อยู่ในระดับมาก (µ = 4.00, σ =0.77)

References

กมลวรรณ กันยาประสิทย์. (2558). ประเด็นทางวิทยาศาสตร์กับสังคมเพื่อทักษะในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์, 26 (2), 1-9.

จตุพร ตระกูลปาน. (2561, 19 สิงหาคม). ไลน์เครื่องมือสื่อสารเพื่อการเรียนรู้. มติชนออนไลน์ https://www.matichon.co.th/education/news_1091952

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปกรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5 (1), 7-20.

ทิศนา แขมมณี. (2551). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 7). สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ผู้จัดการออนไลน์. (2552, 3 กันยายน). “สื่อสารวิทย์ ง่ายนิดเดียว” เสียงเล่าอ้างจากน้อง ๆ ชาวค่ายนักสื่อสาร วิทยาศาสตร์, https://mgronline.com/science/detail/9520000100833

ภัณฑิลา แย้มพยุง. (2562). การจัดการเรียนรู้ด้วยประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ผนวกการสะท้อนคิดผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการตัดสินใจประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ เรื่อง มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. [การค้นคว้าอิสระปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต] มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วิจารณ์ พานิช. (2556). สนุกกับการเรียนในศตวรรษที่ 21. มูลนิธิสยามกัมมาจล.

ศูนย์การดำเนินงาน PISA แห่งชาติ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2564). บทสรุปสำหรับผู้บริหาร นักเรียนมีความพร้อมเพียงใดที่จะใช้ชีวิตในโลกที่เชื่อมต่อถึงกัน. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2551). ความรู้และสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์สำหรับโลกวันพรุ่งนี้. บริษัทเซเว่นพริ้นติ้ง กรุ๊ป จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560. โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). แนวทางการนิเทศเพื่อพัฒนาและส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ตามนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้. https://www.esdc.go.th

แสงแก้ว พานจันทร์; สิรินภา กิจเกื้อกูล และมลิวรรณ นาคขุนทด. (2562). แนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้ประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงมโนทัศน์ และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบหมุนเวียนเลือดและระบบภูมิคุ้มกัน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารชุมชนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 13 (3), 212 – 223.

Brooks, J. G. and Brooks, M. G. (1993). The Case for a Constructivist Classroom. Alexandria, VA: Association for Supervision and Curriculum Development.

Ewing, M. and Sadler, T.D. (2020). Socio-scientific Issues Instruction An interdisciplinary Approach to increase relevance and systems thinking. The Science Teacher, 88 (2), 18 – 21.

Eisenkraft, A. (2003). Expanding the 5E model. Science Teacher, 70 (6), 56 – 59 Presley, M. L. et al. (2013). A Framework for Socio-Scientific Issues Based Education. Science Educator, 22 (1), 26 - 32

Sadler,T.D. ; Foulk, J. A. and Friedrichsen, P.J. (2017). Evolution of a model for Socio scientific Issue Teaching and Learning. International Journal of Education in Mathematics, Science and Technology, 5 (2). 75-87

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-27