รูปแบบการนำระบบปัญญาประดิษฐ์แบบรู้สร้างกำหนดกลยุทธ์ขับเคลื่อนโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา ตามโครงการโรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมือง

Implementing Generative Artificial Intelligence Systems to Drive Strategy in Secondary Schools under The Four Corner City Excellent School Project Model

ผู้แต่ง

  • วิวัฒน์ ผลประเสริฐ (Wiwat Phonprasert) -

คำสำคัญ:

ระบบปัญญาประดิษฐ์แบบรู้สร้าง; โรงเรียนมัธยมศึกษา; โรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมือง; กลยุทธ์

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มุ่งเน้นการนำระบบปัญญาประดิษฐ์แบบรู้สร้างมาใช้ในการบริหารขับเคลื่อนการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ในโรงเรียนมัธยมศึกษาภายใต้โครงการโรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมือง ซึ่งเป็นโครงการของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน วัตถุประสงค์ของการศึกษา ได้แก่ 1) ศึกษาสภาพ องค์ประกอบ
และแนวทางการนำระบบปัญญาประดิษฐ์แบบรู้สร้างกำหนดกลยุทธ์ขับเคลื่อนโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตามโครงการโรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมือง 2) สร้างรูปแบบการนำระบบปัญญาประดิษฐ์แบบรู้สร้างกำหนดกลยุทธ์ขับเคลื่อนโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา ตามโครงการโรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมือง และ 3) ประเมินรูปแบบการนำระบบปัญญาประดิษฐ์แบบรู้สร้างกำหนดกลยุทธ์ขับเคลื่อนโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา ตามโครงการโรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมือง ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษาโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตามโครงการโรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมือง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษาโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตามโครงการโรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมือง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 35 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน โดยใช้เครื่องมือในการวิจัยได้แก่ 1) แบบวิเคราะห์เอกสาร 2) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง 3) แบบบันทึกประเด็นการสนทนา และ 4) แบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ความเที่ยงตรง 2) ความเที่ยง 3) ค่าร้อยละ และ 4) ค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการนำระบบปัญญาประดิษฐ์แบบรู้สร้างกำหนดกลยุทธ์ขับเคลื่อนโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา ตามโครงการโรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมืองประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) องค์ประกอบที่ 1 คณะกรรมการบริหารงานระบบปัญญาประดิษฐ์แบบรู้สร้างในโรงเรียนมัธยมศึกษา 2) องค์ประกอบที่ 2 ขอบข่ายงานของการบริหารงานระบบปัญญาประดิษฐ์แบบรู้สร้างในโรงเรียนมัธยมศึกษา และ 3) องค์ประกอบที่ 3 กระบวนการบริหารระบบปัญญาประดิษฐ์แบบรู้สร้างในโรงเรียนประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การวิเคราะห์บริบทโรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมืองและโรงเรียนใกล้เคียง (Context Analysis) 2) การวางแผน (Planning) 3) การรวบรวมข้อมูล (Data Collection) 4) การวิเคราะห์ข้อมูลและการแสดงข้อมูลเป็นภาพ (Data Analysis & Visualization) 5) การวิเคราะห์เชิงพยากรณ์ (Predictive Analytics) 6) การดำเนินการ (Operation) และ 7) การประเมินผล (Evaluation) โดยผู้บริหารสถานศึกษามีความเห็นว่าการนำรูปแบบการนำระบบปัญญาประดิษฐ์แบบรู้สร้างกำหนดกลยุทธ์ขับเคลื่อนโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา ตามโครงการโรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมืองไปใช้มีความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมาก

References

กมลชนก พูลสวัสดิ์, รุ่งนภา วันเพ็ง, ศศธร ห่มซ้าย และพงศ์ประพันธ์ พงษ์โสภณ. (2565). ปัญญาประดิษฐ์กับการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 21(1).

คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักงาน. (2564). โครงการโรงเรียนคุณภาพของชุมชน และโรงเรียนดีสี่มุมเมือง. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. Generative AI เอไอแบบรู้สร้าง. https://www.nstda.or.th/home/news_post/10-tech-generative-ai/

สุริยัน เขตบรรจง และ วิลัยวรรณ มาวัน. (2564). เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ AI กับการแบ่งกลุ่มข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้วิธีการเรียนรู้การแบ่งกลุ่มข้อมูลชนิด K-mean. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 49(2).

Coraline. (2017). What is disruption? https://bit.ly/3mDFtCr

Digital Government Development Agency. (2020). AI government framework (Vol. 1). Bangkok : PAN (Thailand) Co., Ltd.

Funchian, N. (2019b, October 8). AI and education promotion. https://bit.ly/3mF7Znc

Jang, H., Park, J., & Choi, S. (2020). AI-driven formative assessment and feedback using natural language processing techniques in K-12 education. International Journal of Artificial Intelligence in Education, 30(3), 33-38.

Kim, J., & Ke, F. (2020). A review of the emerging roles of artificial intelligence in higher education: Issues, challenges, and opportunities. Educational Technology Research and Development, 68(5), 22-24.

Statista. (2021). Thailand use of artificial intelligence among ecommerce enterprises. statista. Retrieved October 26, 2022, from https://www.statista.com/statistics/1012415/thailand-use-of-artificial-intelligence-among-e-commerce-enterprises/

Shiohira, K. (2021). Understanding the impact of artificial intelligence on skills development (1st ed.). UNESCO International Centre for Technical and Vocational Education and Training. 978-92-3-100446-9

Smith, J. et al. (2022). Advancements in Natural Language Processing. Journal of Artificial Intelligence Research, 45(2), 123-145.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-27