ผลการจัดการเรียนรู้แบบการสืบเสาะหาความรู้ผ่านตัวแทนความคิดทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง ปริมาณสัมพันธ์: สารกำหนดปริมาณ

The Effect of Inquiry-Based Learning through Scientific Representations for Grade 10 th Students on Stoichiometry: Limiting Agent

ผู้แต่ง

  • ณัฐพล สิทธิกุล (Nattapon Sittikul) - ธิติณัฐ แก้วบุญเรือง (Thitinut Kewboonruang) -

คำสำคัญ:

การสืบเสาะหาความรู้; ตัวแทนความคิดทางวิทยาศาสตร์; ปริมาณสัมพันธ์; สารกำหนดปริมาณ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบการสืบเสาะหาความรู้ผ่านตัวแทนความคิดทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4เรื่อง ปริมาณสัมพันธ์: สารกำหนดปริมาณ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบการสืบเสาะหาความรู้ผ่านตัวแทนความคิดทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง ปริมาณสัมพันธ์:สารกำหนดปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทพศิรินทร์ร่มเกล้าสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 จำนวน 23 คน ในภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2565 ซึ่งได้มาจากการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบการสืบเสาะหาความรู้ผ่านตัวแทนความคิดทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ปริมาณสัมพันธ์: สารกำหนดปริมาณ, แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ปริมาณสัมพันธ์: สารกำหนดปริมาณและแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบการสืบเสาะหาความรู้ผ่านตัวแทนความคิดทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ปริมาณสัมพันธ์: สารกำหนดปริมาณ ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ปริมาณสัมพันธ์: สารกำหนดปริมาณ ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้
แบบการสืบเสาะหาความรู้ผ่านตัวแทนความคิดทางวิทยาศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ

References

กนกวรรณ มณฑิราช. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะการคิด วิเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์ การสร้างผลผลิต และการมีความรับผิดชอบ (ซีซีพีอาร์) ของนักศึกษา สาขานิเทศศาสตร์ สถาบัน อุดมศึกษา เอกชน. Journal of Education Studies, 47(4), 22-37.

จิราภรณ์ คงหนองลาน. (2557). ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของการใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้แบบวงจรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) รายวิชาเคมี เรื่อง สารละลาย สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. The Golden Teak: Humanity and Social Science Journal, 20(3), 124-137.

ชฎาวรรณ สุขัมศรี. (2566). กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ตัวแทนความคิดทางวิทยาศาสตร์ที่หลากหลายเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ปริมาณสารสัมพันธ์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 46 (2), 37-54.

ชาตรี ฝ่ายคำตา. (2563). กลยุทธิ์การจัดการเรียนรู้เคมี. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2553). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. เทพเนรมิตการพิมพ์.

โชติกุล รินลา. (2562). ผลของการจัดการเรียนการสอนโดยใช้การออกแบบการเรียนรู้จากการสร้างมโนภาพทางเคมีที่มีต่อตัวแทนความคิดทางวิทยาศาสตร์และเจตคติต่อการเรียนรู้เคมีของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 47(Suppl. 2), 68-87.

ทิศนา แขมมณี. (2548). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 4). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นรมน พุ่มชุมพล. (2555). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง พืชรอบตัวเรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ (INQUIRY CYCLE). วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา, 6 (1), 46-53.

พัชรี ร่มพยอม วิชัยดิษฐ์. (2558). ธรรมชาติของวิชาเคมี และการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับธรรมชาติของวิชา. วารสารวิทยาศาสตร์ มศว, 31 (2), 187-189.

วงศธร อึ้งธีรกุล. (2566). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องปฏิกิริยาเอสเทอริฟิเคชัน ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารการวิจัยการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 3(1), 153-171.

วิยฉัตร พูนพิพัฒน์. (2557). ผลของการเรียนการสอนตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับตัวแทนความคิดทางวิทยาศาสตร์ ที่หลากหลายที่มีต่อมโนทัศน์เรื่องสารและสมบัติของสารและความสามารถในการวิเคราะห์ ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 9 (1), 371–383.

ศิริพร เมืองดี. (2558). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบ CIPPA Model โดยการใช้คำถามเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและจิตวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 8 (17), 9-18.

Treagust, D. F., Mthembu, Z., & Chandrasegaran, A. L. (2014). Evaluation of the predict observe-explain instructional strategy to enhance students’ understanding of redox reactions. Learning with understanding in the chemistry classroom, 265-286.

Gabel, D. (1999). Improving teaching and learning through chemistry education research: A look to the future. Journal of Chemical education, 76 (4), 548.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-27