การพัฒนากระบวนการจัดกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดกระบวนการคิดเชิงออกแบบร่วมกับการจัดการเรียนรู้ด้วยกรณีศึกษาเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

Development of the process for Guidance Activity using Design Thinking process and Case Based Learning to Enhance Creative Problem Solving for Grade 10 th Students

ผู้แต่ง

  • ศุภศักดิ์ อ่อนสันต์ (Suppasak Onsan) Educaton

คำสำคัญ:

การจัดกิจกรรมแนะแนว; กระบวนการคิดเชิงออกแบบ; การจัดการเรียนรู้กรณีศึกษา; ความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนากระบวนการจัดกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดกระบวนการคิดเชิงออกแบบร่วมกับการจัดการเรียนรู้ด้วยกรณีศึกษาเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อการพัฒนากระบวนการจัดกิจกรรมแนะแนว 2) เพื่อศึกษาพัฒนาการความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างจัดกิจกรรมแนะแนว 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อกระบวนการจัดกิจกรรมแนะแนว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 34 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือ
ที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย กระบวนการจัดกิจกรรมแนะแนวและคู่มือการจัดกิจกรรมแนะแนว แผนการจัดกิจกรรมแนะแนว แบบประเมินความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ แบบสรุปองค์ความรู้กิจกรรมแนะแนว (Journal Writing) และแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อกระบวนการจัดกิจกรรมแนะแนว วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x} ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าร้อยละ (%)
         ผลการวิจัย พบว่า 1. กระบวนการจัดกิจกรรมแนะแนว ชื่อว่า 4I step มีขั้นตอนการจัดกิจกรรม 4 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ขั้นสร้างแรงบันดาลใจ (Inspiration) ขั้นที่ 2 ขั้นสร้างแนวคิด (Ideate) ขั้นที่ 3 ขั้นสร้างนวัตกรรม (Innovation) และขั้นที่ 4 ขั้นสร้างการแบ่งปัน (Impart) และตรวจสอบความเป็นไปได้ โดยนำไปศึกษานำร่อง (Pilot Study) พบว่ามีความเป็นไปได้ 2. ความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างจัดกิจกรรม แนะแนวมีพัฒนาการสูงขึ้น และ 3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกระบวนการจัดกิจกรรมแนะแนวโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

References

จันทร์เพ็ญ สุวรรณคร. (2558). กระบวนทัศน์การจัดกิจกรรมแนะแนวเพื่อเสริมสร้างการใช้ทักษะชีวิตและอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. [วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชญาภรณ์ เอกธรรมสุทธิ์ และคณะ. (2559). รูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์, วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี. 32(3), 112.

นภาภรณ์ เจียมทอง และเปรมพล วิบูลย์เจริญสุข. (2566). การจัดการเรียนรู้ด้วยการใช้ความคิดเชิงออกแบบสำหรับนักเรียนประถมศึกษา. Journal of Roi Kaensarn Academi, 8(4), 576-577.

นิตยา โสรีกุล. (2547). “ผลการใช้การสอนแนะในการเรียนรู้ด้วยกรณีศึกษาบนเว็บที่มีต่อการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีรูปแบบการคิดต่างกัน”. [ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปรณัฐ กิจรุ่งเรือง. (2553). การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้กรณีศึกษาทางศาสตร์การเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาวิชาชีพครู. [วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2556). การพัฒนาการคิด (ฉบับปรับปรุงใหม่). ห้างหุ้นส่วน 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

ปรียา สมพืช. (2559). การจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนด้วยกรณีศึกษา. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 11(2), 256.

พรรษา น้อยนคร และคณะ. (2562).การส่งเสริมการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ด้วยการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานเป็นฐานบูรณาการกับเฟซบุ๊ก .วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 21(1), 326.

มาเรียม นิลพันธุ์. (2558). วิธีวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 9). ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุทธิกานต์ เลขาณุการ และคณะ. (2565). สมรรถนะการสอนการคิดเชิงออกแบบของครูวิทยาศาสตร์. วารสารวารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 24(2), 371.

อาชัญญา รัตนอุบล. (2542). การเรียนรู้และพัฒนาการของผู้ใหญ่. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อาภา ถนัดช่าง และเรียม ศรีทอง. (2545). กิจกรรมพัฒนานักเรียน เอกสารการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2545, สมาคมแนะแนวแห่งประเทศไทย.

Barell,J. (2010). Problem-Based Learning : The Foundation for 21st Century Skills. In J. Bellance & R. Brandt (Editors), 21st Century Skills: Rethinking How Students Learn (pp.175-199). Bloomington : Solution Tree Press.

Campbell, D.T. and Stanley, J.C.(1963). Experimental and quasi-experimental designs for research. Chicago: Rand McNally College.

Gazda, G. M. (1984). Group Counseling : A Developmental Approach (3nd ed.). Allyn & Bacon.

Treffinger, D.J., & Isaksen, S.G. (2005). Creative problem solving : The history, development, and implications for gifted education and talent development. Gifted Child Quarterly. 49(4).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-27